ความคิดเห็นที่ 9
ผมบังเอิญไปเจอฎีกานี้มาครับ ลองอ่านฎีกานี้ดูก่อนนะครับ
-----------------------------------------------------------
ฎีกาเลขที่ 5210 ปี 2545
โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นอิสลามศาสนิกอยู่ในจังหวัดนราธิวาส โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ จ. บิดาโจทก์และจำเลยทั้งสอง แต่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าที่ดินดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดกของ จ. แต่เป็นของ ต. มารดา จำเลยทั้งสอง ซึ่งในการที่จะวินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่จะนำ กฎหมายอิสลามมาใช้บังคับไม่ได้ต้องใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นหลักวินิจฉัยก่อน ต่อเมื่อ ทรัพย์สินนั้นเป็นมรดกแล้วจึงจะใช้กฎหมายอิสลามในการแบ่งปันทรัพย์มรดก ให้แก่ทายาทต่อไป
คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและ ที่มิใช่ข้อกฎหมายอิสลามปะปนกันอยู่ การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณา โดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา การพิจารณาคดี จะไม่เป็นการชอบด้วย พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลฯ มาตรา4 วรรคแรก ก็แต่เฉพาะข้อพิพาทที่ต้องใช้ กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับเท่านั้น การพิจารณาคดีใน ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ต. มารดาของจำเลยทั้งสอง หรือเป็น มรตกของ จ. บิดาของโจทก์และจำเลยทั้งสอง และประเด็นข้อพิพาทที่ว่าคดีขาด อายุความแล้วหรือไม่ ทั้งสองข้อนี้หาใช่ข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรม จะต้องวินิจฉัยชี้ขาดไม่ แม้ดะโต๊ะยุติธรรมจะมิได้ร่วมนั่งพิจารณาด้วย ก็ไม่ทำให้ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต้องเสียไปแต่อย่างใด การดำเนินกระบวน พิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้อง ขอส่วนแบ่งมรดกแล้วตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1754 เนื่องจากโจทก์ฟ้องของแบ่ง มรดกจากจำเลยทั้งสองเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย และโจทก์ก็ทราบวันเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ส่วนที่จำเลยทั้งสองเบิกความ ว่าหากที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นมรดกของ จ. ก็จะยอมแบ่งให้แก่โจทก์นั้น เป็นเพียงการแสดงความบริสุทธิ์ใจของจำเลยทั้งสองที่ไม่ประสงค์จะฉ้อโกงโจทก์ หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/24 ที่ต้อง แสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งก่อนการฟ้องคดีไม่ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
ส่วนที่ โจทก์อ้างมาในฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทนั้น เป็นฎีกา ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ในคดีนี้ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ คู่ความฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง (ฎีกายาว)
http://www.kodmhai.com/10015/me.php
-----------------------------------------------------------
ในเวบนี้ก็มีข้อมูลเกี่ยวกับคดีใน 4 จังหวัดน้อยมาก .... เมื่อได้อ่านแล้ว ผมก็มองว่า ... แม้คดีนี้จะยุติลงได้ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับคดีใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีมากน้อยแค่ไหนที่จะพอให้ศึกษากันได้ ( มีใครพอจะมีแหล่งข้อมูลคดีต่าง ๆ ใน 4 จังหวัดภาคใต้บ้างครับ มีการทำสถิติไว้หรือไม่อย่างไร )
..... เป็นไปได้ไหมที่จะยกเลิกกฏหมายอิสลามใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ยึดลำดับที่ว่า ... ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ .... "เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม" ..... อยู่ในเมืองไทย ก็ควรใช้กฏหมายของเมืองไทยเหมือนกันทั้งประเทศ
พิธีการศาล พิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ปฏิบัติต่อประชาชนใน 4 จังหวัดนั้น เจ้าหน้าที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจกฏหมาย 2 แบบในเวลาเดียวกัน แต่การผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเจ้าหน้าที่ต่างถิ่นลงไปปฏิบัติงาน อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันได้มาก เพราะพื้นฐานความเข้าใจไม่ตรงกัน เพราะเนื้อหาที่จะต้องศึกษานั้นมีมาก และยังต้องใช้เวลาทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้ปฏิบัติอย่างยุติธรรมอย่างแท้จริง
แต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือแก้ปัญหาซึ่งหน้า โดยยังไม่เข้าใจแนวคิดของคนในท้องถิ่นอย่างถูกต้องตรงกัน อาจเป็นเหตุทำให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าใจผิด คิดไปต่าง ๆ นา ๆ ในเชิงลบต่อเจ้าหน้าที่ เช่น คิดว่าถูกลบหลู่หรือเลือกปฏิบัติไทยพุทธ ไทยอิสลาม ... อีกทั้งแนวคิดของคนใน 3 จังหวัดนั้น (ยกเว้นจังหวัดสตูล) ซึ่งเคยปกครองภายใต้รัฐปัตตานีมาก่อน อาจจะแตกต่างจากคนในจังหวัดอื่นได้ด้วย .... เป็นจุดอ่อนให้มือที่สามมาหลอกใช้งานได้ง่ายขึ้น
-----------------------------------------------------------
( ความเห็นส่วนตัว )
จากคุณ :
ฟ้าคำนวณ
- [
2 ม.ค. 50 18:37:40
]
|
|
|