ความคิดเห็นที่ 12
ตอบ คุณ Asim ความคิดเห็นที่ 11 [วันมหาสงกรานต์ (13) 22:14:34] คำถามทั้งหมดอยู่ภายใต้คำของคุณว่า กรณีที่อุบาสกเป็นปุถุชนนั้นถือศีล ขอตอบคำถามที่ 2 ก่อน คำถามว่า อุบาสกถือศีลห้า ศีลแปด เป็นการชั่วคราวหรือครับ แล้วศีลนั้นบริสุทธิ์เพียงใด ตอบว่า อุบาสกถือศีลห้า ศีลแปด เป็นการชั่วคราว ถูกต้องครับ. ศีลของอุบาสกเป็นปุถุชนนั้นบริสุทธิ์เพียงใด ถ้าจะว่าโดยองค์ของศีลนั้น ศีลไม่ขาดตราบใด ก็บริสุทธิ์ตราบนั้น. ถ้าจะว่าเจตนาหรือว่าการตั้งความปรารถนา หรือการหวังผลจากการถือศีล หรือรักษานั้น ควรพิจารณาโดยอุกฤษฏ์ โดยควรเทียบเคียงกับพระสูตรชื่อว่าเมถุนสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เมถุนสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1221&Z=1297 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=47
เรื่ององค์ของศีล ควรศึกษาจากอรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110 หรือจากหนังสือหมวดธรรมะ เรื่องศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html
ขยายความคำว่า อุบาสกถือศีลห้า ศีลแปด เป็นการชั่วคราว ศีล คือการเว้นจากทุจริต, การเว้นจากกรรมชั่ว แบ่งเป็น 3 เรียกว่า วิรัติ 3 คือ 1. สัมปัตตวิรัติ ละเว้นได้เมื่อประสบซึ่งหน้า เช่นว่า บุคคลไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อนว่า เราจะรักษาศีลข้อนี้ๆ แต่เวลาประสบเหตุการณ์เฉพาะหน้า ก็ละเว้นทุจริตนั้นได้ เช่น บุคคล ถือมีดไปผ่าฟืนในป่า ระหว่างทางถูกงูลัดไว้แน่น บุคคลนั้นคิดว่าเราก็มีมีดที่จะฆ่างูนั้นได้ แต่ละเว้นไว้ด้วยคิดว่า เราอย่าฆ่าสัตว์ เพราะเหตุแห่งชีวิตของตนเลย อย่างนี้ เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ ละเว้นได้เมื่อประสบซึ่งหน้า
2. สมาทานวิรัติ เว้นด้วยการสมาทาน เช่นว่า บุคคลตั้งใจสมาทานว่า เราจะรักษาศีล ละเว้นจากทุจริต เมื่อเกิดเหตุการณ์ เช่นข้างต้นเป็นต้น ก็ระลีกได้ว่า เราสมาทานศีลไว้แล้วว่าจะละเว้นทุจริต แล้วก็ละเว้นทุจริตนั้นๆ ได้ตามที่สมาทาน อย่างนี้ เรียกว่า สมาทานวิรัติ เว้นด้วยการสมาทาน
3. สมุจเฉทวิรัติ หรือ เสตุฆาตวิรัติ เว้นด้วยตัดขาด ข้อนี้เป็นการละเว้น จากทุจริตของพระอริยบุคคล เช่นว่า ศีล 5 นี้กล่าวกันว่า พระอริยบุคคลรักษาได้ยั่งยืน ไม่ต้องสมาทาน ข้อนี้อธิบายว่า กิเลสอันเป็นเหตุให้ทุศีล พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ละได้แล้วอย่างเด็ดขาด กิเลสอันเป็นเหตุให้ทุศีล จึงไม่เกิดอีก เป็นอันศีลเหล่านั้นยั่งยืน คำว่า วิรัติ 3 http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิรัติ_3
ก็อุบาสกที่เป็นปุถุชนถือศีลห้า ศีลแปด ควรหมายถึง อุบาสกที่เป็นปุถุชน ที่สมาทานศีลไว้ แม้จะสมาทานไว้ตลอดชีวิตและไม่ขาดเลย ก็จัดว่าเป็นการชั่วคราว เพราะว่า เหตุคืออกุศลจิตอันเป็นปัจจัยให้ทุศีลได้ ยังไม่ได้ตัดขาดไป โดยเด็ดขาด ย่อมมีโอกาสที่จะทุศีลได้ ในวัฏฏะสงสารที่ยาวนาน. ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำถามข้อที่ 1 ว่า เหตุใดอุบาสกจึงถือศีล เพราะเพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่นเท่านั้น หรือเพราะความเห็นเป็นอย่างไร คำถามข้อที่ 1 ตอบทีหลัง เพราะอ่านคำถามซ้อนคำถามแล้ว เห็นว่า คำถามนี้ตีความนานกว่าข้อที่ 2 เข้าใจว่า ตั้งใจว่าถามว่า เหตุใดอุบาสกจึงถือศีล เพราะเพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่นเท่านั้นใช่หรือไม่ หรือว่าเพราะความเห็นเท่านั้น หรือว่า เพราะความเห็นด้วย เหตุเหล่านั้นเป็นอย่างไร ตอบว่า อุบาสกที่เป็นปุถุชน เป็นผู้ที่ยังละกิเลสอะไรๆ เป็นการเด็ดขาด ไม่ได้สักอย่างเลย ดังนั้น อุบาสกที่เป็นปุถุชนแต่ละคนอาจมีการสมาทานศีลด้วยเหตุ ที่แตกต่างกันไป. 1. เพื่อตนเอง เช่นว่า บุคคลได้สดับมาแล้ว และพิจารณาเห็นว่า บุคคลผู้เป็น ผู้มักฆ่าสัตว์ ย่อมมีวิบากเป็นทุกข์ เช่นทุกข์ในนรกเป็นต้น ย่อมมีอายุสั้น เมื่อได้กำเนิด เป็นมนุษย์ ดังนี้แล้ว ก็สมาทานศีลข้อว่า ละเว้นจากปาณาติบาตไว้. จูฬกัมมวิภังคสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=7623&Z=7798#582
ตัวอย่างอื่นๆ เช่น เรื่องอุโบสถกรรม [๑๑๑] http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=20&p=5
แต่อย่างไรก็ตาม แม้เพื่อตนเอง ก็เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย นัยตามพระสูตร ชื่อว่าปุญญาภิสันทสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=5079&Z=5126
2. เพื่อผู้อื่น เช่นว่า บุคคลหนึ่งมีปกติดื่มสุราเมรัย ต่อมา เขามีความคิดว่า เมื่อเรายังดื่มสุราเมรัยอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่บุตรของตน และภายหลังก็ จะตักเตือนบุตรของตน เพื่อไม่ให้ดื่มสุราเมรัย การตักเตือนนั้นจะไม่เป็นคำหนัก บุตรของตนจะสามารถกล่าวย้อนได้ และจะไม่เชื่อฟังคำตักเตือนนั้น และอาจถึงความ เสื่อมเพราะดื่มสุราเมรัยได้ ดังนี้แล้ว จึงเลิกการดื่มสุราเมรัย เพื่อปรารภบุตรของตน แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะปรารภผู้อื่นอย่างนี้ ก็เป็นประโยชน์ต่อตนเองด้วย เพราะเป็นเหตุละทุจริตได้.
3. เพราะความเห็นเป็นอย่างไร อย่างที่แสดงไว้ว่า ปุถุชนเป็นผู้ที่ยังละกิเลสอะไรๆ เป็นการเด็ดขาด ไม่ได้สักอย่างเลย ทิฏฐานุสัย คือความเห็นผิดก็ยังนอนเนื่องอยู่ในชันธสันดาน ก็เช่นกัน ยังละไม่ได้เลย ดังนั้น แม้จะถึงไตรสรณคมน์แล้วก็ตาม ก็อาจยังเห็นผิด ได้อยู่ เช่น มีความเห็นว่า หากเราถือศีล 5 อย่างนี้เท่านั้น ก็จะหลุดพ้นจากอาสวะ กิเลสทั้งปวงได้ ดังนั้นจึงถือศีล 5 อย่างนี้ จัดเป็นการรักษา เพราะความเห็นผิด เรียกว่า สีลัพพตปรามาส [๖๗๓] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน? http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=34&A=5832&w=สีลัพพตปรามาส_เป็นไฉน?#673
คำว่า สีลัพพตปรามาส http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สีลัพพตปรามาส&detail=on#find2 คำว่า อนุสัย http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุสัย&detail=on#find3
ข้อนี้ ควรศึกษาพระสูตรชื่อว่า รถวินีตสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ รถวินีตสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4938&Z=5108 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=292
คำว่า วิสุทธิ 7 วิสุทธิ 7 ความหมดจด, ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ, ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิสุทธิ_7&detail=on#find13
ส่วนการถือศีลของอุบาสกที่เป็นปุถุชน เพราะความเห็นในส่วนที่เป็นความเห็นถูกก็มี ข้อนี้ ก็คือการรักษาศีลทั้งปวงของพระอริยบุคคล ก่อนที่จะบรรลุมรรคผล เป็นตัวอย่าง. เช่นว่า บุคคลได้สดับพระสูตร ชื่อว่าอุตติยสูตร ว่าด้วยอาศัยศีลเจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้ว่า พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อุตติยสูตร ว่าด้วยอาศัยศีลเจริญสติปัฏฐาน ๔ [บางส่วน] [๗๕๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีก ออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุตติยะ เพราะฉะนั้น เธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรม ให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=19&A=4388
เมื่อได้สดับและพิจารณา ได้ความเห็นที่ถูกต้อง อันตรงแล้วก็รักษาศีล อย่างนี้ คือ การที่อุบาสกที่เป็นปุถุชนรักษาศีล เพราะความเห็นถูก ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ท้ายนี้ ขออนุโมทนากับการถามคำถามด้วย คำของคุณว่า คำถามดูโง่ๆ แต่คำถามทั้งสองข้อนี้ ผมไม่ทราบคำตอบจริงๆนะครับ ควรทราบว่า คำถามนี้ไม่โง่เลย เป็นคำถามที่มีประโยชน์ เพื่อให้ได้คำตอบ เพื่อคลายความสงสัยได้.
แนะนำ :- อ่านและค้นพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม อรรถกถาชาดกทั้งหมด ๕๔๗ เรื่อง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สารบัญประเภทธรรม http://84000.org/tipitaka/dic/d_type_index.php?
หมวดหนังสือธรรมะ http://84000.org/tipitaka/book/
เรื่อง ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html
เรื่อง สิ่งที่เป็นมงคล (มงคล ๓๘) http://84000.org/tipitaka/book/bookpn06.html
เรื่อง ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html
จากคุณ :
ฐานาฐานะ
- [
วันเนา (14) 10:14:04
]
|
|
|