 |
ความคิดเห็นที่ 15 |
โหราศาสตร์ ๑. การพยากรณ์ ดวงชาตาแบบธรรมดา ของบุคคลทั่วไปโดยถือเอาเวลาเกิดผูกดวงชาตาขึ้น
๒. การพยากรณ์ ตอบปัญหาปัจจุบัน เรียกว่า กาลชาตา ผู้พยากรณ์จะยึดถือเวลาในขณะที่สอบถาม ตั้งคำถามขณะนั้นเป็นเวลาผูกดวงชาตา
๓. การพยากรณ์ดวงเมือง และเหตุการณ์ความเป็นไปของโลกดูว่าอิทธิพลของการโคจรของดวงดาว จะส่งผลให้เกิดสงคราม หรือความเจริญทางอุตสาหกรรม กสิกรรม หรือไม่ สำหรับโหราศาสตร์ไทย มีวิวัฒนาการมาจากโหราศาสตร์โบราณในสมัยพุทธกาล คือ เมื่อประมาณ ๒๕๐๐ ปีมาแล้ว ศาสตร์นี้เดิมเป็นที่แพร่หลายในหมู่ชนชั้นวรรณะพราหมณ์ เพราะพวกพราหมณ์ ถือว่าตนเป็นสื่อ หรือ ตัวแทน ของเทพเจ้าบนสวรรค์บรรดากษัตริย์ในสมัยนั้นมักจะตั้งพราหมณ์เป็นที่ปรึกษาราชการ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ จากศิลาจารึก วัดป่ามะม่วง คนไทยเริ่มรู้จักวิชาโหราศาสตร์อย่างจริงจังในสมัยสุโขทัย มีการศึกษาการเคลื่อนย้ายของดวงดาว, การดูดวงพยากรณ์ วิชาเหล่านี้จะแพร่หลายในหมู่เจ้านาย หรือ พระสงฆ์ ที่มีความรู้สูงๆ จะเห็นว่าในราชสำนักจะมีตำแหน่ง พระโหราธิบดี แบ่งเป็น โหราหน้า คือโหรผู้ทำหน้าที่การราชพิธี พยุหยาตรา, พยากรณ์การศึก, วางดวงพิชัยสงคราม ,วางพระฤกษ์สำคัญ รวมทั้งทำหน้าที่พยากรณ์ พระเคราะห์เจ้านาย โหราหลัง มีหน้าที่ประกอบพิธีตรียำปวาย(พิธีโล้ชิงช้า) วิชาโหราศาสตร์ไทยเจริญมาเป็นลำดับ ถึงกรุงศรีอยุธยา รุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าปราสาททอง และ พระนารายณ์มหาราช ผู้เป็นบิดาของ ศรีปราชญ์ กวีเอกและเป็นผู้แต่งตำราเรียน ภาษาไทยเล่มแรก คือ จินดามณี
พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ที่ทรงเชี่ยวชาญในวิชาโหราศาสตร์มีหลายพระองค์เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีเป็นผู้ทรงกำหนดวางดวงเมืองกรุงเทพมหานครฯ และได้ทรงแบ่งยุค เป็นคำพยากรณ์ไว้ทั้งหมด ๑๐ยุค โดยทรงใช้หลักการโคจรของดาวพระเคราะห์ใหญ่ ๒ องค์ คือดาวพฤหัสและ ดาว เสาร์ ซึ่งก็ได้มีเหคุการณ์ต่างเกิดขึ้นจริงตามที่ได้ทรงพยากรณ์ไว้ เช่น การที่ประเทศไทยต้องเสียดินแดน บางส่วนให้ กับ ประเทศ อังกฤษ และ ฝรั่งเศสไป ตรงกับคำพยากรณ์ ที่ทรงให้ไว้ในยุค จำแขนขาด เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำนายเกี่ยวกับการเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอจ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้อย่างแม่นยำถูกต้อง ในสมัยนี้การศึกษาวิชาโหราศาสตร์ เป็นไปอย่างกว้างขวาง ประกอบกับความรู้ทางวิชาการที่มีมากขึ้น ทำให้การศึกษาและการพยากรณ์เป็นไปอย่างมีหลักการ มีความถุกต้องมากขึ้น จึงเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไป
ค้นคว้าและเรียบเรียงจากตำราโหราศาสตร์ ของบรมครูโหราศาสตร์หลายท่าน หนังสือ ของท่าน อาจารย์ เทพย์ สาริกบุตร อาจารย์ พ.อ.(พิเศษ) เอื้อน มนเทียรทอง
จากคุณ |
:
เทพเฮเดส
|
เขียนเมื่อ |
:
19 ส.ค. 53 13:42:12
|
|
|
|
 |