Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    พระไตรปิฎกแบ่งเป็น “บัว 3 เหล่า” … แต่พุทธไทยมั่วแบ่งเป็น บัว 4 เหล่า ……..จริงไหม ??????

    เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ดูรายการทีวีทายปัญหาแข่งขัน
    ของคุณปัญญารายการหนึ่ง
    ถามว่าพระไตรปิฎกแบ่งบัวเป็นกี่เหล่า
    โดยมีให้เลือกระหว่าง 3 เหล่า กับ 5 เหล่า
    แล้วคำเฉลยก็ออกที่ 3 เหล่า

    จึงมีปัญหาถามท่านว่า
    จริง ๆ แล้ว พระพุทธเจ้าทรงแบ่งบัวเป็นกี่เหล่ากันแน่

    ……………………………

    ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่ได้ค้นคว้าจากเวบต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ต
    ซึ่งมีทั้ง 3 เหล่า 4 เหล่า
    (และยังมีบางเวปเสนอเหล่าที่ 5 เอาไว้ด้วยเลย
    แต่ไม้ได้นำมาแสดงในที่นี้เท่านั้น)

    ………………………………


    บัวสี่เหล่า

    เมื่อตอนเด็กๆ สมัยประถม จำได้ว่า
    เคยเรียนเรื่องบัวสี่เหล่า
    คุณครูท่านนำหลักของพระพุทธศาสนาสอนว่า
    คนเรานั้นมีด้วยกัน 4 ประเภท
    ถ้าเปรียบไปก็เหมือนกับดอกบัว ที่มีอยู่ 4 เหล่า
    ตามหลักของพระพุทธศาสนา คือ

    1 บัวใต้โคลนตม พวกนี้เปรียบเหมือนคนที่ไม่รู้หนังสือ
    ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน เรียกง่ายๆ ว่าเป็นคนโง่ นั่นเอง
    เพราะอยู่ไปก็มีแต่จะเป็นอาหารของสัตว์น้ำทั้งหลาย
    หรือกลายเป็นโคลนตม

    2 บัวใต้น้ำ พวกนี้เปรียบเหมือนเด็กที่กำลังจะเจริญเติบโต
    ถ้ามีความขยันหมั่นเพียร ก็จะเติบโตขึ้นมาเป็นบัวที่ปริ่มน้ำ

    3 บัวปริ่มน้ำ พวกนี้ก็เปรียบเหมือนคนที่มีความรู้ในระดับหนึ่ง
    แต่ยังไม่รู้แจ้ง รู้จริง ต้องศึกษาเพิ่มเติม
    เพื่อที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นบัวที่โผล่พ้นน้ำ

    4 บัวพ้นน้ำ พวกนี้เปรียบเสมือนคนที่รู้แจ้ง เห็นจริง
    ผ่านการศึกษาเล่าเรียนในระดับที่สูงพอสมควรแล้ว
    และเป็นคนที่น่าเชื่อถือ น่าเลื่อมใส

    ดิฉันก็พอจะเข้าใจ คน 4 ประเภทเหล่านี้
    เพราะคุณครูท่านต้องการสั่งสอนเราให้เป็นเด็กดี ขยันเล่าเรียน
    เพื่อที่จะได้เติบโตขึ้นมาเป็นบัวที่อยู่เหนือโคลนตม
    หรือบางคนก็เป็นบัวพ้นน้ำได้

    Jun 29, '08 1:49 AM
    for everyone

    http:lovelysann./journal/item/31

    …………………………………


    "บัว 4 เหล่า"



    ดอกบัว ๔ เหล่า คือ


    ......อุคฆติตัญญู เป็นผู้มีพื้นฐานทางบารมี
    อัธยาศัยพื้นฐานทางสมาธิสูง
    มีไหวพริบ ปฏิภาณดี
    สามารถฟังธรรมที่เขาแสดงเพียงเล็กน้อยก็เข้าใจ
    และบรรลุมรรคผลได้
    เช่น พระอัสสชิ ได้แสดงธรรมะ
    เพียง สองสามบรรทัดแก่พระสารีบุตรว่า

    "ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ
    มีเหตุเป็นแดนเกิด
    พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุ
    แห่งธรรมนั้น
    และความดับแห่งธรรมนั้น
    พระมหาสมณะมีปกติ
    ตรัสอย่างนี้ "

    จากการแสดงธรรมเพียงเท่านี้ พระสารีบุตรก็บรรลุมรรคผล
    เป็นพระอริยบุคคลระดับแรกคือพระโสดาบันแล้ว
    ท่านจึงเปรียบเหมือนกับดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำ
    พอต้องแสงอาทิตย์ก็จะบานในขณะนั้น


    วิปจิตัญญู เป็นผู้มีวาสนาบารมี พื้นเพอัธยาศัย
    พื้นฐานทางสมาธิและไหวพริบปฏิภาณเป็นต้น หย่อนลงมา
    จำเป็นจะต้องอาศัยการแสดงธรรมะไปโดยลำดับ
    เพื่อฟองอัธยาศัยของบุคคลนั้นให้พร้อมที่จะศึกษาเรียนรู้
    และบรรลุธรรมเบื้องสูงขึ้นไป
    เช่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปธรรม
    เพียงคนเดียว คือ โกณฑัญญะ
    ต่อจากนั้นก็ทรงนำเอาแต่ละท่านมาชี้แจงธรรมะ
    ขัดเกลาไปโดยลำดับ
    เป็นการปรับพื้นเพอัธยาศัย พื้นฐานทางสติปัญญา
    ให้อยู่ในระดับสม่ำเสมอกัน
    จากนั้นก็ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
    ในที่สุดแห่งอนัตตลักขณสูตร
    ท่านทั้ง ๕ ก็ได้บรรลุอรหัตเป็นพระอรหันต์
    ดังนั้นคนประเภทนี้จึงเปรียบเสมือนดอกบัว
    ที่โผล่ขึ้นมาพอเสมอน้ำ
    รอคอยที่จะบานในวันต่อไป
    หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า วิปจิตัญญู คือ อาจจะรู้ธรรม
    เมื่ออธิบายชี้แจงแสดงหัวข้อธรรมเหล่านั้น



    เนยยะ คือผู้พอที่จะฝึกสอนอบรมต่อไป
    อย่างคนผู้มีพื้นฐานวาสนาบารมี มีความโน้มเอียง
    มีศรัทธา มีศีล มีจาคะ มีปัญญา พอประมาณ
    ใช้กาลเวลาฝึกปรืออบรมบ่มนิสัยต่อไปโดยลำดับ
    ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
    สามารถทำจิตใจของเขาให้สงบ ประณีตขึ้น ๆ
    และในที่สุดก็จะบรรลุธรรมในชาตินี้หรือในชาติต่อไปได้
    ตามปกติแล้วบุคคลประเภทนี้ออกจะมีมากเป็นพิเศษ
    ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกปรืออบรมบ่มนิสัยกันนานพอสมควร
    ท่านจึงเรียกว่า เนยยะ คือพอจะแนะนำกันได้
    ท่านเปรียบเสมือนดอกบัวที่โผล่มาปริ่ม ๆ น้ำ
    รอคอยที่จะบานในวันต่อ ๆ ไป



    ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง
    ได้แก่บุคคลที่เขาพร้อมที่จะฟัง หรือไม่ยินดีที่จะฟัง
    ฟัง ๆ ก็สักแต่ว่าฟังไป อาจจะรู้ อาจจะเข้าใจ
    แต่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงในทางพฤติกรรม
    ตอนเริ่มศึกษาปฏิบัติธรรม
    ความโลภ ความโกรธ ความหลง หนาแน่นอย่างไร
    ปฏิบัติธรรมมาจนแก่จนเฒ่าแล้ว ก็คงเป็นอย่างนั้น
    หรืออาจจะแรงกว่า

    ข้อนี้ให้ลองสังเกตว่า ในเชิงของการประพฤติปฏิบัติแล้ว
    บุคลทั้ง ๔ ประเภทนี้ มีลักษณะเหมือน บล๊อกสำเร็จรูป
    ที่จะพัฒนาคนให้บรรลุประโยชน์ทั้ง ๓
    แต่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งในคราวแรกนั้น มุ่งปรมัตถประโยชน์
    คือประโยชน์สูงสุด แต่ในประโยชน์ที่เป็นทิฏฐธัมมิกัตถะ
    คือประโยชน์ในปัจจุบัน
    และสัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ในภายภาคหน้า

    กลุ่มบุคคลทั้ง ๔ ประเภทนี้ก็มีอยู่
    แล้วสัมผัสประโยชน์ในปัจจุบันได้แตกต่างกัน
    เช่น สำหรับการศึกษาเล่าเรียน บางคนก็หัวไว เรียนอะไรได้เร็ว
    ก็เหมือนบุคคลประเภทแรก
    คนบางคนก็ต้องอ่านซ้ำ ๆ ซาก ๆ กันหน่อย
    แต่ในที่สุดก็จะผ่านการศึกษาการเล่าเรียนไปได้
    อีกประเภทหนึ่งอาจจะต้องจ้ำจี้จ้ำไข ลงโทษ เฆี่ยนตีกัน
    อาจจะต้องซ้ำชั้นบ้าง แต่ในที่สุดก็อาจจะสอบผ่านได้
    คนบางประเภทนั้น จะขึ้นไปได้ในระดับหนึ่ง
    แล้วต่อขั้นสูงไม่ได้อีกแล้ว
    เราจะเห็นนักเรียน นักศึกษา
    คนประสบความก้าวหน้าในชีวิตในการทำมาค้าขายก็ดี
    ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี
    ในการปฏิบัติราชการ เป็นทหาร ตำรวจ เป็นต้นก็ดีนั้น
    ดูแล้วก็มีแต่บุคคล
    ๔ ประเภทในแนวนี้เสมอไป


    (จากแบบประกอบนักธรรมโท - ธรรมปริทรรศน์ เล่ม ๒)


    โดย: ปั้น [30 ต.ค. 48 13:31] ( IP A:203.151.140.116 X: )


    http://www.pantown.com/board.php?id=12577&area=&name=board1&topic=177&action=view

    ………………………………………………………………………

    บัว 3 เหล่า ..
    พระพุทธเจ้า บัญญัติ อุปมาอุปมัย
    คน ดั่ง บัว 3 เหล่า
    1 บัวพ้นน้ำ
    2 บัวปริ่มน้ำ
    3 บัวใต้น้ำ

    แล้วบัวเหล่าที่
    4 บัวที่เป็นอาหารเต่าปลา
    มาจากไหน ใครเพิ่มเติมเข้าไป

    .
    จากคุณ : ใครทำ - [ 7 ม.ค. 48 02:56:13 A:210.246.69.6 X: TicketID:056088 ]
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/Y3217623/Y3217623.html

    …………………………………………………………………………………..


    เรื่องดอกบัว ๓ เหล่า ทรงเปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า
    พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
    ในโพธิราชกุมารสูตร
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=13&item=510&items=2&preline=1

    เรื่องดอกบัว ๔ เหล่า ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า
    พระไตรปิฏก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=209&Z=258

    ดอกบัว ๓ เหล่าหรือ ๔ เหล่า ล้วนเป็นพุทธวจนะครับ

    จากคุณ : mop (ebusiness)- [ 7 ม.ค. 48 11:01:08 ]


    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/Y3217623/Y3217623.html

    ……………………………………………………………………….

    ตามนัยแห่งพระสูตร แบ่งเป็น ๓
    ตามนัยอรรถกถา แบ่งเป็น ๔ ตามลักษณะบุคคล ๔ ประเภท คือ อุคคติตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ

    จากคุณ : ชิตังเม - [ 7 ม.ค. 48 11:06:35 A:24.31.120.117 X: TicketID:000833 ]

    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/Y3217623/Y3217623.html

    ……………………………………………………………………….

    แก้ไขเมื่อ 25 ต.ค. 51 05:16:38

     
     

    จากคุณ : kongsilp2000 - [ 25 ต.ค. 51 05:13:34 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom