อ้างอิง คุณธรรมภูต ที่ ๓๐ - ๓๑ : เมื่อจิตดับไปพร้อมกับอาการของจิตที่เกิด-ดับ เหมือนไฟสิ้นเชื้อ รู้ได้อย่างไร? ขอเถอะศาสนาพุทธไม่ใช่เรื่องของการคาดเดา เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์(รู้ชัดว่า) - - - - - จิตแบ่งเป็น2 โลกียจิต จิตที่ติดข้องอยู่ในโลก โลกุตตรจิต จิตที่พ้นโลกเหนือโลก หรือจิตที่หลุดพ้นบรรลุพระนิพพาน ตำรามีไว้ให้เรียนกันเท่านั้น ถ้าจะให้เข้าถึงต้องลงมือปฏืบัติกรรมฐานภาวนาเท่านั้น อย่าเอาแต่ตำรามาบดบังสัจจธรรมที่แท้จริง ธรรมภูต ที่คุณธรรมภูตกล่าวมาก็พอเข้าใจว่าคุณคิดอย่างไร แต่พระสูตรที่ผมยกข้างบนจะแปลว่าอาการของจิตไม่ได้จริงๆ ถ้าแปลว่าอาการของจิตย่อมชื่อว่าตีความพระสูตรผิดนะครับ ซึ่งถามว่ารู้ได้อย่างไร ตำราว่าไว้หรือ? ตรงนี้ต้องตอบว่า รู้ได้จากตำรา และพิสูจน์จากตำราครับ ซึ่งถ้าเราปฏิบัติถูกบนพื้นฐานของความเห็นถูกก็จะเห็นได้ไม่ยากครับ ขอยกตัวอย่างให้เห็นด้านการปฏิบัติดังนี้ ถ้าเรามีความเห็นถูกว่า จิต นี้คือวิญญาณขันธ์ ที่เมื่อเกิดขึ้นทีไรย่อมมีเจตสิก ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร เกิดขึ้นพร้อมกันไปด้วย จากการเชื่อตามพระพุทธเจ้าจากพระสูตรต่างๆ ในพระไตรปิฎก เช่น ที่ทรงมีการใช้คำว่า "มโนบ้าง วิญญาณบ้าง" แทนคำว่าวิญญาณ และได้การศึกษาเพิ่มเติมไปอีกตามหลักอริยสัจจ์ว่า วิญญาณ เมื่อจะเกิดย่อมมีเหตุปัจจัย (สมุทัย) คือ อายตนะภายใน กระทบอายตนะภายนอกจึงเกิดขึ้น เช่น ตากับรูปกระทบกันเกิดจักขุวิญญาณ เป็นต้น และขณะนั้นเดียวกันจะเกิดผัสสะ เมื่อเกิดผัสสะจึงเกิดเวทนา และ สัญญา และ สังขาร เช่น ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้บ่อยๆ สรุปว่า เมื่อตากับรูปกระทบกันจึงเกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการจึงเป็นผัสสะ เมื่อผัสสะเป็นปัจจึงจึงเกิดเวทนา... ทีนี้เราก็นำเอาปริยัติมาปฏิบัติตามพิสูจน์ตามเลย อย่างที่เรียกว่า "เพ่งพินิจ" ว่าที่ทรงตรัสมานั้นจริงหรือไม่ โดยอาศัยการสติ-สมาธิ-ปัญญา ผ่านโยนิโสมนสิการเข้าช่วย อย่างเช่น เรานั่งสมาธิไป จิตเกิดไปผัสสะทางหู เราก็โยนิโนมนสิการว่า เกิดเวทนาอย่างไร หรือคิด นึกอย่างไรกับเสียงนั้น ต่อไปจากนั้นหากเกิดผัสสะกับทางอายตนะอื่นๆ อีก (ซึ่งก็คือเกิดจิตหรือวิญญาณทางอื่น) ก็ดูเวทนา หรือความนึกคิดอีก หรือจะสังเกตเอาที่ความจำ คือ ความจำได้หมายรู้ก็ได้ ทันใดที่เราเกิดจิตหรือวิญญาณขันธ์ขึ้นทางนั้นปั้บ เราจะเกิดการจำได้ทันทีพร้อมกันไป หากลองสังเกตดูบ่อย ตามรู้หลังจากเกิดผัสสะแล้วใช้โยนิโนมนสิการพิจารณาแบบแยกแยะกระบวนธรรมที่ได้เคยเกิดขึ้น ที่จำเอาไว้ได้ ซึ่งเมื่อปฏิบัติไปอย่างนี้อยู่บ่อยๆ อาศัยกำลังสมาธิ-โยนิโสมนสิการช่วยด้วย ก็จะรู้ว่า เราจะเห็นว่าเมื่อเกิดวิญญาณทางใด หรือจิตที่เกิดขึ้นทางอายตนะใด ก็จะเกิดเวทนา (สุข-ทุกข์-เฉยๆ บ้าง) และ เกิดจำได้ว่าคืออะไร และ จึงคิดนึกอะไรไปพร้อมกัน วนเวียนอยู่เรื่อยๆ ถ้าหากไม่เกิดวิญญาณขึ้นทางนั้น การเกิดเวทนาอย่างนั้น การจำได้ว่านั้นคืออะไรอย่างนั้น คิดอย่างนั้นก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ นี่แสดงให้เห็นว่าวิญญาณเกิดขึ้นที่ใดผัสสะก็เกิดขึ้นที่นั้น และผัสสะเกิดขึ้นที่ใด เวทนา สัญญา สังขารจึงเกิดขึ้นที่นั้นวนเวียนเรื่อยๆ ไป และหากระดับสูงยิ่งขึ้นไปอีก หากเราฝึกบ่อยๆ จะละเอียดขึ้นไปอีกขั้นว่า เวทนา สัญญา สังขาร นั่นแหละ ที่จะถูกวนอีกรอบ คือ มาเป็นปัจจัยให้เกิดจิตอีกขั้นหนึ่ง เช่น เมื่อนั่งสมาธิอยู่ หูได้ยินเสียงก็เกิดผัสสะขึ้น รู้สึกเป็นเวทนาขึ้นกับเสียงนั้น จำได้ว่าเสียงนั้นคือเสียงอะไร ซึ่งตรงนี้เอง จุดตรงนี้สำคัญถ้าเราปฏิบัติถึงจะเห็นว่า เมื่อเกิดผัสสะ(สังขาร) เวทนา สัญญา แล้วมันจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด "มโนวิญญาณ" อีกชั้นหนึ่ง ตรงตามปริยัติที่บอกว่า มโนวิญญาณ เกิดขึ้นจาก ใจกับธรรมมารมณ์ ซึ่งในที่นี้ ก็คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา นั่นเอง ที่มาเป็นธรรมารมณ์ให้ใจรู้ และเมื่อมาเป็นธรรมารมณ์ให้ใจรู้ จะเกิด มโนผัสสะ และเวทนา สัญญา สังขาร อีกตอนหนึ่ง เป็นคนละตอนกับที่เกิดทางอื่น ในตัวอย่างนี้เรายกกันว่าทางตา บางทีสังเกตไปมากเข้า จะเห็นละเอียดมากเป็น ๓ ตอน ๔ ตอนก็มี คือ ตอนแรกนั่งสมาธิอยู่ เกิดผัสสะทางหู เกิดทุกข์เวทนา และก็มาเกิดผัสสะทางใจ แต่เป็นอุเบกขาเวทนา สืบต่อไปก็จะรู้ว่าเป็นอุเบกขาเวทนา เพราะมีช่วงกลางเกิดขึ้นได้แก่สติ และสติก็เกิดขึ้นจากการผัสสะก่อนหน้านี้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งตรงนี้อธิบายได้ยาวไกลมาก มันขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิ และโยนิโสมนสิการครับ ตรงกับที่มีบัณฑิตท่านได้กล่าวเอาไว้ จำไม่ได้ว่าใคร ที่บอกว่า "เมื่อเห็นก็จะมาลงที่รู้ที่ใจ เมื่อได้ยินก็จะมารู้ที่ใจ" อย่างนี้เป็นต้น มันเป็นเช่นนั้นจริง ทีนี้เมื่อจิตเราเป็นกุศล หรืออกุศล การสังเกตดังกล่าวย่อมสามารถทำได้ และรู้ว่ากุศล อกุศลย่อมเกิดพร้อมกับจิต และดับพร้อมกับจิต เมื่อผัสสะทางหนึ่งเกิดขึ้น ก็จะเกิดเวทนาอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดผัสสะอีกทีหนึ่งเวทนาเก่าดับ และบางทีถ้าจิตเป็นกุศลมากๆ เข้า ฝึกไปก็จะรู้ว่า การเกิดดับต่อเนื่องกันนี้ จะเป็นกุศลลักษณะเดียวกันเป็นเหตุปัจจัยให้แก่กันต่อกันยาวนาน (ตรงนี้ก็จะทำให้รู้ว่าอภิธรรมสอนไว้ได้อย่างถูกต้องที่บอกว่า หากจิตที่บรรลุแล้วเจตสิกและจิตบางชนิดจะหมดไป ก็จะเป็นอย่างนี้ คือเกิดดับแต่กุศลเท่านั้นต่อเนื่องกันไปตลอดเวลาจิตอกุศลอย่างอื่นจะไม่เกิดแทรกแทรงย่อมเป็นไปได้) และเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะและจะเกิดเวทนาอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้เห็นเวทนา จิตนี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีเจตสิกเกิด และดับพร้อมกับจิต ไม่รู้ว่าอธิบายไปจะเข้าใจมากหรือน้อยแค่ไหน แต่ก็ขอให้รู้ว่า ปริยัติ และปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ลงกันเสมอ ขอให้เจริญในธรรม
จากคุณ |
:
ศิรัสพล
|
เขียนเมื่อ |
:
25 พ.ค. 54 06:40:06
|
|
|
|