Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
กฏของพระสงฆ์ ๑๐ ฉบับ ติดต่อทีมงาน

" ตั้งใจอุปถัมภก              ยอยกพระพุทธศาสนา 

  ป้องกันขอบขัณฑสีมา    รักษาประชาชนและมนตรี "

ข้างต้นเป็นพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ 

ในครั้งนั้น  เป็นเหตุการณ์ภายหลังการฟื้นฟูประเทศต่อเนื่องจากการกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

บ้านเมืองระส่ำระสายไปทั่ว  ไม่เว้นแม้แต่ภิกษุสามเณรประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยย่อหย่อนลงไปมาก คณะสงฆ์ ตั้งแต่พระราชาคณะ พระอุปัชฌาย์อาจารย์ เจ้าอาวาสปล่อยปละละเลย ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ขาดการเข้มงวดกวดขันพระสงฆ์องค์เณรให้อยู่ในพระธรรมวินัย  คณะสงฆ์จึงตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม อย่างมาก

พระองค์จึงได้ตรากฏหมายสามดวง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ไว้ด้วย  เป็นการเพิ่มโทษของทางฝ่ายบ้านเมืองหลังจากที่ได้รับโทษทัณฑ์ตามพระธรรมวินัยที่มีแค่เพียงการปลงอาบัติและปฏิบัติภาระกิจอย่างอื่นเิพิ่มอีกเพียงเล็กน้อย  หรือการอยู่ปริวาสกรรม  กับที่หนักที่สุดก็คือ ปาราชิก ที่ขาดจากการเป็นพระทันที่ที่ล่วงละเมิดข้อห้ามอันยิ่งยวด ๔ ประการ

การเข้มงวดกวดขันดังกล่าวนั้น  ทำให้วงการพระสงฆ์ได้รับการฟื้นฟูและเจริญก้าวหน้าได้รับความศรัทธาจากประชาชนอย่างรวดเร็ว



กฎหมายพระสงฆ์ของไทย

            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตรากฎหมายคณะสงฆ์ที่เรียกว่า กฎพระสงฆ์ ขึ้นในระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๔๔ รวม ๑๐ ฉบับ ดังที่ปรากฎอยู่ใน กฎหมายตราสามดวง แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นกฎหมายคณะสงฆ์ชุดแรก ที่ปรากฎหลักฐานอยู่ถึงปัจจุบัน 

            ในการตรากฎหมายคณะสงฆ์โดยส่วนรวม ทรงมีพระราชประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์และสามเณร ประพฤติปฏิบัติตนเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ให้ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ และ เจ้าหน้าที่สังฆการี  ทำการกำกับดูแลและลงโทษผู้ที่ประพฤติผิดพระธรรมวินัย ตามสมควรแก่โทษหนักเบา ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ รวมทั้งที่ทรงตราไว้ในกฎพระสงฆ์นี้ด้วย นอกจากนั้น ในแต่ละฉบับจะทรงปรารภเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะกรณี ๆ ไป อันเป็นสาเหตุให้ต้องตรากฎพระสงฆ์ฉบับนั้น ๆ ขึ้นมา 

            การที่มีกฎพระสงฆ์ขึ้นมานี้ สะท้อนให้เห็นเหตุการณ์ในครั้งนั้น โดยเริ่มจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เกิดสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด ประชาชนพลเมืองเกิดความระส่ำระส่ายไปทั่ว ภิกษุสามเณรเป็นจำนวนมาก ประพฤติปฏิบัติย่อหย่อนในพระธรรมวินัย บรรดาพระราชาคณะ พระอุปัชฌาย์อาจารย์ และเจ้าอาวาสปล่อยปละละเลย ไม่ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ การคณะสงฆ์จึงตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของประชาชนเช่นที่เคยเป็นมาในสมัยก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ในฐานะที่เป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก จึงทรงเร่งรับฟื้นฟูสถานภาพของพระพุทธศาสนาไปพร้อม ๆ กันกับที่ทรงเร่งรีบฟื้นฟูสภาพของบ้านเมือง ให้พ้นจากจุดวิกฤติโดยเร็วที่สุด 



            กฎพระสงฆ์ที่ทรงตราขึ้นมามีอยู่ ๑๐ ฉบับ เนื้อหาสาระของแต่ละฉบับ จะประกอบด้วยข้อความที่ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละเรื่อง ว่า ผิดพระธรรมวินัยข้อใด 
ทำให้พระศาสนาเสื่อมเสียอย่างไร แล้วทรงมีพระบรมราชโองการ ห้ามมิให้ทำเช่นนั้นอีกต่อไป พร้อมทั้งกำหนดโทษทางบ้านเมือง เพิ่มจากโทษทางพระธรรมวินัยอีกส่วนหนึ่ง สาระสำคัญของกฎพระสงฆ์แต่ละฉบับ ดังนี้ 



หอ-มรดก-ไทย

 
 

จากคุณ : ทวนทอง
เขียนเมื่อ : 22 พ.ค. 54 07:47:00




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com