ความคิดเห็นที่ 41

ต่อมาในปี ๒๕๔๐ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติให้การรับรองสภาการศึกษาแห่งนี้ และได้เปลี่ยนนามของสถานการศึกษาแห่งนี้ใหม่เป็น "มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย" และให้เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐบาล
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ได้เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ เปิดทำการศึกษาหลังมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ๑ ปี โดยมีพระพิมลธรรม (ช้อย) เป็นสภานายกองค์แรก แต่โดยความเป็นจริงแล้วมหาวิทยาลัยทั้ง ๒ แห่งนั้น แม้จะผลิตนักศึกษาไปหลายรุ่นแล้ว แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลแต่อย่างใด เพิ่งจะมาได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ (เฉพาะปริญญาตรีเท่านั้น) และต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติให้การรับรองมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ให้สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ถึงชั้นปริญญาเอก จึงนับได้ว่า ถึงตอนนี้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งมีศักดิ์และสิทธิในการเปิดทำการศึกษาได้ในทุกระดับปริญญา นับเป็นยุคของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ได้รับการยอมรับและเจริญถึงขีดสูงสุด
ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือพระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๔๐ ของมหาวิทยาลัยทั้ง ๒ แห่งเปิดโอกาสให้กับบุคคลภายนอกที่มีความสนใจในการศึกษาในระบบของพระสงฆ์ เข้ามาศึกษาได้ทั้งแม่ชีและคฤหัสถ์ ชายหญิง นับเป็นการแหวกแนวกับแนวความคิดแบบการศึกษาเก่าๆ ที่จำกัดวงขอบเขตการศึกษาอยู่แต่เฉพาะพระภิกษุและสามเณรเท่านั้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เปิดทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีสำหรับคฤหัสถ์และแม่ชีในปีการศึกษา ๒๕๔๓
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทสำหรับคฤหัสถ์ขึ้น และในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้เปิดหลักสูตรนานาชาติ (International Courses) ในระดับปริญญาโท
ในส่วนของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้เปิดการศึกษา ๒ ระบบ คือ ระบบสหศึกษาสำหรับคฤหัสถ์ชายหญิงทั่วไป ในปีการศึกษา ๒๕๔๓ ที่วัดราชาธิวาส และสำหรับแม่ชีและสตรีทั่วไป ในนามว่า "มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย" มีสถานที่ตั้งอยู่ที่สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี แขวงสีกัน เขตดอนเมือง ได้เปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา ๒๕๔๒ เป็นต้นมา
ทั้งสองระบบนี้ใช้หลักสูตรและวิชาเอกเดียวกันคือวิชาเอกพุทธศาสตร์ สำหรับโครงการนำร่องมหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย สังกัดคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดโครงการนำร่องในปีการศึกษา ๒๕๔๒ โดยมีวัตถุประสงค์คือ :-
๑. เพื่อเป็นสถานศึกษาและวิจัยในระดับอุดมศึกษา ให้การฝึกอบรมแก่แม่ชีไทยและสตรีอื่นๆ ผู้สนใจในพระพุทธศาสนา
๒. เพื่อให้การศึกษาอบรมวิชาการด้านพุทธศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แก่แม่ชีและสตรีอื่นๆ ในการนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนาและวิชาการสมัยใหม่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและสังคม
โครงการนำร่อง มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย แห่งนี้ ต้องถือว่าเป็นประวัติศาสตร์แห่งวงการศึกษาทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่างแท้จริง ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้เปิดโอกาสให้แม่ชีและสตรีทั่วไปที่มีความสนใจในการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาในแนวลึกได้มีโอกาสศึกษาทัดเทียมกับพระภิกษุสามเณร และเป็นการบ่งบอกว่าการศึกษาทางพระพุทธศาสนานั้นไม่ได้ผูกขาดไว้เฉพาะพระภิกษุสามเณรอีกต่อไป ซึ่งก็ตรงกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสว่า พระพุทธศาสนานั้นจะยั่งยืนอยู่ได้มั่นคงหรือไม่มั่นคง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพระองค์เพียงพระองค์เดียว แต่พระพุทธศาสนาจะยั่งยืนมั่นคงอยู่ได้นานนั้นต้องอาศัยพุทธบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ช่วยกันประคับประคองอุดหนุนค้ำชู จะผูกขาดเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวนั้นหาไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น พระพุทธศาสนาคงจะไม่สามารถตั้งอยู่ถาวรได้นานอย่างแน่นอน
.................................................................................
(๑) พิธีประสาทปริญญาบัตร, ศาสนศาสตรบัณฑิต, รุ่นที่ ๔๔, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๔๑ น. ๑๑
บรรณานุกรม
- การศาสนา, กรม. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการศึกษานักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี พิมพ์ครั้งที่ ๔. พ.ศ. ๒๕๓๖.
- ญาณวโรดม, พระ. ศาสนาต่างๆ . โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.
- ทรงวิทย์ แก้วศรี, พุทธสถานในเอเซียใต้ : (อินเดีย-ปากีสถาน-บังคลาเทศ-ศรีลังกา). โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.
- ทองหล่อ วงษ์ธรรมา, ปรัชญาตะวันออก. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. เลขที่ ๘๖๐-๘๖๒ . วังบูรพา. กรุงเทพ ฯ, ๑๐๒๐๐.
- ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.
- ธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระ. พุทธธรรม. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ท่าพระจันทร์. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.
- ธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระ. พระพุทธศาสนาในเอเซีย. จัดพิมพ์โดยธรรมสภา. ครั้งที่ ๑. กุมภาพันธ์, ๒๕๔๐.
- ธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระ. พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี. สุตฺต. สํ., สคาถวคฺโค, เล่มที่ ๑๕.
- ธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระ. พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี. สุตฺต. องฺ. (๓). ปญฺจก-ฉกฺกนิปาตา, เล่มที่ ๒๒ .
- ธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระ. มังคลัตถทีปนี. เล่ม ๒. ทุติโย ภาโค. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระนคร. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.
- สุชีพ ปุญญานุภาพ, พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระนคร. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.
- สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวัติศาสตร์ศาสนา. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระนคร. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.
- สุชีพ ปุญญานุภาพ, ศาสนาเปรียบเทียบ. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระนคร. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.
- เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ. (เล่ม ๑-๒). โรงพิมพ์แพร่พิทยา. ๗๑๖-๗๑๘. วังบูรพา. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.
- เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. (ฉบับมุขปาฐะ เล่ม ๑-๒). โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.
- โสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ), พระ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.
- สุนทร ณ รังษี, ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร.
- วิจิตรวาทการ, หลวง. ศาสนาสากล. โรงพิมพ์ลูก ส. ธรรมภักดี. ถนนข้าวสาร. พระนคร. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.
- วิชัย สุธีรชานนท์, ศาสนาเปรียบเทียบ. โรงพิมพ์ หจก. การพิมพ์พระนคร. พระนคร. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐
- อาจารย์จีนธรรมคณาธิการ (เย็นเจี่ยว), พระ. สารัถธรรมมหายาน. วัดมังกรกมลาวาส. ๑ มกราคม ๒๕๑๓. ป้อมปราบฯ. กรุงเทพฯ, ๑๐๑๐๐.
- Morgan, Kenneth. The Path of the Buddha (Buddhism Interpreted By Buddhists).
- printed in India. By Narendra Prakash Jain at Shri Jainendra Press. New Delhi, 110028.
- Dr. W. Rahula, Venerable. What the Buddha Taught. printed in Thailand. By Kurusapha Press. Bangkok, 1990.
- Tiwari, Kedar Nath. Comparative Religion. printed in India by Jainenfra.Prakash Jain at Shri Jainendra Press. New Delhi, 110028.
- Manorama : Year Book 1996, India.
- http://www.asia.cnn.com/2001/WORLD/asiapcf/central/03/05/afghanistan.m5/index.htm
- www.history.mbu.ac.th/
- http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7945&postdays=0&postorder=asc&start=40
จากคุณ :
Mr.Terran
- [
2 ก.พ. 52 12:25:08
]
|
|
|