ความคิดเห็นที่ 10
บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง มี ๑๐ คือทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=บารมี
[325] บารมี 10 หรือ ทศบารมี (ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นมหาสาวก เป็นต้น perfections) 1. ทาน (การให้ การเสียสละ giving; charity; generosity; liberality) 2. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, ความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย morality; good conduct) 3. เนกขัมมะ (การออกบวช, ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม renunciation) 4. ปัญญา (ความรอบรู้, ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง wisdom; insight; understanding) 5. วิริยะ (ความเพียร, ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่ energy; effort; endeavour) 6. ขันติ (ความอดทน, ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความประะพฤติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบไม่ลุอำนาจกิเลส forbearance; tolerance; endurance) 7. สัจจะ (ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ truthfulness) 8. อธิษฐาน (ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่นแน่ resolution; self-determination) 9. เมตตา (ความรักใคร่, ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ loving-kindness; friendliness) 10. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง, ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้ายหรือชอบฟัง equanimity; indifference to praise and blame in the performance of duty)
ทศบารมีนี้ เรียงตามที่ถือว่าได้บำเพ็ญในทศชาติ (จัดแบบไทย) ดังนี้ 1. พระเตมีย์ เนกขัมมะ (ข้อที่ 3) 2. พระมหาชนก วิริยะ (5) 3. พระสุวรรณสาม เมตตา (9) 4. พระเนมิราช อธิษฐาน (8) 5. พระมโหสถ ปัญญา (4) 6. พระภูริทัตต์ ศีล (2) 7. พระจันทกุมาร ขันติ (6) 8. พระนารท อุเบกขา (10) 9. พระวิธุร สัจจะ (7) 10. พระเวสสันดร ทาน (1)
บารมีนั้น ท่านกล่าวว่าจะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ ต้องครบ 3 ขั้น คือ 1. บารมี (ระดับสามัญ เช่น ทานบารมี ได้แก่ ให้ทรัพย์สินเงินทอง สมบัตินอกกาย ordinary perfections) 2. อุปบารมี (ระดับรองหรือจวนจะสูงสุด เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การเสียสละอวัยวะเป็นทาน superior perfections) 3. ปรมัตถบารมี (ระดับสูงสุด เช่น ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ การสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น supreme perfections)
บำเพ็ญทั้ง 10 บารมี ครบ 3 ขั้นนี้ เรียกว่า สมตึสปารมี หรือ สมดึงสบารมี แปลว่า บารมี 30 ถ้วน.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=บารมี
บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข, ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ, กุศลธรรม
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=บุญ
[88] บุญกิริยาวัตถุ 3 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำความดี, หลักการทำความดี, ทางทำความดี bass of meritorious action; grounds for accomplishing merit) 1. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ meritorious action consisting in giving or generosity) 2. สีลมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย meritorious action consisting in observing the precepts or moral behaviour) 3. ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ meritorious action consisting in mental development)
[[89] บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี bases of meritorious action) 1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ meritorious action consisting in generosity; merit acquired by giving) 2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี by observing the precepts or moral behavior) 3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ by mental development) 4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม by humility or reverence) 5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ by rendering services) 6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น by sharing or giving out merit) 7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น by rejoicing in others merit) 8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ by listening to the Doctrine or right teaching) 9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ by teaching the Doctrine or showing truth) 10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง by straightening ones views or forming correct views)
ข้อ 4 และข้อ 5 จัดเข้าในสีลมัย; 6 และ 7 ในทานมัย; 8 และ 9 ในภาวนามัย; ข้อ 10 ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=บุญ
จากคุณ :
wichaphon_me
- [
7 พ.ย. 51 12:20:24
]
|
|
|