 |
อาจมีคำถามต่อมาว่า ในเมื่อกฎหมายบอกว่า ห้ามพิพากษาเกินคำขอในฟ้อง ตามที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วเหตุใดอัยการจึงไม่ฟ้องฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนาเล่า ศาลจะได้พิพากษาว่า ให้จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนาได้ เพราะไม่เกินคำขอในคำฟ้อง คำตอบในส่วนนี้คือ จากพฤติการณ์ก็ปรากฎข้อเท็จจริงก็แล้วว่าไม่มีเจตนาฆ่า หากแม้อัยการฟ้องในข้อหาเจตนาฆ่าไปแล้ว ศาลต้องพิพากษายกฟ้องแน่นอน และผลเสียอย่างใหญ่หลวงที่ครอบครัวผู้เสียชีวิตได้รับคือ ค่าเสียหายในคดีแพ่งที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งต่างหากไว้แล้ว โอกาสที่ศาลจะยกฟ้องโจกท์ มีมากกว่า 95% เลยทีเดียว เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 กำหนดว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา นั่นหมายความว่า คดีอาญารับฟังพยานหลักฐานกันมาอย่างไร ผลการพิจารณาพิพากษาในแต่ละประเด็นเป็นอย่างไร คดีแพ่งก็ ต้องยึดถือตามคดีอาญาด้วย หากอัยการฟ้องแล้วศาลยกฟ้อง ผลคือผู้เสียหายจะไม่สามารถได้รับค่าเสียหายจากจำเลยได้เลย หรือเรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า ตายฟรี นั่นเอง ซึ่งในคดีอาญาของ น.ส.แพรว (นามสมมติ) นี้ ศาลพิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง เป็นการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต คดีแพ่งที่ญาติของผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องไว้ ศาลแพ่งก็ต้องยึดถือตามด้วย ซึ่งผลคดีแพ่งจะออกมาในลักษณะที่ว่า น.ส.แพรว (นามสมมติ) ได้กระทำความเสียหายต่อผู้เสียหายจริง พิพากษาใช้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายเป็นเงินจำนวน
. ซึ่งจำนวนเงินค่าเสียหายนี้ จะเป็นจำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจริงเท่าใดเป็นสำคัญ ซึ่งก็กฎหมายไม่ได้กำหนดเพดานการฟ้องเรียกค่าเสียหายขั้นสูงเอาไว้ ซึ่งในทางปฏิบัติ คดีในศาลแพ่งมีการฟ้องเรียกค่าเสียหายกันเป็นหมื่นล้าน พันล้าน (เรียกว่าฟ้องขู่) มากมาย แต่ศาลจะพิจารณาพิพากษาเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่า โจทก์เสียหายเพียงใด และสามารถนำสืบให้ศาลเห็นได้หรือไม่ เท่านั้น
ยกตัวอย่างคดีนี้ในทางแพ่ง ผู้เสียชีวิตรายหนึ่งเรียนจบปริญญาเอก หากมารดาของผู้เสียชีวิตรายนี้ เคยได้รับการส่งเสียค่าเลี้ยงดู (กฎหมายเรียกค่าอุปการะ) จากบุตรที่เสียชีวิตเป็นรายเดือน เดือนละ 50,000 บาท ในขณะเกิดเหตุ ผู้เสียชีวิตอายุ 30 ปี (สมมติ อายุ) การคิดค่าเสียหาย (กฎหมายเรียก ค่าขาดไร้อุปการะ) เบื้องต้นคือ จำนวนเงินที่ต้องส่งเสียแก่มารดารายเดือน 50,000 บาท คูณด้วย 12 (จำนวนเดือนในแต่ละปี) จำนวนที่ได้ต่อปีจะเท่ากับ 600,000 (หกแสน) บาท และนำเงินรายปีจำนวน 600,000 บาทนี้ คูณด้วย 30 (อายุงานที่เหลือจนกว่าจะเกษียร) จะได้เท่ากับ 18,000,000 (สิบแปดล้าน) บาท เป็นต้น เป็นอย่างน้อย อีกทั้งมีค่ารักษาพยาบาลก่อนที่จะเสียชีวิต (หากมิได้เสียชีวิตในทันที) ค่าปลงศพ รวมเข้าด้วยอีก และอย่าลืมคิดว่า ผู้เสียหายจากคดีนี้ มีอย่างน้อย 9 ราย แต่ละรายได้รับความเสียหายมากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งค่าเสียหายที่ผู้เสียหายเรียกนี้ ต้องเป็นค่าเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับความเสียหายจริง ไม่เลื่อนลอย ศาลจึงจะพิจารณาพิพากษาตามที่ขอให้ได้ จะเห็นได้ว่า คดีนี้ผู้เสียหายต่างแยกกันฟ้องจำเลยความรับผิดฐานละเมิดเรียกค่าเสียหายรวมกันเป็นเงินกว่า 120 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำเลยก็ได้รับการบังคับเอาจากกฎหมายอย่างเข้มข้นตามสมควรแล้วเช่นกัน
ในทางอาญาจำเลยจำต้องได้รับโทษตามสมควรแก่เหตุ และในทางตรงข้าม โจทก์ก็ต้องได้รับการเยียวยาเช่นกัน การดำเนินคดีในลักษะคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาตามที่ได้อธิบายไปข้างต้น จึงเป็นช่องทางออกที่ดีที่สุดในการอำนวยความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย ดังภาษิตที่ว่า กฎหมายอาจหลับในบางครั้ง แต่ไม่เคยตาย (The LAW sometimes sleep, NEVER DIE) จึงขอให้ผู้อ่านทุกท่าน รับข้อมูลข่าวสาร และใช้วิจารณญาณด้วยความระมัดระวัง.
ผู้เขียน : คลังกฎหมาย 1 ก.ย. 2555
http://www.gun.in.th/2012/index.php?topic=89269.45
แก้ไขเมื่อ 02 ก.ย. 55 18:09:10
จากคุณ |
:
The_Death_oF_Superman
|
เขียนเมื่อ |
:
2 ก.ย. 55 17:43:20
|
|
|
|
 |