 |
ความคิดเห็นที่ 28 |
ศาลเจ้าเล่าปูนเถ่ากง ปูนเถ่ากงในภาษาแต้จิ๋วนั้นหมายถึง ชุมชนดั้งเดิม ดังนั้นเล่าปูนเถ้ากงจึงหมายถึง เทพเจ้าที่คุ้มครองรักษาชุมชนดั้งเดิม หรือก็คือเจ้าที่ของท้องถิ่นนั้นๆ นั่นเอง" ลักษณะของศาลเจ้าเล่าปูนเถ่ากง เป็นสถาปัตยกรรมสกุลช่างแต้จิ๋ว แบบ ซี่เตี้ยมกิม (สี่ตำแหน่งทอง) หลักฐานตามจารึกบนระฆังชี้ว่า ศาลนี้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเต้ากวง ปีที่ 4 แห่งราชวงศ์ชิง หรือราว พ.ศ.2367 ตั้งอยู่ด้านหน้าซ้ายมือของศาลปัจจุบัน ศาลเจ้าเล่าปูนเถ่ากงในปัจจุบันเป็นศาลสร้างใหม่ จากบันทึกเรื่องราวการบูรณะศาลเจ้าระบุว่า ศาลแห่งนี้เป็นศาลที่ชาวจีนแต้จิ๋วในประเทศไทยซึ่งมีความศรัทธาอย่างแรงกล้า สร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2460 ด้วยเงินบริจาคจากคณะกรรมการหลายท่านและจากผู้มีจิตศรัทธากว่า 36,000 บาท ใช้เวลา 28 ปีจึงแล้วเสร็จ เทพประธานของศาลแห่งนี้ คือ เทพปูนเถ่ากง ตามความเชื่อโบราณเชื่อว่า แต่ละท้องที่มีเทพประจำ ชาวแต้จิ๋วเรียกโดยทั่วไปว่า ตี่เถ่าเล่าเอี๊ย หรือ เทพผู้เป็นใหญ่ ณ ที่นั้น ไม่ว่าชาวจีนจะอพยพไปอยู่ที่ใดก็ยังยึดมั่นความเชื่อนี้อยู่ จึงได้แกะสลักรูปเคารพของเทพตี่เถ่าเล่าเอี๊ยจากไม้ขึ้นมาเพื่อเคารพบูชา ภายหลังเรียกอย่างง่ายๆ ว่า ปูนเถ่ากง " คนที่มาไหว้ ส่วนมากขอในเรื่องทั่วๆ ไป ไม่ได้เฉพาะเจาะจง ส่วนมากจะขอให้ท่านคุ้มครอง สุขภาพดี งานการค้ารุ่งเรือง
แก้ไขเมื่อ 15 ก.พ. 53 20:17:39
จากคุณ |
:
เป็ดพะโล้ (เป็ดน้อยสีขาว)
|
เขียนเมื่อ |
:
15 ก.พ. 53 20:17:00
|
|
|
|
 |