ประเด็นข้อสงสัย ของท่านเจ้าของกระทู้ น่าจะมี เพียง 2 ข้อใหญ่ ๆ (แต่มีข้อย่อย ๆ ในข้อใหญ่ด้วญ)
1.ของที่ถวายบิณฑบาตรพระมา ให้ชาวบ้านไปกินต่อได้เลยหรือไม่ ?
- ตอบว่าได้ หากพระท่านมีการสวดอุปโลกน์ เสียก่อนโดยการที่ท่านแบ่งไว้แล้วส่วนหนึ่ง (แม้จะยังไม่ทันได้ฉันก็ได้ คือเข้าใจง่าย ๆ ว่า ไม่ใช่ของที่เหลือกิน)
- ตอบว่า ไม่ได้ หากพระยังไม่ได้แบ่ง หรือยังไม่ได้อุปโลกน์ (อุปโลกน์ ก็คือการบอกกล่าว แต่งตั้ง หรืออนุมัติ ประมาณนั้น) เพราะจะทำให้ไทยทานตกล่วงไป
- ตอบว่า ได้ ก็มี (ข้อนี้พิเศษกว่าข้อไหน ๆ ) ถึงแม้ว่าจะไม่มีการสวดอุปโลกน์ก็ตาม ก็คือ กรณี เลี้ยงดู บิดา-มารดา ของพระท่านเอง เนื่องจากแก่เฒ่า หรือเจ็บป่วยไม่สบาย ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือกรณีใด ๆ ก็ตาม หากเป็น บิดา-มารดา ก็ถือว่า มีพระพุทธานุญาต ให้นำอาหารบิณฑบาตรมาให้แก่บิดา - มารดา ได้
อย่าว่าแต่ อาหารเลย แม้ว่าพระลูกชายบิณฑบาตรไม่มีอาหาร แต่ได้ดอกไม้มาสักช่อหนึ่ง พระรูปนั้นก็สามารถนำดอกไม้นั้นไปแลกเป็นอาหาร หรือแลกเป็นทรัพย์มาซื้ออาหารให้พ่อแม่ได้ จะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ทรงมีเหตุผลที่น่าเคารพเลื่อมใสยิ่งนัก ในการแสดงถึงความกตัญญูกตเวที
1.1. กรณีการบิณฑบาตร แค่พอฉัน ไม่ควรให้เหลือมากมาย
- อันที่จริงก็มีข้อปฏิบัติอยู่แล้วนะครับ ว่าให้พระท่านรับได้แต่เพียงเต็มขอบบาตร แต่ในเมื่อมีศรัทธาญาติโยมมากมาย ในปัจจุบัน ท่านก็สงเคราะห์และสนองศรัทธา (นี่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเนียมของไทยเราเอง หรือของพระบางรูปเท่านั้น)
2. ของเหลือจากการไหว้เจ้า ไหว้เทพเทวา เอามาใส่บาตรได้หรือไม่
-หากจะว่าไปแล้ว พระภิกษุท่านไม่รังเกียจในที่มาที่ไปของอาหาร เพระท่านฉันอาหารสักว่าเป็นแค่อาหารยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น ขอเพียงท่านไม่รู้ไม่เห็นว่า การได้มาซึ่งอาหารนั้นไปเบียดเบียดชีวิตใครให้ตกล่วงไป แล้วเจาะจงนำมาถวาย ในทางภาษาพระวินัยของพระ ก็คือ "ไม่ได้รังเกียจหรือสงสัยว่า เขาจักกระทำการเบียดเบียดชีวติสัตว์แล้วนำมาเป็นอาหารให้เรา"
ส่วนเรื่องการตั้งแง่ว่าเป็นของเหลือเดนทางเทพเทวดา หรือจ้าวที่เจ้าทาง ก็เป็นเพียงข้อสงสัยของเราเองผู้ถวาย เพราะเรายกฐานะของพระ สูงกว่าสถานะใด ๆ ดังนั้น เราจึงยังยิดติดในใจว่า พระจะต้องอยู่เหนือจ้าว หรือเทพเทวา
-มีข้อน่าสังเกตอยู่ เช่นเรื่องที่ "คุณมดละเอียด" เล่าเรื่อง อาหารของนางทาสี ในสมัยพุทธกาล
และ อีกเรื่อง เช่นเรื่องการแสวงหาผ้ามาทำจีวร จะเห็นได้ว่า พระภิกษุในยุคนั้น ท่านก็ไปหาผ้าที่เขาทิ้ง ๆ แล้วนะ มาทำจีวร และไม่ใช่ผ้าทิ้งเฉย ๆ แต่เป็นผ้าที่เขาห่อศพไปทิ้งซะด้วยซ้ำ บางทีไปดึงผ้าออกมาจากร่างซากศพที่มีน้ำเหลืองเยิ้ม ๆ ก็มี (เชื่อกันว่าเป็นตำนาน ต้นแบบของการถวายผ้าป่า หรือทอดผ้าป่า และทอดผ้าบังสุกุล)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การใช้ของเหลือจากศพ พระท่านยังใช้ได้เลยครับ ส่วนอาหารที่ไหว้เจ้า แท้จริง มิใช่ของเหลือหรอก เป็นของใหม่ ๆ เอามาอุ่นมาปรุงอีกนิดหน่อย รสชาติก็มิได้หายไปไหนหรอกครับ เพียงแต่ว่าเราอาจจะคิดมากกันไปเอง
แม้แต่ข้าวในหม้อ เราตักไปแล้วครึ่งหม้อ ในครึ่งหม้อที่เหลือ เราก็สามารถเอามาตักบาตรได้ (เราไม่ได้คลุกเคล้ากับข้าวกินในหม้อนี่นา...อย่าคิดมาก)