ความคิดเห็นที่ 23
คุณช่างกลครับ ฮิอิ (ตกท่อ)
resistor ไม่ใช่เพื่อลดแรงดันครับ แต่เพื่อเพิ่ม ระยะเวลาที่ arc จะอยู่ระหว่างเขี้ยวหัวเทียน
t = k* L/R ... สมการสนามแม่เหล็ก-ไฟฟ้าพื้นฐานครับ
ถ้าไม่มี R สนามแม่เหล็กจะยุบตัวเร็วมาก ทำให้แรงดันตกเร็ว การเผาไหม้ ต้องการ arc ที่นานพอสมควรครับ
ส่วนการติดกราวด์ ผมเคยวัดกับ jeep ... ข้อมูลไม่ทราบหายไปไหน
แต่วัดแรงดันระหว่าง alternator - ขั้วลบแบต ได้ต่างกันพอสมควรครับ ทั้งๆที่เป็นสภาวะ idle กระแสต่ำ
ในภาวะกระแสสูง ถ้าเดิมยังไม่มีจุดลง ground เพิ่ม .. แรงดันตกคร่อมนี้ จะเพิ่มตาม ใช่ไหมครับ??
ดูเผินๆเหมือนน้อย แต่จริงๆแล้ว การจุดระเิบิดแต่ละครั้ง ต้องการพลังงานมาก (แรงดันในห้องเผาไหม้ สูงเอาเรื่อง .. อากาศปกติ ต้องการแรงดัน break down แค่ 3,000v/mm เท่านั้น แต่ในห้องเผาไหม้ ต้องการ 25-30,000v/mm .. หรือแรงดันทำงาน 10-20 kV) ถ้าผมจำไม่ผิด กระแสที่ไหลช่วงเกิด arc จะประมาณ 10A (ไม่รู้เอาแฟ้มข้อมูลไปวางไว้ไหน)
สมัียนี้ จะเก็บพลังงานไว้ใน capacitor (capacitive discharge ignition) ทำให้สามารถจ่ายพลังงานได้ยาวนาน และพอเพียง
แต่ไม่ว่าจะพอหรือไม่พอ .. กฏเกณฑ์อันหนึ่ง ก็ยังคงอยู่
สมมุติ 1. กระแสไฟที่เครื่องยนต์ & ส่วนต่างๆดึงไปใช้ ประมาณ 20 แอมป์เท่านั้น .. 2. ความต้านทานระหว่างสายกราวด์-ตัวถัง คือ 0.01 โอห์ม (ซึ่งน้อยมากๆ จนมิเตอร์ธรรมดาวัดไม่ขึ้น .. มันเป็นไปได้ เมื่อรถมาใหม่ๆ แต่พอใช้ไปนานๆ ตรงนี้เปลี่ยนเป็น 0.05 โอห์ม ซึ่งก็เป็นไปได้ สบายๆเช่นกัน) .. แรงดัีนหายไป 1.0-2.5 volts ไฟที่เลี้ยงระบบจะเหลือแค่ 11.1-12.6v
.. ไฟที่จ่ายเข้าด้านคอยล์แรงต่ำ เป็นไฟที่มาจากแบต(หรือได้ชาร์จ) ไม่ใช่ไฟที่ผ่านการปรับระดับ (regulated) เหมือนที่จ่ายให้ ECU สมมุติว่า ระบบสร้างไฟแรงสูง (จ่ายให้หัวเทียน) ทวีัแรงดันขึ้น 1,000 เท่า .. จาก 13.6 -> 13,600v .. พอที่จะสร้างอาร์คปลายหัวเทียน เพื่อจุดระเบิดได้สมบูรณ์ แต่ถ้าแรงดันลดเหลือ 12.6? แรงดันที่ปลายหัวเทียนเหลือ 12,600 .. พอไหม? น่าจะพอใช่ไหมครับ?
ปัญหาที่ซ่อนเร้นคือ ปกติเครื่องยนต์กินกระแสไฟแค่ 20A นั้น คำพูดนี้ มันไม่ครบถ้วนครับ คำเต็มๆคือ เครื่องยนต์กินกระแสไฟ เฉลี่ยแค่ 20A
แต่ช่วงที่ต้องมีแรงดันไฟสูงไปหัวเทียน จะมีการดึงกระแสมากเป็นช่วงๆ (pulse) กระแสไฟที่ดึงนั้น สูงได้ถึง 40-50A ครับ (ช่วงนี้สั้นมากๆ วัดเป็น millisecond)
นั่นหมายความว่า แรงดันไฟที่หัวเทียน อาจเหลือแค่ 10,000v (10kV) เท่านั้น แทนที่จะเป็น 13,600v ...
----------------------------------- เพิ่มเติม (ข้อมูลเก่า, รถ cherokee) มีการวัดเรียบร้อยแล้วครับ ถ้าไม่เพิ่มสายกราวด์ --รอบเดินเบา-- จะมีไฟตกคร่อมระหว่างขั้วลบแบตเตอรี่ กับตัวถัง ประมาณ 100-120 millivolts (ใช้ Fluke Digital Multimeter วัด)
เร่งเครื่องที่รอบ 3,000 แรงดันตกคร่อมเพิ่มเป็น 300-800 millivolts ครับ (สวิงมากๆ) ตามการทำงานของแอร์ และเครื่องเสียง (อื้อ .. ยังไม่เปิด sub ครับ เดี๋ยวข้อมูลมั่ว )
ถ้าเปิดที่ปัดน้ำฝน แถมเพิ่มอีก 200-300 mV
ดิปไฟสูง ครืดเดียว แรงดันตกคร่อมกระโดดไปเป็น 1,500 mV (ต้องตั้ง mode peak-and-hold ถึงจะเห็น ถ้าเป็น average จะไม่เห็น)
ถอดสายเดิมออกมา ทำความสะอาดบริเวณลงกราวด์และหางปลา ชนิเอี่ยมอ่องจริงๆ ก่อนต่อกลับเข้าไปใหม่ .. คราวนี้ทุกอย่างเกือบนิ่งสนิท แรงดันตกคร่อมปกติที่ 100-120 mV เหมือนเดิม (error จากการวัด???) เร่งรอบเครื่อง เปิืดแอร์/เปิดแอมป์ .. แรงดันตกคร่อม ไม่ถึง 300 mV ดิปไฟสูง ฯลฯ ลดเหลือ 500 mV ..
ก็เรียกว่าทุกอย่างดีขึ้นพอสมควร
แต่พอเพิ่ม ground เข้าไป .. นิ่งกว่าเดิมอีก ตอน idle เหลือแถวๆ 50-100 mV (reading error?) แต่คราวนี้ จะเปิดแอร์ เปิดแอมป์ ฯลฯ จนแม้ดิปไฟ แรงดันตกคร่อม ไม่เกิน 200 mV ครับ
ไฟทุกที่ ถ้ามีการดึงแบบ pulse จะมาจาก batt ครับ ไม่ว่าบวกหรือลบ จะไม่มาจาก alternator ครับ เพราะ batt จะทำหน้าที่"เสมือน" เป็น capacitor ขนาด super ยักษ์ และจ่ายกระแสออกได้เร็วกว่า alternator (ซึ่งต้องรอการเพิ่มความเข้มสนามแม่เหล็กที่ stationery field)
เจ็บนิ้วมากแล้วคร้าบ ปล.คุณช่างกล ผมกำลังจะถอด sub ออกแล้วครับ :D
ปปล. คุณ love3 ครับ GW ของรถแข่งมันแทบจะเป็นสายเงิน (นำกระแสดีที่สุด) ถักฝอยเคลือบทองคำ (กัน oxidized) ครับ ไม่จำเป็นต้องติด gw เพิ่มอย่างเราๆหรอกครับ
สิ่งที่ผมหงุดหงิดมาก คือ ทำไม GW ในรถญี่ปุ่น (คันที่ผมใช้ คันอื่นไม่รู้) ไม่ทำมา่ให้มันดีๆ ในเมื่อมันเพิ่มต้นทุนรวมไม่ถึง 0.000001% เลยครับ สายไฟ เปลี่ยนจากเบอร์ 6/0 เป็น 8/0 เพิ่มเงินอีก 10 บาทเอ้า พื้นที่การเก็บ แรงงานที่ใช้ ฯลฯ ไม่เปลี่ยนแปลง จุดลงกราวด์ ใช้วิธีเชื่อมอัดเข้ากับตัวถัง ก่อนขัดผิวให้เงา (แพงนิดเดียว แต่แก้ปัญหาระยะยาว ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงในระยะประกัน .. เพราะถ้า groud ไม่แน่น เครื่องเดินไม่เรียบนะเออ)
จากคุณ :
แมวเหมียวพุงป่อง
- [
17 เม.ย. 48 22:15:15
]
|
|
|