 |
ความคิดเห็นที่ 22 |
จากประสบการณ์
การแสดงความเห็นแบบนี้ บทสรุปคือไม่มีบทสรุป เพราะมันไม่จบ
และการที่จะให้มีบทสรุปหรือจุดจบ ต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อนทุกๆคน
ผมมีวิธี...คุณสามารถทำเองได้ทุกๆคน และไม่ต้องคอยให้คนอื่นมาแนะนำว่าอันนี้ถูกอันนี้ผิด คุณคิดเองได้จากวิธีการเหล่านี้ และสามารถนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้แก้ไขปัญหาต่างๆในชีวิตของเราได้ตลอดเวลาครับ เพราะมันเป็นสากลครับ
-------------------------------
-อันดับแรกเราต้องทำใจให้เป็นกลางๆจริงๆซะก่อน ถ้าใจเราไม่เป็นกลางมีอารมณ์ชอบไม่ชอบเข้ามาเกี่ยวข้อง การตัดสินใจอะไรก็จะผิดพลาด เป็นไปตามอารมณ์ของเราเองตลอดเวลา เราต้องทำใจให้นิ่งๆและเป็นกลางๆไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง วิธีที่ดีที่สุดคือการฝึกสมาธิภาวนา เพื่อทำใจให้หยุดให้นิ่งเป็นกลางๆ (ผู้ที่ฝึกสมาธิภาวนามามากจึงมีปัญญามากสามารถตัดสินใจอะไรได้อย่างถูกต้องแม่นย้ำเสมอ) ถ้าใจเราไม่นิ่งมีอารมณ์ชอบไม่ชอบเข้ามาเกี่ยวข้อง การตัดสินใจในเรื่องนั้นๆก็จะเอียงไปตามอารมณ์นั้นๆทันที...
-และขอให้ซื่อตรงต่อตัวเอง คนอื่นไม่รู้แต่เราต้องรู้ใจเราเองว่าเป็นเช่นไร เราต้องยอมรับความเป็นจริงให้ได้(แม้จะไม่ถูกใจเราแต่ถ้ามันถูกต้องเราก็ต้องยอมรับได้) ถ้าเรายอมรับความเป็นจริงได้เมื่อไหร่ ใจเราจะเป็นอิสระในทันที จะมีความมั่นใจในการตัดสินใจมากขึ้นครับ
------------- วิธีที่ 1."การสังเกตุ"
2."การรู้จักเปรียบเทียบ"
3."การวิเคราะห์"
4."บทสรุป"
---------------------------------
1."การสังเกตุ" คือการเฝ้ามอง การพิจารณา สิ่งที่ตั้งใจเอาไว้ ทั้งการเห็น ได้ยิน ได้สัมผัส สิ่งต่างๆแล้วเอามาเปรียบเทียบวิเคราะห์ต่อไป
การสังเกตุแล้วจะต้องทำร่วมกันทั้ง4ข้อจึงจะสมบูรณ์
2."การเปรียบเทียบ" คือ การเอาของหรือสิ่ง2สิ่งขึ้นไป มาเปรียบเทียบกัน ถ้าเรามีของหรือสิ่งของเพียง1อย่างเราจะเปรียบเทียบไม่ได้ว่า สิ่งนี้ดีกว่าหรือไม่ดีอย่างไร เพราะฉะนั้นเราจะต้องมีสิ่ง2สิ่งขึ้นไปจึงจะรู้และแยกแยะเปรียบเทียบได้ว่าสิ่งนี้ดีกว่าสิ่งนั้น เช่น คนนี้สูงจัง(เมื่อเทียบกับเรา),คนนี้ขยันจัง(เมื่อเทียบกับนาย ก.),คนนี้เก่งจัง(เมื่อเทียบกับนาย ข.) เราจะรู้ถึงข้อแตกต่างได้จากการเปรียบเทียบเสมอ
ถ้าเราไม่มีสิ่งเปรียบเทียบเราจะไม่เห็นข้อแตกต่าง เช่น รูปถ่ายคนยืนอยู่ โดยไม่มีอะไรเลย เราจะไม่รู้ว่าเค้าสูงประมาณเท่าไหร่ ,แต่ถ้าเค้าไปยืนอยู่หน้าประตูเราจะเห็นข้อแตกต่างระหว่างประตูกับคน ว่าสูงต่ำเท่าไหร่โดยประมาณ เป็นต้น
นี้คือการสังเกตุและเปรียบเทียบ
3."การวิเคราะห์" คือการเอาข้อมูลต่างๆรอบด้าน มาแยกแยะเปรียบเทียบ รายละเอียดต่างเพื่อมาหาบทสรุปให้ได้
การประมวลผลข้อมูลทั้งหมดหลังจากได้รับข้อมูลมาแล้ว
อันนี้อธิบายยากพอสมควร ต้องอาศัยประสบการณ์ด้วย
4.บทสรุป เมื่อเราทำทั้ง3ข้อเรียบร้อยแล้วเราก็ต้องสรุปว่าอย่างไรต่อไป
------------------------ ตัวอย่างเช่น
-คำว่า "โลภบุญ"
อันดับแรกเราต้องตัดเอาอารมณ์ต่อว่า ที่ใส่เข้าไปออกมาก่อน
เราก็จะได้คำว่า "อยากได้บุญ ,อยากทำบุญ"
ทีนี้การอยากได้บุญนี้ผิดไหม? เราก็มาเปรียบเทียบกับหลักการในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา การให้ทานเป็นการทำความดีอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นวิเคราะห์ได้ว่า การอยากได้บุญ ก็เป็นการทำความดีอยากหนึ่ง แม้จะมีความอยากเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ไม่ได้เสียหายอะไร เป็นการอยากทำความดี ซึ่งควรสนับสนุนครับ
เป็นต้น
-------------
ถ้าเราตัดเอาอารมณ์ ออกไป แล้วใช้หลักการดังกล่าวแล้วเราจะได้บทสรุปที่ถูกต้องมากขึ้น ไม่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
-------
- อีกตัวอย่างนึง
"หลักของธรรมกายน่ะเหรอ บริจาคเยอะได้บุญเยอะ มีเข็มกลัดบอกระดับยังกะ พนักงานขายตรง "
เราลองตัดอารมณ์ต่างๆออกเอาประเด็นสำคัญก่อน ก็จะได้คำว่า "บริจาคเยอะได้บุญเยอะ "
ถ้าเราสังเกตุในคำนี้เราก็จะได้คำตอบในตัวอยู่แล้ว เมื่อทำบุญเยอะก็ต้องได้บุญเยอะ และถ้าเราเปรียบเทียบกับการทำบุญน้อย เราก็ต้องได้บุญน้อยกว่า นี้คือความเป็นจริง ถ้าเรายอมรับความจริงได้ ทำเยอะก็ต้องได้เยอะ นี้คือหลักสากล (เราวิเคราะห์เฉพาะที่กล่าวมาไม่ได้เอาปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องด้วยนะครับ เพราะคำพูดมีแค่นั้น ส่วนหลักการทำบุญน้อยแต่ได้บุญมากนั้นหลวงพ่อก็สอนเอาไว้แต่ไม่ขอพูดถึง)
ดังที่ผมเคยบอกเอาไว้ว่า "เราจะยอมรับความเป็นจริงได้แค่ไหน" เท่านั้นเอง ถ้าใจเรายอมรับความเป็นจริงได้ ใจเราจะเป็นอิสระ ไม่ติดขัด และมีความมั่นใจมากขึ้น
เป็นต้น
ให้ใช้หลักการนี้กับการตัดสินใจในทุกๆเรื่องได้เลยครับ
(เอาแค่นี้ละกันมันยาวละครับ) ------------------------- "ถ้าคุณไม่ซื่อตรงต่อตัวเองคุณจะไม่ได้คำตอบที่ถูกต้อง"
ลองพิจารณาดูนะครับ
ขอบคุณครับ
------------------- ดูรูปด้านล่างนี้เราจะไม่รู้ขนาดว่ามีขนาดเท่าใดเพราะไม่มีสิ่งเปรียบเทียบได้
จากคุณ |
:
กรรไกรรัตนะ
|
เขียนเมื่อ |
:
4 เม.ย. 53 15:51:30
|
|
|
|
 |