สูตรทดสเตอร์ พร้อมตาราง ......
|
 |
......พอดีผมก็กำลังจะเปลี่ยนสเตอร์มอเตอร์ไซค์ใหม่ อยากจะลองเปลี่ยนเป็นเบอร์อื่นบ้างอ่ะครับ ก็เลยค้นๆใน อากู๋ เจอสูตรการคำนวนนี้เข้าครับ เลยเอามาฝาก สำหรับผู้ที่กำลังจะเปลี่ยนสเตอร์ใหม่ หรือยังไม่เปลี่ยนตอนนี้ อาจจะเป็นเกล็ดความรู้เล็กๆน้อยๆแล้วกันครับ .......... +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สูตรทดสเตอร์ พร้อมตาราง มีประโยชน์มากสำหรับรถเกียร์ครับ จากตรารางอัตตราทด เราจะสังเกตุว่าคู่สเตอร์จะมีอัตตราทดแบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกันสูตรทดสเตอร์ พร้อมตาราง มีประโยชน์มากสำหรับรถเกียร์ครับ -------------------------------------------------------------------------------- จากตรารางอัตตราทด เราจะสังเกตุว่าคู่สเตอร์จะมีอัตตราทดแบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกันคือ 1. แบบหารลงตัว เช่น 14/28=2.0000 หรือ 13/39=3.0000
2. แบบหารแล้วเกิดทศนิยม แต่ไม่เกิน2ตำเหน่ง เช่น 14/35=2.5000 หรือ16/36=2.2500 3. แบบหารแล้วเกิดทศนิยมเกิน3ตำเหน่งขึ้นไป เช่น13/40=3.0769 หรือ 14/34=2.4286 แล้วทั้ง3แบบนี้มันมีข้อแตกต่างอย่างไรมาดูกัน ......................................................................................................................................... .....1. แบบหารลงตัว คู่เฟืองไดที่มีอัตตราทดแบบนี้จะไม่เป็นที่ยอมรับกันทางทฤษฎี(ยกเว้นในเฟืองไทม์มิ่ง)เพราะอัตตราทดเช่นนี้จะทำให้เกิดการพบกันของคู่ฟันเดิมทุกๆรอบการทำงาน เช่นคู่เฟือง 14/28 อัตราทดเท่ากับ 2:1คือเฟือง14ฟันหมุน1รอบส่วนเฟือง28ฟันหมุน2รอบดังนั้นเฟืองที่1ของเฟือง14จะหมุนวนมาเจอกับฟันเฟืองที่14และ28ของเฟือง28ฟันทุกๆรอบการทำงาน ซึ้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นทุกๆ คู่ฟัน จนทำให้เกิดสึกหรอที่เกิดขึ้นเป็นการสึกหรอที่ตายตัว แล้วเมื่อใดที่มีการขยับเปรี่ยนแปลงคู่เฟืองนั้นๆก็จะเกิดเสียงดังขึ้นเหราะเกิดจากการสึกหรอที่เกิดนั้นไม่ตรงกัน ทีนี้เมื่อเรามาดูถึงคู่สเตอร์บ้าง ถึงแม้ฟันสเตอร์จะไม่ได้ขบกันโดยตรงเหมือนกับ เฟืองเกียร์
แต่ปัณหาการสึกหรอดังที่กล่าวมาแล้วนั้นก็เกอดขึ้นได้ เพราะอย่างไรเสียจำนวนข้อโซ้ก็ตายตัว เมื่อการใช้งานเกิดขึ้นการสึกหรอของฟันสเตอร์ก็จะเป็นอย่างที่กล่าวมา ดังนั้นทางโรงงานผลิตจึงนำฟันเฟืองที่หารกันไม่ลงตัว มาใช้(เราจะกล่าวถึงต่อไปว่าทำไม่ถึงต้องใช้แบบหารไม่ลงตัวแต่ทั้งนี้เราบางทีเราก็อาจจะเห็นทีมแข่งบางทีมใช้สเตอร์แบบหารกันลงตัวนี้ลงสนาม
ซึ้งก็สามารถใช้ไช้ได้เพราะการแข่งเป็นแบบชั่วคราวขึ้นอยู่กับความต้องการของทีมแข่ง แต่ถ้าทำมาใช้งานวิ่งทุกวันแบบรถทั่วไปเห็นจะไม่มีใครทำครับ
-------------------------------------------
........2. แบบหารแล้วเกิดทศนิยม แต่ไม่เกิน 2 ตำแหน่ง เราทราบกันไปแล้วว่าอัตราทดที่หารแล้วลงตัวมีผลเสียอย่างไร ทีนี้ก็มาดูอัตราทดที่หารแล้วไม่ลงตัวจะมีผลดีอย่างไร แล้วที่แบ่งออกมาว่าจุดทศนิยมไม่เกิน 2 ตำแหน่งเป็นนี้เป็นอย่างไร การที่อัตราทดหารกันแล้วได้ลงตัวเลขของมาเป็นจุดทศนิยมนั้นเป็นสิ่งที่ดีเพราะฟันเฟืองมีโอกาสที่จะไปพบกับคู่ฟันอื่นได้ ทำให้การสึกหรอไม่ซ้ำซาก แต่การที่มีตัวเลขจุดทศนิยมไม่เกิน 2 ตำแหน่ง เช่น 14/35=2.5000 หรือ 16/36=2.2500 นี้ มันก็มีโอกาสที่จะไม่พบกันซ้ำๆของคู้ฟันใดอีก ดังนั้นแบบทศนิยมไม่เกิน2ตำเหน่งเป็นแบบที่ดีแต่ไม่ดีที่สุดครับ
--------------------------------------------- .......3. แบบหารแล้วเกิดทศนิยมเกิน3ตำแหน่ง แบบนี้เป็นแบบที่ทางบรษัทผู้ผลิตใช้กันมากที่สุดเข้าเรื้องไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเฟืองเกยร์ เฟืองชามคลัทช์ จนถึงสเตอร์ เพราะแบบนี้ฟันเฟืองจะหมุนวนให้ทุกฟันเฟืองของทั้งคู่ได้พบกันทุกฟันการสึกหรอจึงเป็นไปแบบกระจายตัว สรุปก็คือ การที่ให้ฟันเฟืองทุกฟันของคู่เฟืองได้พบกันทุกฟันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และการที่จะได้รู้ได้ว่าฟันเฟืองทุกฟันได้พบกันหมดกูดูจากผลคำนวณอัตราทดว่าเป็นจุดทศนิยม เกิน3ตำแหน่งหรือไม่ซึ่งสเตอร์เองก็ต้องใช้การดูเช่นนี้เหมือนกัน
แต่ทั้งนี่ทั้งนันในส่วนของสเตอร์เองยังมีตัวแปลที่สำคัญที่จะทำให้มีผลต่อการแข่งขันคือ โซ้ แล้ขนาดของสเตอร์อีกด้วย
http://www.motorcyc.in.th/motorcycle-3200
สูตรทดสเตอร์ พร้อมตาราง มีประโยชน์มากสำหรับรถเกียร์ครับ -------------------------------------------------------
แก้ไขเมื่อ 23 ส.ค. 55 14:57:53
แก้ไขเมื่อ 23 ส.ค. 55 14:52:16
แก้ไขเมื่อ 23 ส.ค. 55 14:43:08
จากคุณ |
:
วันนี้ เพื่อวันข้างหน้า
|
เขียนเมื่อ |
:
23 ส.ค. 55 14:36:13
|
|
|
|