บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต คือให้ทานนั้นเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจหมดจดจากกิเลสด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา จนได้ฌานและบรรลุ จนได้ฌานและบรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคล ตายแล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในพรหมโลกแล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาเกิด
ในโลกนี้อีก คือปรินิพพานในพรหมโลกนั้นเอง ทานชนิดนี้เป็นทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก
ตรงที่ขีดเส้นใต้ น่าจะมีนัยย รึเปล่า??
เหตุผล
ก่อนทำ>>ให้ได้ผลมาก ก็ต้องเลือกให้ถูกเนื้อนาบุญ+มีอธิฐานกำกับผล (ยังไงข้อนี้ ถ้าใครศึกษาเรื่องเนื้อนาบุญ และรู้หลัก ก็ต้องหวังผลอันเลิศ เพราะถ้าไม่หวังผลสูงสุด ท่านจะสอนให้ เลือกเนื้อนาบุญทำไม??)
ขณะทำ (ทานสูตร ส่วนที่ยกมา น่าจะเกี่ยวข้องกับวาระนี้ มากที่สุดนะ) >>ทำด้วยจิตใจ ปล่อยวางว่างๆ ตัดใจเหมือนตายจาก ก็เหมือนไม่หวังผลนั่นแหละ... คือทำด้วยสภาพธรรมารมย์แบบ สมถะวิปัสสนา
หลังทำ>>รักษาสภาพจิตต่อเนื่องจาก ขณะทำ ให้ได้นานที่สุด ก็คือการเจริญสมถะวิปัสสนา อย่างต่อเนื่องกันไปทุกลมหายใจ...
สรุปก็คือ ท่านน่าจะสอนให้เรา รู้จักการวางใจในขณะทำทาน และหลังทำทาน มากกว่าการที่จะบอกว่าห้ามทำทาน โดยหวังผลอะไร เพราะก่อนทำ มันต้องเริ่มจากคิดจะทำเพราะอะไรก่อน ถ้าบอกว่า แค่เพื่อตัดความตระหนี่ เพื่อตัดกิเลส ถ้าวัตถุประสงค์ก่อนทำแท้จริงมีเท่านี้ เราน่าจะให้ใครก็ได้มิใช่หรือ ธรรมชาติจริงๆเมื่อลองได้เกิดการเลือกที่จะทำเมื่อใด มันก็ต้องหวังผลเป็นของคู่กันอยู่แล้ว
ไม่งั้นเหตุใดต้องเลือกเนื้อนาบุญ...บางท่านตามหาพระอริยะ พระอรหันต์ เพื่อจะไปทำทานกับท่าน เพราะรู้ว่าทำแล้วจะได้บุญมาก นี่ก็หวังผลดีๆนี่เอง รึเปล่า??
เพียงแต่ขณะทำ กับหลังทำ ท่านให้ปล่อยวางไป เหมือนทิ้งของลงแม่น้ำหายไปกับตา ไม่ต้องไปสนใจคิดถึงวัตถุที่ทำไปอีก....
....คิดว่างั้นนะ....
แก้ไขเมื่อ 03 มิ.ย. 54 14:29:45
แก้ไขเมื่อ 03 มิ.ย. 54 08:08:53
แก้ไขเมื่อ 03 มิ.ย. 54 08:00:53