Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
"บอกผิด สอนเพี้ยน ด้วยไม่รู้ บาปหนักไหม" เรียนถามท่านฐานาฐานะค่ะ  

จาก การสนทนาในกระทู้เดิม
  http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y9629636/Y9629636.html

ที่มีเนื้อหาโดยรวมเกิดจากความห่วงใย ในการเสนอและเผยแพร่ พระธรรมที่ผิดไปจากพระไตรปิฏกซึ่ง เราชาวเถรวาทให้ความสำคัญ และยึดถือกันว่าเป็นหลักฐานที่เป็นตัวแทนพระศาสดา

ในกระทู้นั้นมีข้อความที่หลายท่านเห็นว่า น่าตำหนิ ไม่ว่าจะกล่าวขึ้นมาเอง หรือกล่าวตามผู้อื่น

แต่ข้อความหรือคำสอน  ลักษณะนั้น ก็ยังคงพบเห็นได้ในหนังสือธรรมะหลายเล่ม   มีวางขายทั่วไปมากมาย

ก็ทำให้ข้าพเจ้าได้เกิดความตระหนักกังวลขึ้นมาว่าขณะที่เรา กำลัง  รู้สึกถึงการกระทำของผู้อื่นว่าน่าตำหนิ แต่เมื่อทบทวนย้อนดูตัวเอง   ข้าพเจ้าเองก็น่าจะเคย เป็นผู้กล่าวตาม  และได้เผยแพร่ข้อความผิดๆ ไปบ้างไม่มากก็น้อย

จึงขออนุญาตเรียนถามท่าน ฐานาฐานะ

ว่า ถ้าข้าพเจ้าได้ศึกษาธรรมะจาก    อาจารย์ ท่านใดก็ตาม แล้วข้าพเจ้าก็เชื่อถือศรัทธาอย่างแรงกล้า และก็ได้เผยแพร่ธรรมนั้นออกไป ด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยไม่ทราบว่า เป็นคำสอนที่ผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ  และผลการปฏิบัติ ก็ยังไม่ก้าวหน้าขนาด เห็นธรรมในระดับสูงๆ หรือมีอำนาจจิตพิเศษใดๆ


การที่ข้าพเจ้ากล่าวตามคำสอนที่ผิด นั้น เป็นความผิดร้ายแรงเพียงใด บาปกรรมหนักหนาเพียงไร


ท่ามกลางสื่อธรรมะที่มีหลายหลาย   สำนักปฏิบัติธรรมก็มากมายหลายแนวทาง
นักศึกษาธรรมะควรมีท่าทีที่ถูกต้องอย่างไรคะ จึงจะไม่เดินไปในทางมิจฉาทิฏฐิ  และไม่ชักจูงผู้อื่นให้มีมิจฉาทิฏฐิตามไปด้วย


ขอบพระคุณมากค่ะ

ท่านอื่นจะกรุณาช่วยตอบ ก็ขอบพระคุณมากค่ะ

จากคุณ : เอิงเอย
เขียนเมื่อ : 7 ก.ย. 53 01:45:20



 
ความคิดเห็นที่ 161

ขอเป็นกำลังใจให้คุณระนาดเอกผลิตผลงานออกมาเร็วๆ ครับ

จะตั้งตาคอยชมด้วยคนครับ

...........

จากคุณ : ซุ้มเฟื่องฟ้า
เขียนเมื่อ : 17 ก.ย. 53 14:03:27

 
ความคิดเห็นที่ 162

เรียนถามท่านฐานาฐานะว่า ทศพลญาณนี้ จะเกิดกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นเหรอคะ พระปัจเจกพระพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวก  จะมีได้หรือไม่คะ

แล้วที่เราได้ยินว่า ท่านนั้น ท่านนี้ระลึกชาติได้บ้างล่ะ  ระลึกกรรมของผู้อื่นได้บ้างล่ะ  อย่างนี้ เรียกว่าญาณชนิดเดียวกันเหมือนในทศพลญาณไหมคะ



ข้าพเจ้าได้เห็น ญาณที่ 1ชื่อ ฐานาฐานะญาณ  พ้องกันกับชื่อท่านฐานาฐานะ  (เพิ่งทราบว่ามีญาณชื่อนี้ด้วย)  เป็นความบังเอิญ หรือว่า ไม่บังเอิญค่ะ  :)

ขอบพระคุณ มากค่ะ

จากคุณ : เอิงเอย
เขียนเมื่อ : 17 ก.ย. 53 18:21:32

 
ความคิดเห็นที่ 163

             ตอบ คุณเอิงเอย ความคิดเห็นที่ 162 เมื่อ 17 ก.ย. 53 18:21:32
             คำถามว่า
                  ทศพลญาณนี้จะเกิดกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นเหรอคะ
                  พระปัจเจกพระพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวก จะมีได้หรือไม่คะ    
             ตอบว่า ทศพลญาณนี้ ประกอบด้วยญาณอันเป็นกำลัง 10 ประการ
             ใน 10 ประการนี้ ญาณอย่างหนึ่งไม่ทั่วไปแก่สาวก
             พระญาณนั้นคือ อินทริยปโรปริยัตตญาณ
             สำหรับพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ไม่ใช่สาวก จะมีพระญาณนี้หรือไม่
             ข้อนี้ ไม่ทราบ.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
             ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             มาติกา
[บางส่วน]
             อินทริยปโรปริยัติญาณ [ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย] ๑    
อาสยานุสยญาณ [ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย] ๑
ยมกปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์] ๑ มหากรุณาสมาปัตติญาณ ๑
สัพพัญญุตญาณ ๑ อนาวรณญาณ ๑
             ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ญาณ ในญาณทั้ง ๗๓ นี้ ญาณ ๖๗
[ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก ญาณ ๖ [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก
เป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=0&Z=94&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=0

             คำถามว่า
                  แล้วที่เราได้ยินว่า ท่านนั้น ท่านนี้ระลึกชาติได้บ้างล่ะ
                  ระลึกกรรมของผู้อื่นได้บ้างล่ะ อย่างนี้ เรียกว่าญาณชนิดเดียวกัน
                  เหมือนในทศพลญาณไหมคะ
             ตอบว่า พระอรหันตสาวกบางรูป ก็มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
แต่ไม่เรียกว่า กำลัง อาจเป็นเพราะระลึกได้จำกัดบ้าง ระลึกตามลำดับขันธ์บ้าง
เป็นต้น.

             คำถามว่า
                  ญาณที่ 1 ชื่อ ฐานาฐานญาณ พ้องกันกับชื่อท่านฐานาฐานะ  
                  (เพิ่งทราบว่ามีญาณชื่อนี้ด้วย)  เป็นความบังเอิญ หรือว่า ไม่บังเอิญค่ะ
             ตอบว่า น่าจะเปลี่ยนคำถามว่า
                  ชื่อฐานาฐานะ ไปพ้องกันกับชื่อพระญาณที่ 1 ชื่อ ฐานาฐานญาณ
                  (เพิ่งทราบว่ามีญาณชื่อนี้ด้วย)  เป็นความบังเอิญ หรือว่า ไม่บังเอิญค่ะ
             เป็นความตั้งใจครับ ไม่ใช่บังเอิญ
             แปลว่า สิ่งที่เป็นไปได้ และสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
             ความหมายที่พอเป็นแนวทางของคำนี้ได้บางส่วน มีมาในพระสูตรชื่อว่า
พหุธาตุกสูตร
             ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ
ด้วยเหตุเท่าไร ฯ
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
             พหุธาตุกสูตร (๑๑๕)
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3432&Z=3646#245
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=234

แนะนำ :-
             อ่านและค้นพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม
             อรรถกถาชาดกทั้งหมด ๕๔๗ เรื่อง
             พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
             พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/
             พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม  
             สารบัญประเภทธรรม
http://84000.org/tipitaka/dic/d_type_index.php?     
               
             หมวดหนังสือธรรมะ
http://84000.org/tipitaka/book/
             เรื่อง ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html
             เรื่อง สิ่งที่เป็นมงคล (มงคล ๓๘)
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn06.html
             เรื่อง ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html
                     เรื่อง
                          ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
                          การใช้ทรัพย์ ๕ ประการ
                          มหาทาน
                          ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๑
                          ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๒
                          กาลทาน ๕ อย่าง
                          ให้ทานในที่ใดมีผลมาก
                          ทานที่เจาะจงและไม่เจาะจง ๒๑ ประเภท
                          สังฆทาน ๗ ประเภท
                          ถวายภิกษุรูปเดียว ก็เป็นสังฆทาน
                          ทัททัลลวิมาน-แสดงอานิสงส์ของสังฆทาน            
                          เรื่องเศรษฐีเท้าแมว
                          ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาทาน ๔
                          อานิสงส์ของทาน ๕ อย่าง
                          ทานที่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ๖
                          ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ๑
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html

แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 53 07:39:27

จากคุณ : ฐานาฐานะ
เขียนเมื่อ : 18 ก.ย. 53 07:26:02

 
ความคิดเห็นที่ 164

มาลงชื่อครับ : )
บุ๊คมาร์คไว้อ่านวันหลัง

จากคุณ : ปล่อย
เขียนเมื่อ : 18 ก.ย. 53 22:20:53

 
ความคิดเห็นที่ 165

ให้สังเกตเป็นความรู้ต่อไปว่า ผู้ที่ได้ศึกษาพระไตรปิฎกหลายท่านจะมีความรอบคอบรัดกุมแม้ในการเพ่งเล็งคำถาม แม้ในการคิด แม้ในการใช้เหตุผล

แม้ในการทักท้วง

อนึ่งนั้น ผู้ที่จะมีคุณลักษณะให้น่าสังเกตน่าจดจำนำไปใช้ดังว่า จะต้องเป็นผู้ศึกษาพระไตรปิฎกแล้ว ไม่ถูกงูกัด
เมื่อไม่โดนงูกัด การศึกษาพระไตรปิฎกย่อมให้คุณแก่เขาแต่ถ่ายเดียว ไร้โทษภัย
ความเป็น "ตน" ของเขาย่อมลดลง เบาบางลง ด้วยอานุภาพแห่งการศึกษานั้น เขาจึงเห็นในสิ่งที่พวกถูกงูกัด ไม่เห็น หรือมองข้ามไป

กรณี "น่าจะเปลี่ยนคำถามว่า .." ข้างต้น เป็นตัวอย่างหนึ่งของผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฎกแล้วไม่ถูกงูกัด

บุคคลตัวอย่างผู้หนึ่งที่ศึกษาพระไตรปิฎกว้างขวาง ไม่ถูกงูกัด เป็นผู้ประเสริฐ ได้แก่ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ดังจะเห็นได้จากงานนิพนธ์ของท่านนั้น ไม่มีตัวตนของผู้เขียนอยู่ในงานนั้นเลย

การตอบกระทู้ของผู้ไม่ถูกงูกัดข้างต้น เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้หาได้ยาก ไม่มีตัวตนของเขาอยู่เลย

เรียนรู้ไว้!

จากคุณ : ระนาดเอก
เขียนเมื่อ : 18 ก.ย. 53 22:40:56

 
ความคิดเห็นที่ 167

ผู้ใดยึดในทุกข์...
ก็เหมือนจับงูเห่าด้านหัว
ผู้ใดยึดในสุข...
ก็เสมือนจับงูเห่าข้างหาง
และจะโดนมันแว้งกัดเอาในภายหลัง
หลวงพ่อชาท่านว่าไว้อย่างนั้น

จากคุณ : Yogi Playgirl
เขียนเมื่อ : 19 ก.ย. 53 03:56:19

 
ความคิดเห็นที่ 168

"อนึ่งนั้น ผู้ที่จะมีคุณลักษณะให้น่าสังเกตน่าจดจำนำไปใช้ดังว่า จะต้องเป็นผู้ศึกษาพระไตรปิฎกแล้ว ไม่ถูกงูกัด
เมื่อไม่โดนงูกัด การศึกษาพระไตรปิฎกย่อมให้คุณแก่เขาแต่ถ่ายเดียว ไร้โทษภัย
ความเป็น "ตน" ของเขาย่อมลดลง เบาบางลง ด้วยอานุภาพแห่งการศึกษานั้น เขาจึงเห็นในสิ่งที่พวกถูกงูกัด ไม่เห็น หรือมองข้ามไป"



ข้าพเจ้าปรารถนาจะมีคุณลักษณะเช่นนี้

และข้าพเจ้าจะทำให้ได้ !!!

จากคุณ : เอิงเอย
เขียนเมื่อ : 19 ก.ย. 53 14:01:27

 
ความคิดเห็นที่ 169

ขอบพระคุณมากครับ

คงเสียใจแย่ถ้าไม่ได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้ _/\_

จากคุณ : ฮิมาวาริซซัง
เขียนเมื่อ : 20 ก.ย. 53 01:58:24

 
ความคิดเห็นที่ 170

ขอตอบพี่เอิงเอย แบบคร่าวๆ ก่อนละกันครับ พอดียังไม่ค่อยมีเวลาเขียนยาวๆ (รวมถึงอ่าน คห.อื่นๆ ในกระทู้) แต่ก็จะพยายามตอบให้ครงประเด็นที่สุดครับ

บอกผิด สอนผิด ทำให้คนอื่นเกิดมิจฉาทิฏฐิ มีโทษหนักไหม ?

ในความเข้าใจของผม ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า กรรมนั้นอยู่ที่เจตนาครับ ถ้าเราเริ่มต้นในการบอกกล่าวหรือสอนธรรมะผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ หวังประโยชน์ต่อเขาอย่างแท้จริง อย่างน้อยจิตใจของผู้บอกก็ชื่อว่าประกอบด้วย "เมตตา" และมีความเป็น ทาน ส่วนหนึ่ง ซึ่งจิตส่วนนี้จะเรียกว่าเป็นกุศลจิตก็พอจะกล่าวได้ ... และเมื่อจิตประกอบด้วยเมตตา วาจาหรือการกระทำที่ออกมาจากจิตนั้น ก็ชื่อว่ามีส่วนแห่งบุญ ไม่มากก็น้อยครับ

อย่างไรก็ดี การที่บุญ จะมากหรือน้อย...และจะเอื้อให้เป็นกุศลต่อเนื่องแบบครบวงจรได้ตลอดสายหรือไม่นั้น ก็ต้องอยู่ที่ ปัจจัยสำคัญอีก 2 ประการด้วย นั่นคือ

- วัตถุของทาน (ซึ่งในที่นี้คือเนื้อหาสาระของสิ่งที่สอน) ว่า เป็นคุณหรือเป็นโทษ
- ตัวผู้รับ ว่ามีความบริสุทธิ์มากน้อยเพียงใด มีบุญคุณกับเราเพียงใด เป็นคนดี หรือไม่ดี เป็นต้น

ดังนั้น ในกรณีที่บุฟเจตนาดี แต่เนื้อหาของการแนะนำบอกต่อคนอื่นนั้น มีความผิดพลาด คลาดเคลื่อนจากธรรม ก็ได้ชื่อว่า เป็นการทำร้ายผู้อื่นอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ครับ

ทีนี้ผลเสียที่เกิดขึ้น คืออะไร?
ก็คือ เราอาศับความไม่รู้ (อวิชชา) ของเรา ไปสร้างมิจฉาทิฏฐิให้แก่ผู้ฟัง และยิ่งบอกกล่าวไปสู่วงกว้างเท่าไหร่ ผลกระทบต่อโลกก็ยิ่งทวีคูณออกไปตามนั้น

ทีนี้ก็ต้องมาวัดกันล่ะครับ ว่าไอ้ที่ทำให้คนอื่นเกิดมิจฉาทิฏฐินั้น ...เป็นมิจฉาทิฏฐิขั้นร้ายแรงแค่ไหน (แก่นของคำตอบคงจะอยู่ตรงนี้แหละครับ)

1) ร้ายแรงในระดับที่ละเมิดหลักศีลธรรมพื้นฐานของธรรมชาติ ที่จะทำให้ผู้เชื่อและปฏิบัติตาม (คำสอนของเรา) สร้างอกุศลหนักหนาจนถึงขั้นสามารถเกิดในอบายภูมิได้ ตัวอย่างเช่น การสอนคนอื่นว่า เชือดคอไก่นั้นไม่บาป เพราะมันเกิดมาเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ การลักทรพย์นั้นไม่ผิด ถ้าทำด้วยความจำเป็น การมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะเป็นสิทธิของตัวเรา จึงไม่จำเป็นต้องแคร์ว่า เขาจะมีคู่ครองอยู่หรือไม่ หรือผู้ปกครองของเขา (ตน) จะรู้สึกอย่างไร เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงการเผยแพร่ความเชื่อประเภทที่ว่า บุญ-บาป กฎแห่งกรรมนั้นไม่มีจริง ไม่มีเหตุหรือผลดังกล่าวอยู่ในจักรวาลนี้ ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์เสกสรรค์ปั้นแต่งเพื่อเป็นอุบายให้สังคมสงบสุข เท่านั้น

มิจฉาทิฏฐิประเภทนี้ ได้แก่ พวก "นิยตมิจฉาทิฏฐิ" ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน "มโนทุจริต" ถ้ามีความเชื่อแบบนี้ฝังอยู่ในใจ หากตายไปแล้วล่ะก็ มีอบายภูมิเป็นที่ไปค่อนข้าง 100% ครับ ยิ่งถ้าเผยแผ่แนวคิดพวกนี้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน จนถึงขั้นก่อเป็นกระแสสังคมหรือค่านิยมในทาง อธรรม (เสื่อม) แล้วล่ะก็... เดาไม่ถูกเลยครับว่าจะไปตกนรกโลกันต์กี่กัปป์ กี่อสงไขย และต้องเกิดมาบ้าใบ้ ปัญญาอ่อนอีกกี่ชาติ

คิดๆ ไปแล้ว เวลาเปิดสื่อในยุคปัจจุบัน หรืออ่าน คห. ใน pantip กลุ่ม เฉลิมไทย จะเจอคนประเภทนี้เยอะมากจนรู้สึกสลดสังเวชอย่างที่สุดครับ

ดังนั้นผู้ที่เผยแผ่ธรรมผิด... แต่ไม่ถึงทำลายหลักศีลธรรมพื้นฐานเช่นข้างต้น ก็อาจสบายใจได้เปลาะหนึ่งว่า อย่างน้อยตนก็เป็นเหตุให้คนอื่นเกิดมิจฉาทิฏฐิ ในระดับที่รองๆ ลงมา ... ไม่มีผลให้เกิดใน อบายภูมิ (จากกรรมนี้โดยตรง) แต่จะได้รับอกุศลวิบากในแง่ที่จะ ทำให้เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะนานขึ้นครับ

และยิ่งเผยแผ่แนวคิดผิดๆ ไปสู่มหาชนมากขึ้นเท่าไหร่ ปัญญาของเราในแง่ของโลกุตรปัญญาก็จะยิ่งมืดบอดขึ้นเท่านั้น เกิดมาชาติไหน ก็จะไม่เจอสัตตบุรุษ หรือถึงเจอ ก็จะไม่รู้สึกว่าถูกจริต พาลจะเลือกนับถือลัทธิอื่นๆ นอกพระพุทธศาสนาอยู่ร่ำไป เข้าทำนอง ไก่ได้พลอย... ถึงจะอยู่ในชมพูทวีปที่มีของจริง แต่ก็เลือกเดินตามของปลอมร่ำไป จนไม่ได้นิพพานกับเขาซักที (แต่ก็ยังพอจะทำให้เกิดในสวรรค์หรือมนุษย์ได้)

ทีนี้ก็ต้องแยกเป็นกรณีพิเศษอีกว่า ถ้าคนผู้นั้นมีความศรัทธาต่อพุทธศาสนาแรงกล้า เคารพพระรัตนตรัยและทำบุญในขอบเขตพุทธศาสนามาตลอด รวมถึงการเผยแผ่ธรรม ก็ทำด้วยความเคารพและหวังดีต่อศาสนาและผู้อื่นอย่างที่สุด (เพียงแต่ดันสอนผิด) กรรมก็จะจัดอยู่ในประเภท กรรมดำผสมกรรมขาว

กล่าวคือ กุศลวิบากอาจจะนำให้เขาเกิดในพระพุทธศาสนาได้เช่นกัน แต่อกุศลวิบาก (ที่เกิดจากการสอนธรรมะระดับสูงผิดๆ) ก็จะมาคอยตัดรอน ให้ไปพบเจออาจารย์ หรือพระภิกษุที่สอนคลาดเคลื่อนจากธรรมะของพระพุทธเจ้าเช่นเดิม เช่น ไปเจอสำนักที่สอนว่า นิพพานเป็นอัตตา หรือนิพพานเป็นเมืองแก้ว หรือไปเจอครูบาอาจารย์ที่ติดอยู่แค่ระดับศีลธรรม หรือสมถะกรรมฐาน แต่ไม่เคยสอนสติปัฏฐาน 4 เลยก็เป็นได้  

มันก็จะมีช่วย มีขัดขวาง ดึงเข้าทางที่ถูกมั่ง ผลักให้ออกห่างมั่ง ลางทีก็เจอตำราดีๆ สุดยอด แต่อีกหลายทีก็จะพลาดไปเจอกับข้อมูลผิดๆ ที่ทำให้เสียเวลาอยู่นาน ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับว่า กรรมตัวไหนจะให้ผลอย่างไร ขณะใด นั่นเอง

............แต่ก็ อย่าไปตกใจมากเลยพี่ เพราะถ้าแค่สอนให้คนเกิดมิจฉาทิฏฐิ แล้วบาปหนักขนาดต้องลงนรกเท่านั้นล่ะก็ บนสวรรค์ หรือโลกมนุษย์ ก็จะไม่มีสัตว์ของศาสนาอื่นเลยล่ะครับ แต่ก็ปรากฏว่า แม้จะเป็นการทำบุญนอกพระพุทธศาสนา ก็ยังมีคนเกิดอยู่ใน เทวโลก และพรหมโลก เป็นจำนวนมากครับ ขอเพียงแต่ เขาสอนคนให้เชื่อในเรื่องของการ "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" สอดคล้องกับหลักศีลธรรมพื้นฐานของธรรมชาติ

ที่พูดนี่ไม่ได้แนะนำให้ประมาทหรือสอนผิดๆ ต่อไป แต่อยากให้หมดความกังวลใจ และเริ่มต้นใหม่ในสิ่งที่ถูกต้อง...ด้วยทัศนคติที่ดีครับ

ก็คงตอบคร่าวๆ ได้ดังนี้แหละครับ :)

แก้ไขเมื่อ 20 ก.ย. 53 20:22:32

จากคุณ : Gow27
เขียนเมื่อ : 20 ก.ย. 53 20:17:49

 
ความคิดเห็นที่ 171

ขอบคุณ น้องGow27  มากค่ะ

นานๆ มาที   ทำให้เกิดความชื่นใจ ตอนท้ายๆ กระทู้เลยนะเนี่ย

อย่าลืมตามอ่านลิงค์ พระสูตร ในกระทู้นี้นะคะ ดีมากมาก

ยัง ยังไม่จบง่าย .......
...
...

มีพระสูตร ที่น่าศึกษาและเก็บไว้อ่านทบทวน เตือนตัวเองอีก ค่ะ
ขอนำมาไว้ที่นี่ด้วยจะได้เซพไว้อ่าน ด้วยกัน


ได้มีโอกาสเห็นพระสูตรว่าด้วย
ท่าทีที่พึงมี  ๕ ประการเมื่อได้ยินได้ฟังถ้อยคำของคนอื่น
ที่คุณปล่อย เสนอไว้ที่ คห 38 ของกระทู้
http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y9703238/Y9703238.html

ก็จึงขออนุญาต copy มาไว้ที่นี่
เมื่ออ่านพระสูตรตามลิงค์ข้างล่างแล้ว ประทับใจมากค่ะ

____________________________________

ถ้อยคำที่คนอื่นจะพึงกล่าว ๕ ประการ

[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ
กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑
กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑
กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย ๑
กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม




      ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จิตของเราจักไม่แปรปรวน
เราจักไม่เปล่งวาจาลามก
เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์
เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน

เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
และเราแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.


บางส่วน จาก
โอปัมมวรรค ๑. กกจูปมสูตร ว่าด้วยอุปมาด้วยเลื่อย พระโมลิยผัคคุนะคลุกคลีกับภิกษุณี
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๔๒๐๘ - ๔๔๔๒. หน้าที่ ๑๗๑ - ๑๘๐.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=4208&Z=4442&pagebreak=0            
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263


แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 53 20:49:43
จากคุณ : ปล่อย  
เขียนเมื่อ : 18 ก.ย. 53 20:49:02  
ถูกใจ : หลังเขา, ร่าเริงเบิกบานสำราญอุรา, DeLoverRibo, เอิงเอย




______________________________________


แม่เรือนชื่อเวเทหิกา
 [๒๖๖](บางส่วน)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น
เป็นคนสงบเสงี่ยมจัด  เป็นคนอ่อนโยนจัด เป็นคนเรียบร้อยจัด
ได้ก็เพียงชั่วเวลาที่ยังไม่ได้กระทบด้วยคำอันไม่เป็นที่พอใจเท่านั้น


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด เธอกระทบถ้อยคำอันไม่เป็นที่พอใจเข้า
ก็ยังเป็นคนสงบเสงี่ยม อ่อนโยนเรียบร้อยอยู่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้นแหละ
ควรถือว่าเธอเป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคนอ่อนโยน เป็นคนเรียบร้อยจริง

_____________________________________________


พระโอวาทแสดงการเปรียบด้วยเลื่อย

            [๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากจะมีพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า
เอาเลื่อยที่มีที่จับทั้งสองข้าง เลื่อยอวัยวะใหญ่น้อยของพวกเธอ

แม้ในเหตุนั้นภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดมีใจคิดร้ายต่อโจรเหล่านั้น
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก

เราจักอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจักมีเมตตาจิตไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
และเราจักแผ่เมตตาอันไพบูลย์ใหญ่ยิ่งหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
ไปตลอดโลกทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น   ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.


            [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอควรใส่ใจถึงโอวาท แสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะไม่มองเห็นทางแห่งถ้อยคำที่มีโทษน้อย หรือโทษมาก
ที่พวกเธอจะอดกลั้นไม่ได้
หรือยังจะมีอยู่บ้าง
ไม่มีพระเจ้าข้า
เพราะเหตุนั้นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงใส่ใจถึงโอวาทแสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด
ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์และความสุขแก่พวกเธอสิ้นกาลนาน ดังนี้แล.

            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล้วแล.



จบ กกจูปมสูตร ที่ ๑

แก้ไขเมื่อ 20 ก.ย. 53 21:53:30

จากคุณ : เอิงเอย
เขียนเมื่อ : 20 ก.ย. 53 21:49:05

 
ความคิดเห็นที่ 172

นานๆ จะรวมมิตรกันสักที
อ้าว จะเล่น rich text ซักหน่อย ดันไม่มีซะนี่ ว้าา

จากคุณ : ระนาดเอก
เขียนเมื่อ : 20 ก.ย. 53 23:16:25

 
ความคิดเห็นที่ 173

เห็นคนเม้น (และแจก กีบ) มีแต่คนเก่าๆ ^^

แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 53 00:01:06

จากคุณ : Gow27
เขียนเมื่อ : 20 ก.ย. 53 23:59:07

 
ความคิดเห็นที่ 174

ในที่สุดวงสนทนาก็ผ่านมา   ร้อยกว่าความเห็น

การบอกผิด สอนผิด  นี้มีผลผิดพลาดต่อเนื่องยาว อย่างประมาณมิได้  

จะอ้างว่าไม่รู้ ไม่ได้ทำให้ผลเสียหายลดน้อยลงเลย

และวิบากกรรมที่ตามมา ก็น่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก


เมื่อมิจฉาทิฏฐิเกิด ก็จะพาให้อยู่ในวังวนของสังสารวัฏ  ที่เยิ่นเย้อ ยืดยาว

ปรับทิศทางออกจากวังวนแห่งทุกข์ไม่ง่ายเลย


ทำอย่างไรจะไม่รับข้อมูลมาผิดๆ      ก็ต้องศึกษาพระธรรมให้มาก พอที่จะมีภูมิคุ้มกัน


เมื่อมีข้อสงสัย ก็ต้องยึดพระธรรมเป็นหลัก มิใช่ยึดตัวบุคคลเป็นหลัก
เพราะเมื่อยึดพระธรรมเป็นหลัก  ย่อมละอคติที่มีต่อบุคคลต่างๆ ลงได้
     

          บุคคลใด หากมีอคติแล้ว   เมื่อเกิดเหตุการณ์ หรือมีข้อมูลที่มาสนับสนุนฝ่ายตน ก็จะดีใจ
          เมื่อเกิดเหตุการณ์ หรือมีข้อมูลที่ค้าน หรือกล่าวหาฝ่ายตน ก็จะเสียใจ รู้สึกต่อต้าน
          มีปฏิกิริยาออกไป  เนื่องด้วย ความเป็น” พวกของฉัน”


บุคคล เมื่อยึดพระธรรมเป็นหลัก    ซื่อตรงต่อพระธรรม เป็นที่ตั้ง    
ย่อมมีจิตใจเป็นกลาง  พิจารณาเหตุการณ์โดยไม่มีอคติมาเป็นนาย    
ไม่มีความแตกแยกเป็นพวกเราพวกเขา  
ปฏิบัติต่อเหตุการณ์โดยมีพรหมวิหารธรรมประจำใจ


ทำอย่างไร พุทธบริษัทจะยึดพระธรรมเป็นหลัก ไม่ยึดตัวบุคคลเป็นหลัก?????

ทำอย่างไร????




นอกจากจะได้คำตอบของคำถามตามกระทู้  ที่จะทำให้มีท่าทีที่ถูกต้องแล้ว

เรายังได้แรงบันดาลใจ จากการสนทนาธรรม ที่ท่านฐานาฐานะได้  เป็นทั้งตัวอย่าง และชี้ให้ตระหนักถึงโอกาสอันหาได้ยากที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ในสมัยที่ยังมีพระธรรมให้ศึกษา


วิสัชนา ของท่านฐานาฐานะ ในความเห็น 135 ข้าพเจ้าถือเป็น   ข้อความที่มีค่าประจำกระทู้ และจะน้อมนำมาเตือนใจ ตลอดไป

*****************************************************
            ที่จริงแล้ว อ่านเพราะว่า พิจารณาเห็นว่า
            1. พระไตรปิฎกทั้งหมดนี้ นักปราชญ์ในพระศาสนา ก็อุตสาหะ
แปลให้อ่านได้ง่ายแล้ว ทั้งจำนวนก็ไม่มากเลย ไม่เกินวิสัยที่จะอ่านทั้งหมด.
            2. เราเกิดมาดีแล้วที่มีสุขภาพแข็งแรง มีจักษุดี มีศรัทธา
มีฉันทะ มีอุตสาหะ
            โอกาสทั้งสองข้อนี้ หาไม่ได้ง่าย
            ในเมื่อโอกาสอย่างนี้มาถึง ทำไมเราจะตั้งใจศึกษาด้วยความเคารพ
และรอบคอบ ทั้งหมดนี้เลยไม่ได้เล่า.
            ถ้าศึกษาทั้งหมดแล้วตายทันที ยังประเสริฐกว่า มีอายุยืนและทิ้งโอกาสนี้ไป.    
------------------------------------------------------------------

            ที่จริงแล้ว ถ้าศึกษาแล้วขวนขวายน้อยในการแนะนำผู้อื่น ก็ยังประเสริฐกว่า
มีอายุยืนและทิ้งโอกาสนี้ไป.

            ตอบว่า ไม่ท้อ ไม่เบื่อ มีแต่เมื่อยล้า พักสักหน่อยก็หายเมื่อยล้า.


************************************************************

ในฐานะเจ้าของกระทู้ ก็ขอส่งท้ายกระทู้ ด้วยคำถาม

เป็น คำถามที่ส่งไปถึง    ผู้ที่แสดงความคิดเห็นในกระทู้นี้ และผู้ที่เข้ามาอ่านอย่างเดียว โดยไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ
ว่า

     ผู้ใดเมื่อได้อ่านเนื้อความกระทู้นี้ มีความตั้งใจว่า
     1. เราจะศึกษาพระไตรปิฎก ทั้งหมด 3 ปิฎก อย่างแน่นอน
     2. เราจะศึกษาพระไตรปิฎก บางส่วนเพียง 2 ปิฎก อย่างแน่นอน อีก 1 ปิฎก ยังไม่แน่ใจ
     3. เราจะศึกษาพระไตรปิฎก บางส่วนเพียง 1 ปิฎก อย่างแน่นอน อีก 2 ปิฎก ยังไม่แน่ใจ
     4. เราจะศึกษาพระไตรปิฎก บางส่วนเพียง __ เล่ม อย่างแน่นอน นอกนั้น ยังไม่แน่ใจ
     5. เราจะศึกษาพระไตรปิฎก บางส่วนเพียง 1 เล่ม อย่างแน่นอน นอกนั้น ยังไม่แน่ใจ
     6.(อื่นๆ)…………………………………………


ในฐานะเจ้าของกระทู้ กราบขอบพระคุณท่านฐานาฐานะอย่างสูง  ตัวหนังสือของท่าน ในกระทู้นี้ เต็มไปด้วยความเมตตา และเป็นมิตรอย่างมาก


จริงๆ พระสูตรที่น่าประทับใจของท่านฐานาฐานะคงมีอีกมาก  เกินกว่าจะบอกเล่าให้ฟังได้หมดในกระทู้เดียว


หากมีประเด็นปัญหาใดในคราวต่อไป  ข้าพเจ้าก็ใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านล่วงหน้า

ตามแต่ท่านจะเห็นสมควร



อนุโมทนาทุกท่านที่สนใจศึกษาพระธรรม   ลูกสาว


เอิงเอย

จากคุณ : เอิงเอย
เขียนเมื่อ : 22 ก.ย. 53 23:37:21


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com