ความคิดเห็นที่ 4
ขอแทรกคุณ kheedes หน่อยมีข่าวที่น่าสนใจมาฝากเพื่อนๆห้องศาสนาเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
โหมโรงหนังสั้น ใต้ร่มเงาสมานฉันท์ มอ.ปัตตานี
จากเปิดฉายรอบปฐมทัศน์ที่โรงภาพยนตร์ House Rama (R.C.A) กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 27-28 พฤษภาคมที่ผ่านมา ขบวนหนังสั้นจำนวน 11 เรื่องจาก โครงการหนังสั้น ใต้ร่มเงาสมานฉันท์ ก็เดินทางไกลเพื่อเปิดฉายยังต่างจังหวัด ประเดิมด้วยการล่องใต้มาเปิดโรงที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) เป็นครั้งแรกในวันที่ 24 มิ.ย โดยนักศึกษา กลุ่มตะเกียงแก้ว จากคณะวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานีรับเป็นโต้โผใหญ่
โครงการนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) กับเครือข่ายต่างๆ ได้แก่ นิตยสาร BIOSCOPE, องค์กรแอ๊กชั่นเอดประเทศไทย, กลุ่มสื่อเมือง (UMS), โครงการก่อตั้งมูลนิธิสื่อสารสาธารณะ (PUDSA), สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย, กลุ่ม Thai Short Film และ มันตาศิลปะการแสดง ซึ่งได้จัดโครงการประกวดหนังสั้น ภายใต้แนวคิด ใต้ร่มเงาสมานฉันท์ จากจำนวนผู้ส่งประกวดกว่า 300 เรื่อง แต่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายเหลือเพียง 11 เรื่อง
จากการเปิดฉายรอบปฐมทัศน์ที่กรุงเทพฯ หนังสั้นจากโครงการที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักนัก ก็กลายเป็น Talk of the town ของทั้งผู้ชม นักวิชาการ และแวดวงคนทำหนัง เมื่อหนังสั้นหลายเรื่องจากจำนวน 11 เรื่อง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องราวความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผศ.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร เป็นผู้กล่าวเปิดงาน หลังจากนั้นก็มีการจัดฉาย VTR บอกเล่าความเป็นมาของโครงการ หนังสั้นใต้ร่มเงาสมานฉันท์: บทเรียนความแตกต่าง ก่อนจะเปิดโรงฉายให้กับหนังสั้น ทยอยจาก จากสันติภาพ ถึงสันติภาพ ผลงานของสันติภาพ อินกองงาม, ปอเนาะ ผลงานของนายฮาริส มาศชาย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานี, Weight of Gun กำกับโดย ศศะ คงวิจิตร, ดรีมทีม ผลงานกำกับของ มาวิน หลีเส็น, Good Morning ผลงานจาก มนต์ศักดิ์ หินประกอบ, ธาดา กำกับโดย เสรีย์ หล้าชนบท และ เพียงความธรรมดาของเส้น ของ ขวัญแก้ว เหตุผล
ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวว่า หลังจากได้ชมหนังสั้นหลากหลายเรื่องที่นำมาเปิดฉายนั้น พอจะแยกเนื้อหาหรือประเด็นต่างๆ ที่หนังพยายามสื่อ 5 ประเด็นด้วยกัน คือ 1.ในหนังมีลักษณะของการต่อสู้หรือการก่อการร้าย 2.มีกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากแรงขับ ของศาสนาและวัฒนธรรม 3.มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม 4.มีความรุนแรงที่สะท้อนภาพของความขัดแย้ง และ 5.มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครที่น่าสนใจ ในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
ดีนา หะยีหมัด นักศึกษาจากเอกเทคโนโลยีการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ บอกว่า แม้หนังบางเรื่องจะดูไม่ค่อยเข้าใจ แต่เธอก็ประทับใจที่มีโครงการดีๆ เช่นนี้เกิดขึ้น โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องความสมานฉันท์ที่สร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบของหนังสั้น ก็นับว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจดี
การสมานฉันท์คือ การหลอมรวมสิ่งที่แตกต่างให้กลายเป็นสิ่งเดียวกัน นั่นหมายถึงแม้เราจะแตกต่างและมีที่มาอย่างหลากหลาย แต่เราสามารถหลอมรวมกันกลายเป็นสังคมเดียวกันได้ และอยากให้มีโครงการดีๆ เช่นนี้เกิดขึ้นอีกค่ะ ส่วนโครงการหนังสั้น ทางที่ดีควรจะเผยแพร่ให้แพร่หลายในสถานศึกษาทั่ว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือได้เปิดฉายทั่วประเทศจะดีมาก เพราะคนไทยทุกคนจะได้เปิดรับสารที่เหมือนกันบ้าง น้องดีนาบอก
นรฤทธิ์ จรรยาสวัสดิ์ นักศึกษาหนุ่มชั้นปีที่ 4 เอกภาษาและวรรณคดีไทย คณะมนุษยศาสตร์ มอ.ปัตตานี กล่าวว่า โครงการนี้ดีเยี่ยมสำหรับตน ซึ่งต้องการให้กิจกรรมที่เกิดขึ้นในส่วนกลางเดินทางมาเผื่อแผ่ให้กับผู้คนหรือนักศึกษาในต่างจังหวัดบ้าง การทำหนังสั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะเป็นสารที่รับง่าย รวดเร็ว และไม่ซับซ้อนจนเกินไป อยู่ที่ฝีมือของผู้ส่งสารว่า จะเขียนบทหรือปรุงแต่งสารอย่างไรให้คนเข้าใจได้ง่าย เพราะในบ้างกรณีก็ต้องการ สารที่เข้าใจง่าย และรวดเร็ว เช่นปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นี่คือหลากหลายความคิดเห็นของผู้ชมในโครงการหนังสั้นใต้ร่มเงาสมานฉันท์ แม้จะเพิ่งประเดิมการสัญจรเป็นครั้งแรก แต่ก็สร้างบรรยากาศการ พูดถึงและถกเถียงทางความคิดเห็นเป็นอันมาก ทางเจ้าของโครงการเองก็ประกาศว่าจะสัญจรไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศเพื่อเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป เพราะฉะนั้นใครที่สนใจก็ต้องอดใจรอกันสักนิด
และผมก็ขอให้ เปิดใจให้กว้างเข้าไว้ เพื่อต้อนรับโครงการดีๆที่ช่วยสมานฉันท์ความแตกต่างของสังคม
จากคุณ :
mr.cozy (mr.cozy)
- [
20 ก.ค. 49 14:56:10
]
|
|
|