Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
บทวิจารณ์ การเสวนาเรื่อง "ภิกษุณีฯ" ตอนสุดท้าย วิเคราะห์ความเห็นของดร.เจิมศักดิ์ - ติดต่อทีมงาน

ตอนที่๑ อ่านได้ที่ลิ้งค์นี้ครับ

http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y9874015/Y9874015.html

ตอนที่ ๒

http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y9876586/Y9876586.html


 

วิจารณ์ความเห็นของ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

 

        สำหรับความเห็นของนายไพบูลย์ หรือ ดร.รัชดา เป็นต้นนั้น ผู้เขียนเห็นว่าอยู่ในกรอบหรือประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว จึงขอยกไว้ แต่มีบางเรื่องที่น่าอภิปราย ในความเห็นของ ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (ขออนุญาตเรียกว่า นายเจิมศักดิ์)

        นายเจิมศักดิ์ได้กล่าวไว้ โดยจากการสรุปในการเสวนานั้น ความว่า

 

        ส่วนดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร กล่าวถึงการเกิดขึ้นของภิกษุณีนั้นเป็นหนทางในการไขว่คว้าหาความรู้เพื่อบรรลุธรรม รวมทั้งยังเป็นการเผยแพร่พุทธศาสนา จึงไม่เห็นว่าเป็นเรื่องเสียหายแต่อย่างใด การปิดกั้นภิกษุณี ด้วยพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ ปี พ.ศ. 2471 จึงไม่น่าที่จะเกิดขึ้น เพราะกฎหมาย ประกาศหรือคำสั่งใดที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ยังถือว่าไม่มีสภาพบังคับ ฉะนั้น ประกาศหรือคำสั่งที่ขัดต่อหลักพุทธธรรมก็ไม่ควรมีสภาพบังคับเช่นกัน

 

        ประเด็นของนายเจิมศักดิ์ สรุปเนื้อหาได้ดังนี้

 

        ๑. ภิกษุณีเกิดขึ้นเพราะเป็นหนทางในการบรรลุธรรม  ไม่น่าจะเป็นเรื่องเสียหายแต่อย่างใด


       
๒. พระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีสภาพบังคับใช้ และ ประกาศที่ขัดต่อหลักพุทธธรรมก็ไม่ควรมีสภาพบังคับเช่นกัน


       
ต้องขออภัยที่ ผู้เขียนเองรู้สึกเบื่อหน่าย ว่านายเจิมศักดิ์ผู้นี้ ก็ยังคงมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธศาสนา ในมิติ และกรอบเดิมๆ ไม่หลุดไปจากกรอบเดิมๆได้ คือ ยังคง "ตามหาแก่นธรรม" อยู่เสมอ โดยไม่รู้ว่า อะไรเป็นแก่น และ แก่นที่มีอยู่ กลับมองข้ามไปเสีย รวมถึง เรื่องที่ควรทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ก็ยังทำความเข้าใจได้ยากอยู่เช่นเคย
  และไม่ว่าใครจะอธิบายจน "ปากฉีก" ขนาดไหน คนผู้นี้ก็ไม่เคยเข้าใจอะไร ถ้าจะพูดเป็นสำนวนญี่ปุ่น ก็คงจะพูดได้ว่า "เหมือนกับสวดมนต์ให้ม้าฟัง" นั่นแหละ


       
แต่ถึงแม้การอภิปรายของผู้เขียน ต่อความเห็นของนายเจิมศักดิ์ จะไม่เกิดผลอะไรกับเขา อย่างน้อยก็คงจะทำให้ผู้มีใจเป็นธรรม สามารถเข้าใจและตีประเด็นออกให้ชัดเจนได้ เพื่อจะได้ไม่ "หลงผิด" ส่วนคนที่มีทิฏฐิเป็นประการใด ก็คงต้องปล่อยเขาไป ตามสมควรแก่กรรมของเขา


       
๑. ประเด็นแรก    นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่าภิกษุณีเกิดขึ้น เพื่อที่จะหาหนทางหรือจะปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมนั้น  ถ้านี่เป็นความเห็นของนายเจิมศักดิ์ และ เป็นความเข้าใจของนายเจิมศักดิ์ จริงๆ ก็ต้องตอบว่า เข้าใจถูกต้องตามหลักการ  เพราะภิกษุณี จะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ด้วยความต้องการจะปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรม เท่านั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นด้วยความต้องการอื่น


       
ที่กล่าวเช่นนี้เพราะว่าเดี๋ยวนี้ชักจะมีคนอ้างเหตุผลแปลกๆเพื่อให้มีภิกษุณี หรือมีการบวชภิกษุณี หรือ มีภิกษุณีในคณะสงฆ์ไทย หรือจะ อะไรๆก็แล้วแต่เกี่ยวกับภิกษุณี นั้นแตกต่างกันไป เช่น


       
- เพื่อให้ภิกษุณีได้มีสมณศักดิ์เหมือนอย่างพระภิกษุ


       
- เพื่อให้ภิกษุณีมีเกียรติมีศักดิ์ศรีเท่ากับพระภิกษุ


       
- เพื่อให้พุทธบริษัทครบ ๔ ประการ ศาสนาจะได้มั่นคง


       
- เพื่อให้สิทธิสตรีและบุรุษทัดเทียมกัน


       
หรือแม้แต่ข้ออ้างพิลึกๆเช่นว่า จะได้มีโสเภณีน้อยลงบ้าง ภิกษุณีจะได้รับการลดค่าโดยสารรถเมล์ รถไฟ เครื่องบิน ฯลฯ


       
ข้ออ้างต่างๆเหล่านี้ ต้องขออภัยที่จะบอกว่า


       
"นอกรีต นอกรอย และ ไม่ใช่จุดประสงค์แท้จริงของการบวช
/ การมีภิกษุณีขึ้นมาเลยแม้แต่นิดเดียว"


       
(บางข้ออาจจะยังไม่มีผู้อ้าง แต่ก็ขอพูดไว้ก่อน เผื่อจะมีคนเพี้ยนๆมาเสนอข้ออ้างพิลึกๆขึ้นมาอีก เดี๋ยวนี้คนเพี้ยนๆที่เสนอความเห็นประหลาดๆ ก็มีอยู่เยอะ)


       
พึงดูน้ำพระทัยของพระนางมหาปชาบดีโคตมี ที่จุดประสงค์ของท่าน คือการบวชเพื่อที่จะได้ปฏิบัติ บรรลุธรรมจริงๆ พระพุทธเจ้าทรงต้องการจะทดลองน้ำพระทัยของพระนาง และความตั้งใจ ว่า พระนางปชาบดีโคตมี และนางสากิยานี ๕๐๐ นั้น ตั้งใจจะบวช "เพื่อประโยชน์แก่การบำเพ็ญสมณธรรม และเพื่อบรรลุธรรม เข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์" จริงหรือไม่ ถึงได้ทรงห้ามในช่วงแรกถึง ๓ ครั้ง เมื่อพระอานนท์มาทูลขออนุญาตด้วย ก็ยังทรงห้ามถึง ๓ครั้ง เพื่อให้พระนางปชาบดีโคตมี ทรงสำนึกว่า "บรรพชานี้ได้มาโดยยาก" เมื่อทรงอนุญาตแล้ว พระนางและภิกษุณีในภายหลังจะได้รักษาเอาไว้ และตั้งใจปฏิบัติบำเพ็ญเพื่อบรรลุธรรมจริงๆ


       
ถ้าหากว่าพระนางปชาบดีโคตมี มาขอพระพุทธเจ้าเพื่อบวชเป็นภิกษุณี โดยข้ออ้างว่า โสเภณีมีเยอะ ถ้าหากมีภิกษุณี เด็กผู้หญิงที่ไปเป็นโสเภณีจะได้น้อยลงบ้าง หรือ จะได้มีเอตทัคคะของนักบวชฝ่ายหญิงบ้าง หรือข้ออ้างอื่นๆแปลกๆ  พระพุทธเจ้าจะทรงยอมบวชให้หรือ  ??


       
เพราะเหตุที่ พระนางปชาบดีโคตมี และสากิยานี  ๕๐๐ มีจุดมุ่งหมายและน้ำพระทัยที่แน่วแน่ ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมจริงๆ พระพุทธเจ้าจึงทรงยอมให้มีการบวช และให้มีภิกษุณี


       
ลองคิดดูเอาง่ายๆว่า ขนาดพระนางปชาบดีโคตมี หลังจากบวชแล้ว มาขอให้พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติให้พระภิกษุไหว้ภิกษุณีที่พรรษามากกว่าได้ พระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอนุญาตเลย นั่นเพราะอะไร เพราะต้องการป้องกันพระพุทธศาสนาจากคำครหาของเดียรถีย์ รวมถึงเพื่อที่จะให้ภิกษุณีทั้งหลาย "ตระหนักว่าตัวเองบวชเพื่อที่จะมาทำอะไรกันแน่"


       
ถ้าหากท่านธัมมนันทาเข้าใจประเด็นนี้ด้วย รวมถึงท่านผู้เข้าร่วมการเสวนา และผู้จัดเสวนาทั้งหลาย รู้ว่า มีภิกษุณีเพื่ออะไร ก็คงจะไม่เกิดปัญหา และไม่เกิดการ "ร้องแรกแหกกระเชอ" กันจนถึงขนาดนี้


       
๒. สำหรับเรื่องที่ว่าพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้น ที่จริงได้กล่าวมาพอสมควรแล้ว แต่น่าจะทำความเข้าใจเพิ่มเติมอย่างหนึ่ง ก็คือ


       
พระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เกิดขึ้นก่อนรัฐธรรมนูญ ใช่หรือไม่?


       
ตอบว่า ใช่ เพราะ พระบัญชานั้น เกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ส่วนรัฐธรรมนูญ ก็เกิดขึ้นราวๆ ๒๔๗๖


       
อะไรเกิดก่อน ก็ควรเป็นพ่อ อะไรเกิดทีหลัง ก็ควรเป็นลูก...นี่คิดกันง่ายๆ

แก้ไขเมื่อ 04 พ.ย. 53 13:15:21

แก้ไขเมื่อ 04 พ.ย. 53 12:55:55

จากคุณ : chohokun
เขียนเมื่อ : 4 พ.ย. 53 12:53:22




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com