ลักษณะของจิต ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
...ฯ...วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับจากนามรูป ย่อมไม่เลยไปอื่น...ฯ...นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๖/๒๕๑
...ฯ...สิ่งที่เรียกกันว่า จิต ก็ดี มโน ก็ดี วิญญาณ ก็ดี นั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น
ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวันตลอดคืน...ฯ...
นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๔-๑๑๕/๒๓๐-๒๓๒
...ฯ...นามรูปมีเพราะปัจจัยคือวิญญาณ...ฯ...
...ฯ...วิญญาณมีเพราะปัจจัยคือนามรูป...ฯ...
มหา. ที. ๑๐/๖๗/๕๘.
แสดงว่า
กายที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ นี้ วิญญาณเป็นตัวเข้าไปรู้อีก ๔ ขันธ์ที่เหลือ(รูป เวทนา สัญญา สังขาร)
เมื่อการปรุงแต่งเกิดขึ้น วิญญาณก็ดับลงจากสิ่งที่มันถูกรู้อยู่ก่อนนั้น
เข้าไปรับรู้การปรุงแต่ง(สังขาร) ซึ่งตอนนี้การปรุงแต่งนั้นก็ได้ดับไปแล้ว
เกิดสัญญา(ความจำได้หมายรู้) วิญญาณก็เป็นตัวเข้าไปรู้อีก
*อาจจะเข้าใจยากสักนิดหนึ่ง เพราะธรรมชั้นโลกุตระ เป็นความหมายลึก มีความหมายซึ้ง
สมมุติว่า เรานั่งสมาธิ ด้วย อานาปานสติ(กำหนดลมหายใจเป็นสมาธิ)
*พระผู้มีพระภาคตรัสว่า " เราย่อมลมหายใจเข้า-ออก ว่าเป็นกายอย่างหนึ่งๆ ในบรรดากายทั้งหลาย "
(อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๕-๑๙๗/๒๘๙)
จิตเราจะตั้งมั่นอยู่กับลม (วิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในรูปขันธ์) นี่เรียกสมถะ
เมื่อจิตหลุดจากลม ไปคิดอนาคตบ้าง(สังขาร)
ไปคิดอดีตบ้าง(สัญญา)
เกิดความรู้สึกทางกายบ้างจิตบ้าง(เวทนา)
นี่คือ จิต ดับจากรูปขันธ์ไปแล้ว เกิดขึ้นใหม่ไปรับรู้ขันธ์อื่นที่เกิดขึ้น
เมื่อเราได้สติกลับมารูปลมอีก นี่เรียก วิญญาณดับไปแล้วจาก สังขารบ้าง สัญญาบ้าง เวทนาบ้าง
ถ้าเห็นการเกิดดับของจิตได้ตรงนี้เรียก วิปัสสนา
นี่คือการยกเอาคำพระศาสดามาวิเคราะห์ อย่าได้ถือว่าเป็นความถูก
ควรถือเรียนเอา สำคัญเอา แต่คำของพระศาสดาเถิด
สรุป อย่าได้ถือเอาความสำคัญมั่นหมาย เพราะจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดวันตลอดคืน
ท่องไว้ "สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา" (ไม่เที่ยง)
" เพราะเหตุว่า ถึงแม้เขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดงสักบทเดียว นั้นก็ยังจะเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน "
_/!\_เจริญในธรรม_/!\_