 |
จุดเด่นโดยสังเขปของศาสนาพุทธ
|
|
. ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาหนึ่งในกลุ่มศาสนาสากล เป็นศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในเอเซียใต้ คือ อินเดีย มีผู้นับถือหลายประเทศ เช่น ไทย ลังกา ทิเบต เนปาล เขมร ลาว เกาหลี จีน เวียตนาม อินเดีย และ บางส่วนของประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา สถิติ ผู้นับถือประมาณไม่ต่ำกว่า 500 ล้านคน
พุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งความจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ โดยพระพุทธเจ้าทรงได้ค้นพบความจริงนั้น แล้วนำมาชี้แจงเปิดเผยบอกเล่าให้เข้าใจชัดขึ้น ความจริงหรือสัจธรรมที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาตินี้เป็นของกลางสำหรับทุกคน เพียงแต่ใครจะค้นพบหรือไม่เท่านั้น จึงไม่ใช่สิ่งที่ประดิษฐ์หรือคิดขึ้นตามอารมณ์เพ้อฝัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตราบใดที่พระองค์ยังมิได้ตรัสรู้ความจริงในลักษณะ ๓ อย่าง คือ รู้ความวามจริง รู้หน้าที่อันควรทำเกี่ยวกับความจริงนั้น และรู้ว่าได้ทำหน้าที่สำเร็จบริบูรณ์แล้ว ตราบนั้น พระองค์ก็ยังไมอาจกล่าวได้ว่าตรัสรู้แล้ว ข้อความจากธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า ความจริงนั้นพระองค์ได้ลงมือปฏิบัติจนค้นพบประจักษ์แล้ว พระองค์จึงได้นำมาสั่งสอน เพระาฉะนั้นคำสั่งสอนของพระองค์ที่เรียกว่า พุทธศาสนาจึงเป็นหลักคำสอนที่เกี่ยวกับความจริงที่มีเหตุผลสมบูรณ์ผ่านการพิสูจน์ทดลองมาแล้ว ไม่มีคำว่า "เดา" หรือ "สันนิษฐาน" ว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องเป็นความจริงที่ได้ค้นประจักษ์ชัดแล้วจึงใช้ได้และเป็นวิถีทางแห่งการตรัสรู้ อันจะนำไปสู่ความสิ้นทุกข์ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา
พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิรูป เพราะเมื่อพุทธศาสนาได้เผยแพร่ในโลก ได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปทั้งศาสนาแลละสังคม กล่าวคือ ศาสนาต่าง ๆที่มีอยู่แล้วก่อนพุทธศาสนา ต่างก็สอนเรื่องพระเจ้า ให้นับถืออ้อนวอนพระเจ้า และสอนให้เกิดการนับถือชนชั้นวรรณะ มีการแบ่งชั้นวรรณะ ส่วนพุทธศาสนา ประกาศตัวเป็น "อเทวนิยม" ไม่ขึ้นตรงต่อพระเจ้าหรือพรหมองค์ใดเลย และสอนให้มนุษย์เลิกดูหมิ่นเหยียดหยามกัน เพราะเรื่องถือชั้นวรรณะ เพราะเหตุชาติและวงศ์สกุล โดยตั้งจุดนัดพบกันไว้ที่ศีลธรรม ใครจะเกิดในสกุลต่ำสูง ยากดีมีจนอย่างไรไม่เป็นประมาณ ถ้าตั้งอยู่ในศีลธรรมแล้วก็ได้ชื่อว่า เป็นคนดี ควรยกย่องสรรเสริญ ตรงข้ามถ้าล่วงละเมิดศีลธรรมแล้ว แม้เกิดในสกุลสูงก็นับว่าเป็นคนพาลอันควรตำหนิ นอกจากนี้หลักสัจธรรมทางพุทธศาสนายังมีเป้าหมายคือ มุ่งแก้ไขความทุกข์ร้อนของสังคม นับตั้งแต่ส่วนบุคคล ครอบครัว จนถึงโ,กส่วนรวม กฎหมายอย่างเดียวยังไม่เพียงพอสำหรับคุ้มครองและควบคุมพฤติกรรมของส่วนบุคคลของครอบครัว ศาสนาเป็นสิ่งสำคัญที่จะรักษาบุคคล สังคมให้ดำรงอยู่อย่างสันติสุข รวมทั้งที่จะให้บรรลุถึงความหวังที่จะพ้นทุกข์โดยประการทั้งปวงด้วย
สิ่งที่จิตวิทยาของฝรั่งมิได้สนใจ แต่เป็นสิ่งที่พุทธศาสนาเพิ่งเล็งมาก คือเรื่องของ อนัตตา ฝรั่งสนใจและค้นคว้าในเรื่อง อัตตา มากภายใต้เรื่องของ Self , Ego พุทธศาสนาก็ได้อธิบายเรื่องของอัตตาไว้มากมาย เช่นในเรื่องความรู้สึกของคนเราท่านกล่าวไว้ในทำนองว่า คนเรายึดตัวเองมากเกินไปและมีความรู้สึกตามธรรมดาอยู่ 2 ประการคือ อภิชฌา หรือความพอใจที่จะรวมอะไรๆ เข้ามาหาตัว และโทมนัสหรือความไม่พอใจประสงค์จะปฏิเสธ ผลักใสอะไร ๆ ออกไปเสียจากตัว
พุทธศาสนาอธิบายสภาพลักษณะและธรรมชาติของอัตตา ก็เพื่อให้เราเข้าใจว่าลักษณะและธรรมชาติที่แท้จริงของอัตตานั้น คือการเป็นอนัตตานั่นเอง ดังตัวอย่างเช่นในเรื่องของเบญจขันธ์หรือองค์ประกอบทั้ง 5 ของคนเรา ท่านกล่าวว่าคนเราประกอบด้วย รูปและนามธรรม และยังได้แยกออกโดยละเอียด เช่น รูป หรือส่วนที่เป็นร่างกายวัตถุ ประกอบด้วย ธาตุดิน น้ำ ลมไฟ อากาศ ส่วนที่เป็นนามธรรม หรือจิตใจอีก 4 ส่วนคือ เวทนา (รู้สึกทุกข์ และสุข ) สัญญา (ความรู้สึกตัว จำได้ ) สังขาร (ความคิดคำนึงถึง และทัศนคติ) วิญญาณ (ความรู้สึกจากประสาทภายนอกคือ ตา หู ลิ้น จมูก สัมผัส )
ถ้าคิดให้ดีจะเห็นว่า ทุกๆ องค์ประกอบหรือขันธ์ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาหาความยั่งยืนเป็นตัวตนมิได้ เช่น รูปกายของคนเราเมื่อเกิดมาก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดจนตาย และไม่มีใครที่จะไม่เคยพบความทุกข์ ไม่มีใครที่จะเป็นเจ้าของๆ ตัวเองได้ตลอดเวลา บางทีท่านจะต้องเป็นของพ่อแม่ บางทีของเพื่อน บางทีของครอบครัว น้อยครั้งที่ท่านจะทำอะไรตามที่ท่านต้องการโดยไม่มีผู้อื่น หรืออุปสรรคอื่นมาร่วมด้วย
ความจริงบางอย่างในเรื่องอนัตตา เช่นในเรื่องที่ว่าทุกคนเป็นส่วนของคนอื่น หรือหมู่คณะต่างๆ นั้น ฝรั่งเองเพิ่งจะเห็นความจริงเมื่อไม่นานมานี่เอง เป็นเรื่องที่นักสังคมศาสตร์ และนักจิตวิทยาทางด้านสังคมกำลังสนใจเป็นพิเศษ ศัพท์ต่างๆ เช่น Group belonging, Social role ล้วนแต่เป็นการอธิบายเริ่มต้นให้เห็นว่าคนเรานั้นแท้จริงมีหลายเจ้าของ ต้องทำหน้าที่และปฏิบัติตามความต้องการของคนและหมู่คนต่างๆ
พระพุทธเจ้าทรงแนะวิธีบำบัดโดยอธิบายความจริงแห่งชีวิต และที่มาของทุกข์ก่อนที่จะแนะแนวปฏิบัติ เพราะได้ทรงเล็งเห็นว่าผู้ที่จะปฏิบัติได้ดีจำต้องรู้และเข้าใจเรื่องของชีวิตเสียให้ถ่องแท้ เรื่องของชีวิตนี้มีในอริยสัจ ๔ ประการ ดังจะกล่าวโดยย่อคือ
๑. ทุกขสัจ คือความจริงที่ว่าชีวิตคือความทุกข์ และทุกข์มีอยู่ทุกแห่ง ๒. สมุทัยสัจ กล่าวด้วยเหตุของทุกข์คือ ตัณหา ความอยากต่างๆ ๓. นิโรธ คือการแก้ไขความทุกข์ โดยนำเหตุแห่งทุกข์ (ตัณหา) ออกเสีย และโดยการทำลายความไม่รู้ (อวิชา) ๔. มรรคสัจ คือทางปฏิบัติที่จะให้ตัณหาสิ้นลง อันเป็นทางสายกลางพอดีๆ (มัชฌิมาปฏิปทา)
สำหรับหลักอริยสัจ ๔ นี้ ฝรั่งยังไม่มีเป็นหลักที่แน่นอน แต่ก็มีจิตวิทยาหลายพวกที่ลงความเห็นว่า ชีวิตคือการแก้ปัญหา คนเราตั้งแต่เกิดจนตาย เต็มไปด้วยความพยายามในการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งไม่ไกลกับพุทธวาจาที่ว่า การเกิดแก่ ตายนั้นเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ วิธีบำบัดทุกข์ของฝรั่งส่วนใหญ่ คือมีแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เป็นคนช่วยบำบัดส่วนในทางพุทธศาสนาถือว่าผู้ที่ต้องการบำบัดทุกข์จะต้องรักษาตัวเอง ต้องปฏิบัติและช่วยตัวเอง ไม่มีใครเลยจะสามารถบำบัดทุกข์ให้แก่เราได้ ถ้าเราไม่พยายามปฏิบัติเอง
ในแง่ของการวิเคราะห์แล้ว พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักวิภชวาท ประกาศคำสอนเพื่อความเข้าใจง่ายสำหรับผู้ฟัง โดยการจำแนกแจกแจงหลักธรรมได้อย่างดีเยี่ยม เพราะฉะนั้นลักษณะคำสอนของพุทธศาสนา จึงเป็นการวิเคราะห์ออกเป็นข้อ ๆ อย่างละเอียดสุขุม และประสานสัมพันธ์กันเป็นระบบที่แน่นแฟ้น เช่น ถ้าจะอธิบายธรรมะข้อใดข้อหนึ่งก็สามารถอธฺบายเกี่ยวโยงไปถึงธรรมะข้ออื่น ๆ ได้อย่างมีระบบ และสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ในบรรดาศาสนาอื่นๆ ที่มีการวิเคราะห์แล้ว พุทธศาสนานับว่าเป็นเด่นในเรื่องนี้.
วิธีคิดแบบวิภัชชวาท คำว่า วิภัชชวาท มาจาก วิภัชช + วาท วิภัชช แปลว่า แยกแยะ แบ่งออก จำแนก หรือแจกแจง ใกล้เคียงกับคำว่า วิเคราะห์ ส่วนคำว่า วาท แปลว่า การกล่าว การพูด การแสดงคำสอน ดังนั้นคำว่า วิภัชชวาท จึงแปลว่า การพูดแยกแยะ การพูดจำแนก หรือพูดแจกแจง หรือการพูดเชิงวิเคราะห์ ลักษณะสำคัญของการคิดและการพูดแบบนี้คือ การมองและแสดงความจริง โดยแยกแยะออกไห้เห็นแต่ละแง่แต่ละด้าน แต่ละประเด็นครบทุกแง่ทุกด้าน ทุกประเด็น ไม่ใช่จับเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาคิดวิเคราะห์แล้วสรุปครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด
การคิดแบบวิภัชชวาทนี้แบ่งออกเป็นลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. จำแนกในประเด็นของความจริง แบ่งย่อยออกเป็น 2 อย่างคือ
1.1 จำแนกตามประเด็นด้านต่าง ๆ ตามที่เป็นอยู่จริงของสิ่งนั้น ๆ คือมองหรือกล่าวตามความเป็นจริง ให้ตรงประเด็นและครบทุกประเด็น ไม่นำเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาสรุปในภาพรวม เช่น กล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่งว่าเขาดีหรือไม่ดี ก็ชี้ตามความเป็นจริงว่า เขาดีอย่างไร หรือเขาไม่ดีอย่างไร แต่ไม่เหมารวมว่าเขาดีทุกด้าน หรือไม่ดีทุกด้าน เป็นต้น
1.2 จำแนกโดยมองหรือแสดงความจริงของสิ่งนั้น ๆ ให้ครบทุกแง่ ทุกด้าน ทุกประเด็น คือ เมื่อมองหรือพิจารณาสิ่งใดไม่มองแคบ ๆ ไม่ติดอยู่กับส่วนเดียว แง่เดียว หรือไม่มองในด้านเดียวของสิ่งนั้น ๆ เช่น เขาดีในแง่ใด ด้านใด หรือไม่ดีในแง่ใด ด้านใด เป็นต้น เป็นลักษณะเสริมในข้อแรก
2. จำแนกโดยส่วนประกอบ คือวิเคราะห์แยกแยะออกไปให้รู้เท่าทันตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น ๆ เช่น มีองค์ประกอบย่อยอะไรบ้าง การคิดในลักษณะนี้ตรงกับวิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
3. จำแนกโดยลำดับ คือ แยกแยะวิเคราะห์เป็นไปตามลำดับขั้นตอน เช่น การคิดแบบอริยสัจ หรือการคิดแบบวิธีการวิทยาศาสตร์จะต้องคิดเป็นไปตามลำดับขั้นตอนคือ คิดวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น --> ตั้งสมมติฐาน --> ทดลอง --> วิเคราะห์ --> สรุปผล เป็นต้น
จากคุณ |
:
Inquirer
|
เขียนเมื่อ |
:
1 ต.ค. 52 15:26:36
|
|
|
|  |