|
ความคิดเห็นที่ 1 |
ริส เดวิดส์ ลาออกจากการเป็นข้าราชการพลเรือนประเทศศรีลังกา เมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๒ (พ.ศ. ๒๔๑๕) เพราะความขัดแย้ง ในเรื่องการปฏิบัติงาน เนื่องมาจากเขาเสนอให้รัฐบาลจัดทุ่งหญ้าปศุสัตว์ แก่เกษตรกร แต่เจ้าหน้าที่สูงกว่าเขาไม่เห็นด้วย และรัฐบาลอังกฤษประจำศรีลังกาก็ไม่เห็นด้วย ตามเจ้าหน้าที่ชั้นสูง เขาได้ย้ายกลับมาที่ประเทศอังกฤษ ได้รับตำแหน่ง ทนายความ แต่การปฏิบัติงานของเขาไม่ก้าวหน้านัก เนื่องจากเขาทุ่มเทให้กับงานด้านการศึกษาพระพุทธศาสนาและภาษา บาลี เขาได้ศึกษางานของชิลเดอร์(โรเบิร์ท ชิดเดอร์), เฮอร์มาน โอลเดนเบอร์ก, วิกโก ฟอสบอลล์, ยอร์จ เทอร์เนอร์ และคนอื่นๆ พร้อมกับการค้นคว้าด้วยตัวเอง ด.ร. ริชาร์ด มอร์ริส กล่าวปราศัยในนามประธานสมาคมนิรุกติศาสตร์ ใน พ.ศ. ๒๔๑๘ ว่า นับเป็นตัวอย่างที่ดีงามในความมีอัธยาศัยกว้างขวางและความละเอียดรอบคอบใน งานที่กระทำ…"
ริส เดวิดส์ ได้ศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาอย่างละเอียด รวมทั้งการค้นคว้าศึกษาภาษาบาลีอย่างไม่หยุดยั้ง ในที่สุด เขาก็มีความเชี่ยวชาญในภาษาบาลี -ภาษาที่เป็นกุญแจไขเข้าสู่ความเข้าในในพระพุทธธรรมฝ่ายเถรวาท แม้เขาจะได้รับทุกขเวทนาจากไข้มาเลเรียอย่างร้ายแรง จากป่าของศรีลังกา เขาก็ไม่ย่อท้อต่อการศึกษา เขาได้รวบรวมเกี่ยวกับ คัมภีร์ทีปวงศ์ มหาพงศาวดารประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาของศรีลังกา รองจากมหาวงศ์ จากศรีลังกามาด้วย เมื่อคราว จากประเทศศรีลังกามา ซึ่งเฮอร์มาน โอลเดนเบอร์ก ปราชญ์ชาวพุทธชาวเยอรมัน เมื่อคราวทำงาน ในสำนักงานกิจการอินเดีย ที่กรุงลอนดอน ได้มาหารือกับ ริส เดวิดส์เรื่องการจัดทำคัมภีร์ทีปวงศ์ และเขาก็ได้รับสรรพตำรามากมายเกี่ยวกับคัมภีร์ ทีปวงศ์ จากริส เดวิดส์ โอลเดนเบอร์กรู้สึกทึ่ง ในความมีใจกว้างของเขา
หนังสือ The Ancient Cions and Measures of Ceylon เป็นหนังสือเล่มแรกของริส เดวิดส์ พิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ. ๒๔๒๐ ปีต่อมา "สมาคมส่งเสริมความรู้ศาสนาคริสเตียน" (?) ได้จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ Manual of Buddhism ของริส เดวิดส์ โดยได้จัดพิมพ์ในชุด "หนังสือที่ไม่ใช่ศาสนาคริสเตียน" ของสมาคม หนังสือเล่มนี้พิมพ์ครั้งแล้วครั้งเล่า ครั้งที่ ๒,๓ พิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ ริส เดวิดส์ เขียนอธิบายคำว่า พระนิพพานไว้ว่า "…คำว่า "พระนิพพาน" มิได้หมายความว่า "การทำลายหลังความตาย"(Annihilation) ดังเช่นที่มักมีคนเข้าใจกันผิดๆ แต่หมายถึง "ภาวะทางศีลธรรมและภาวะทางจิตภาพที่บุคคลสามารถบรรลุได้ในปัจจุบันชาตินี้…" อีก ๒ เดือนต่อมา ด.ร.แฟรงเฟอร์เตอร์ ได้พิมพ์เผยแพร่เอกสารที่คัดลอกมาจากคัมภีร์สังยุตตนิกาย ซึ่งอธิบายคำว่า "พระนิพพาน" ว่า ได้แก่ "การดับกองไฟ ๓ กอง คือ ไฟโลภะ โทสะ โมหะ" ข้อความที่ ด.ร.แฟรงเฟอร์เตอร์ ได้คัดลอกมานี้ เป็นเครื่องยืนยันการอธิบายคำว่า "พระนิพพาน" ของริส เดวิดส์ ว่าเป็นการอธิบายที่ถุกต้อง ข้อนี้เป็นผลส่งให้ริส เดวิดส์ มีชื่อเสียงฟุ้งขจร ทำให้เขามีโอกาสได้สัมพันธ์กับปวงปราชญ์มากยิ่งขึ้น เท่ากับเปิดประตูทองให้เขาได้มีโอกาสทำการเผยแพร่พระพุทธ ศาสนามากยิ่งขึ้นๆ
ปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ริด เดวิดส์ แปลคัมภีร์ชาดกนิทานกถาเป็นภาษาอังกฤษพรอ้มกับเขียนคำนำ "เรื่องประวัติศาสตร์วรรณ กรรมเรื่องอดีตชาติ" หนังสือนี้เขาตั้งชื่อว่า "Buddhist Birth Story" "…หนังสือนี้เล่มนี้กล่าวได้ว่า เป็นปฐมบทการแปลคัมภีร์ชาดกของฟอสบอลล์ในกาลต่อมา ซึ่งศาสตราจารย์ อี.บี. โคเวลล์ เป็นบรรณาธิการในการพิมพ์ รวมเป็นหนังสือ ๖ เล่ม…" นางสาว ไอ.บี.ฮอร์เนอร์ เขียนอธิบาย
ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ เขา(ริส เดวิดส์) แปล "พระสูตรของพระพุทธศาสนา" เป็นภาษาอังกฤษ มอบให้ศาสตราจารย แมกซ์ มึลเลอร์ นำไปจัดพิมพ์เผยแพร่ ในชุด Sacred Books of the Buddhist Series ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๒-๒๔๒๘ ริส เดวิดส์ กับ เฮอร์มาน โอลเดนเบอร์ก ช่วยกันแปลคัมภีร์พระวินัยปิฎก ได้ ๓ เล่ม เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งได้จัดพิมพ์เผยแพร่ในชุด Sacred Books of the Buddhist Series เช่นกัน ผลงานต่อมาของริส เดวิดส์ คือ การแปลคัมภีร์มิลินทปัญหา ซึ่งนางสาว ไอ.บี. ฮอร์เนอร์ได้กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ว่า "…บทนำ ๒ บท มีคุณค่ามหาศาล อ่านแล้วได้กำไรชีวิตแม้ในยุคปัจจุบัน…" ริส เดวิดส์ กล่าว่า มิลินทปัญหา เป็นหนังสือที่แต่งขึ้นทางอินเดียภาคเหนือ ราวแรกตั้งคริสต์ศักราช (ประมาณ พ.ศ. ๕๔๓) ในเวลาที่พระพุทธศาสนายังไม่เกิดแตกแยกเป็นนิกายมหายาน ข้างใายเหนือ และนิกายเถรวาทข้างฝ่ายใต้ และว่า มิลินทปัญหานี้ เดิมคงแต่งขึ้นในภาษาสันสกฤต หรือภาษาปรากฤตเช่นเดียวกับคัมภีร์อื่นๆ ที่รจนาขึ้นในอินดียภาคเหนือ แต่ฉบับเดิมสาบสูญไปเสียแล้ว ฉบับที่สืบมาจนบัดนี้นั้น เป็นฉบับที่ชาวลังกาได้แปลเป็นภาษาบาลีไว้
ภาย หลังจากการศึกษา และสร้างงานด้านคัมภีร์บาลีมากหลายแล้ว ริส เดวิดส์ ได้สร้างผลงานที่นับว่ามีคุณูปการมาก ต่อการศึกษาภาษาบาลี และพระพุทธศาสนาในประเทสอังกฤษ เขาได้ร่วมกับปราชญ์ชาวพุทธหลายคน ได้จัดตั้ง "สมาคมบาลีปกรณ์" (ประวัติความเป็นมาของสมาคมบาลีปกรณ์โดยละเอียด จะได้กล่าวถึงในภายหลัง) ขึ้น ในปี ค.ศ. ๑๘๘๑ (พ.ศ.๒๔๒๔) เขาได้กล่าวถึงจุดประสงค์ในการจัดตั้งว่า "…เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่นักศึกษาทั้งหลาย ได้เข้าถึงคลังมหาสมบัติแห่งคัมภีร์วรรณกรรมของพระพุทธศาสนายุคปฐมโพธิกาล ซึ่งปัจจุบันยังมิได้จัดพิมพ์ และยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะยังคงจารึกไว้ในคัมภีร์ทั้งหลาย ที่กระจัดกระจายเก็บไว้ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และห้องสมุดสาธารณชนในทวีปยุโรป…" ด.ร.ริชาร์ด มอร์ริส กล่าวไว้ว่า "…มีปราชญ์ภาษาบาลีมากหลายในประเทศนี้ แต่ ริส เดวิดส์ เท่านั้นที่สร้างองค์กรการศึกษาภาษาบาลีขึ้นในตะวันตก ปูทางให้พระพุทธศาสนากลายเป็น "คำพูดประจำ ครอบครัว" (หมายถึง ให้พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่คนยุโรปยอมรับนับถือ โดยปูทางเรื่องความเข้าใจทางด้านภาษาไปก่อน) แสดงคุณค่าของพระพุทธศาสนาให้เป็นภาษาแห่งความรู้ประเภทพิเศษ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางจิตภาพหรือทางศาสนาต่อมนุษย์ชาติ…" คณะกรรมการชุดแรกของสมาคมบาลีปกรณ์ ได้แก่ (๑) วิกโก ฟอสบอลล์ (๒) เฮอร์มาน โอลเดนเบอร์ก (๓) เอมีล เซนาร์ท (๔) ริชาร์ด มอร์ริส (๕) ริส เดวิดส์
ในช่วงแรก งานของการแปลคัมภีร์ ของสมาคมบาลีปกรณ์ เป็นของ ริส เดวิดส์ เกือบทั้งหมด ภายหลังเขาได้แต่งงาน กับนางคาโรไลน์ ออกุสตา ฟอเรย์ ซึ่งต่อมาเป็น นางคาโรไลน์ ริส เดวิดส์ ได้เป็นกำลังสำคัญให้กับเขา และนางคาโรไลน์ ก็สามารถสืบทอดความเป็นปราชญ์ จากสามีของเธออย่างเต็มที่ และช่วยงานของเขาอย่างเต็มความสามารถ
คัมภีร์พระพุทธศาสนาภาษาบาลี ๒ เล่มแรก ได้รับการจัดพิมพ์ขึ้น โดยทุนพระราชทานของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว จากประเทศไทย ที่สมาคมบาลีกรณ์ได้จัดพิมพ์ในชุด Sacred Books of the Buddhist Series และและเล่มที่ ๓ และ เล่มที่ ๔ ก็ได้จัดพิมพ์ในทุนพระราชทานของพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เช่นเดียวกัน แม้การจัดพิมพ์พจนานุกรม บาลี-อังกฤษ(Pali-English Dictionary) ก็ได้จัดพิมพ์ในทุนพระราชทานของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว โดยได้ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ส่งไปถึงสมาคมบาลีปกรณ์ ในการจัดพิมพ์ ถึง ๕๐๐ ปอนด์
หลังจากนั้น ริส เดวิดส์ ก็ได้ทำงานด้านการแปลคัมภีร์ภาษาบาลีและพระพุทธศาสนาอีกมาก เช่น การแปลและจัดพิมพ์คัมภีร์ทีฆนิกาย (Dialogue of the Buddha) ในหนังสือชุด Sacred Books of the Buddhist Series จนกระทั่ง หลังจากการทำงานอย่างหนัก ในการศึกษาพระพุทธศาสนาและภาษาบาลี แะการจัดพิมพ์คัมภีร์ภาษาบาลีในยุคแรกๆ มากมาย ริส เดวิดส์ ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน, M.A., Ph.D.,D.,Sc.,D.litt และ LL.D. สมาชิกสมาคมวิชาการมากหลาย และเป็นบุรุษอาชาไนย แห่งโลกพระพุทธศาสนาตะวันตก ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕
(เก็บความ จาก เมธีตะวันตกชาวพุทธ เล่ม ๑ โดย พ.อ. นวม สงวนทรัพย์)
จากคุณ : p.p_upasmo - [ 3 ส.ค. 46 13:31:05 ]
จากคุณ |
:
aero.1
|
เขียนเมื่อ |
:
14 พ.ค. 53 23:59:06
|
|
|
|
|