Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ปัญหาเรื่องสิกขาบทวิภังค์ และเสขิยวัตรที่ "มีความพยายามที่จะทำให้เป็นรูปแบบเดียวกัยสิกขาบทปาติโมกข์ทุกประการ" ??? ติดต่อทีมงาน

ความจริงเรื่่องนี้ควรจะพูดในกระทู้ "กรณี พระปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ถ้วน "  เสีย(http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10686028/Y10686028.html ) มากกว่า เพราะอ้างอิงข้อความจากกระทู้นั้น แต่ผมเห็นว่าควรตั้งเ็ป็นกระทู้ใหม่ เพราะมีเรื่องที่คุณฤทธี ได้พยายาม "ก่อปัญหาใหม่" ให้เกิดขึ้นแบบที่น่าเป็นห่วง

(โปรดเข้าใจว่าคำว่า ก่อปัญหา นี้ ไม่ได้หมายถึงในแง่อันธพาล หรือทะเลาะอะไรกัน แต่หมายถึง การพยายาม ทำให้เกิดปัญหาใหม่ที่น่าเป็นห่วงกว่าเดิม)


เนื่องจากว่า คุณฤทธีดูเหมือนจะพยายามผลักให้เสขิยวัตรเป็น "อะไรก็ไม่รู้"  ที่อยู่ๆก็มาอยู่ในพระวิันัยปิฎก อยู่ในปาติโมกข์ และ "เหมือนมีความพยายามของใครบางคน" ที่ต้องการจะให้มาอยู่ในปาติโมกข์ หรือ มาให้เป็นสิกขาบทในปาติโมกข์ ทั้งๆที่"ไม่ใช่"

ยิ่งอ่านความเห็นของคุณฤทธีก็ยิ่งน่าเป็นห่วงว่า แทนที่ผู้วิพากษ์วิจารณ์เรื่องการสวดปาติโมกข์ ๑๕๐ ถ้วน จะไปลงอบาย กลับจะเป็นคุณฤทธีเสียเองละกระมังที่จะไปลงอบาย

โปรดพิจารณาเนื้อความที่เป็นปัญหา ดังนี้

-------------------

**ลักษณะของการเจรจาดังที่ปรากฏอยู่ข้างต้นนี้ สมควรเรียกว่า “การตีฝีปาก” มากกว่าที่จะสามารถยอมรับได้ว่านั่นคือการแสดงเหตุผล ทั้งนี้เพราะ ถ้าผู้พูด เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาอย่างมีจิตสำนึก แม้เพียงสักนิด เขาย่อมทราบเป็นอย่างดีว่า มีพระบัญญัติซึ่งสามารถทราบได้อย่างแน่ชัดว่า เป็นพุทธพจน์ของแท้ที่มิได้ถูก “ดัดแปลง” อยู่อีกมากมาย ซึ่งสมควรถือว่ามีความสำคัญ ยิ่งไปเสียกว่า เสขิยวัตร ๗๕ ข้อดังที่กล่าวถึงนั้นเป็นไหนๆ ตัวอย่างเช่น ....

๑. เรื่องห้ามอุปสมบทอุภโตพยัญชนก

[๑๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล อุภโตพยัญชนกคนหนึ่งได้บวชในสำนักภิกษุ. เธอเสพเมถุนธรรมในสตรีทั้งหลาย ด้วยปุริสนิมิตของตนบ้าง ให้บุรุษอื่นเสพเมถุนธรรมในอิตถีนิมิตของตนบ้าง. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ อุภโตพยัญชนก ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบทที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย. ฯลฯ

**ขอถามว่า พระบัญญัติทั้งหลาย ในส่วนที่เกี่ยวกับการอุปสมบท มีความสำคัญมากหรือน้อยเพียงใดหรือ เมื่อเทียบกับ เสขิยวัตร ๗๕ ข้อ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเล็กๆน้อยๆที่พึงศึกษาเกี่ยวกับ “มารยาทสังคม”  

ปัญหาที่ควรพิจารณาให้มากยิ่งๆขึ้นไปอีกก็คือ อะไรคือเหตุปัจจัยที่ทำให้ต้องเป็น “มารยาทสังคม” เท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์ถูกยกขึ้นสู่พระปาฏิโมกข์ มากกว่าที่จะเป็นพระบัญญัติที่เกี่ยวเนื่องกับการอุปสมบทหรือสิกขาบทที่มีความสำคัญอื่นๆ ซึ่งอยู่นอกพระปาฏิโมกข์ (?)

------------------------------------

คุณฤทธีพยายามบอกว่า ทำไมสิกขาบทอีกตั้งมากมายที่มีความสำคัญกว่าเสขิยวัตร ที่เป็นเพียงมารยาททางสังคม กลับไม่ไปอยู่ในปาติโมกข์ (แล้วก็ยกตัวอย่างพุทธบัญญัติเรื่องการอุปสมบทขึ้นมา)

ปัญหาในเรื่องนี้ก็คือคุณฤทธีพยายามพูดคล้ายๆกับว่า มีสิกขาบทอีกหลายข้อที่สำคัญมากๆ ทำไมไม่ไปอยู่ในพระปาติโมกข์ ทำไมเอาพวกมารยาททางสังคมไปอยู่ในพระปาติโมกข์แทน

ความจริงแล้วถ้าคุณฤทธีเข้าใจในพุทธบัญญัติต่างๆมากกว่านี้ ก็คงจะพอมองออกได้ว่า  "พระปาติโมกข์คืออะไร"  และพุทธบัญญัติในเรื่องสังคมสงฆ์นั้นมีอะไรอย่างไรบ้าง

ขอให้พิจารณาให้ชัดว่า โดยส่วนมากพุทธบัญญัติเรื่องต่างๆ ทั้งการอุปสมบทก็ดี สังฆกรรมก็ดี เรื่องกฐิน หรือเรื่องจำพรรษาปวารณาอะไรต่างๆนั้น เป็น "เรื่องของหมู่สงฆ์ทั้งหมด"  ซึ่งแน่นอนว่าหมู่พระสงฆ์จะต้องศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้องร่วมกัน

แต่พระปาติโมกข์นั้น เป็นข้อปฏิบัติและสิกขาบทเฉพาะตัวพระภิกษุรูปนั้นๆที่จะต้องระวังรักษา ไม่ล่วงละเมิด โดยตนเอง

การสวดปาติโมกข์และการนำสิกขาบทมาสู่ อุเทศ ทุกกึ่งเดือนนั้นจึงมีความแน่นอนชัดเจนอยู่แล้วว่า  ให้พระภิกษุในวัดท่านได้ทบทวนสิกขาบทต่างๆที่มีความสำคัญเฉพาะตัว

ส่วนสิกขาบทอื่นๆนอกพระปาติโมกข์เป็นเรื่องที่ควรศึกษาในเมื่ออยู่ในหมู่สังคมสงฆ์

อนึ่ง เสขิยวัตรนั้น มักมีผู้พยายามบอกว่า "เป็นเรื่องมารยาททางสังคม จะสลักสำคัญอะไร"  ทั้งๆที่มีเสขิยวัตรอีกหลายข้อ ที่เป็นเรื่องสำคัญ ถึงพระพุทธเจ้าก็ต้องทรงมีสาธกนิทานตรัสเล่า อย่างเช่นในปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙ ข้อที่ ๗๘๐  พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมโดยอาการไม่เคารพ พระพุทธเจ้าทรงติเตียนโดยอเนกปริยาย แล้วก็ทรงบัญญัติสิกขาบท โดยให้ "พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่า..."

เรื่องที่สำคัญอย่างการแสดงธรรม และการต้องเคารพธรรม นี้ รู้ๆอยู่ว่าไม่ใช่เพียงแค่มารยาททางสังคมธรรมดา   แต่กลับมีผู้พยายามบอกว่า "โอ๊ย เสขิยวัตรก็แค่มารยาททางสังคม ไม่เห็นจำเป็นต้องอยู่ในพระปาติโมกข์เลย"  ซึ่งก็น่าแปลกดีเหมือนกัน


ทีนี้เรื่องหนึ่งที่คุณฤทธีพยายามย้ำเอามากๆว่า "ในสิกขาบทเสขิยวัตรไม่เห็นมีพระพุทธบัญญัติบอกเลยว่าจะปรับอาบัติอะไรอย่างไร  แต่ดันไปมีในสิกขาบทวิภังค์"  แล้วก็พยายามบอกว่าสิกขาบทวิภังค์นั้นไม่ใช่พุทธพจน์

ปัญหาที่ควรพิจารณาเป็นอย่างมากก็คือสิกขาบทวิภังค์นั้นคืออะไรกันแน่  ถ้าหากบอกว่าไม่ใช่พุทธพจน์ แล้วไม่พึงถือเอาล่ะก็ จะเป็นอย่างไร

ตอบได้เลยว่าเป็นปัญหาอย่างมาก   อย่าว่าแต่สิกขาบทเล็กน้อยเลย แม้แต่สิกขาบทใหญ่ๆอย่างปาราชิก ก็ยังมีสิกขาบทวิภังค์ไว้ให้เป็นข้อพิจารณา

หรือไม่ต้องไปดูอื่นไกลหรอก ดูเอาแค่นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ในเพราะรับเงินและทองก็ได้   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพุึทธบัญญัติในเรื่องนี้เพียงว่า

"๓๗.  ๘.  อนึ่ง  ภิกษุใด  รับก็ดี  ให้รับก็ดี  ซึ่งทอง  เงิน  หรือ  
ยินดีทอง   เงิน   อันเขาเก็บไว้ให้   เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์."

ถ้าไม่ถือเอาสิกขาบทวิภังค์เป็นหลักตัดสิน ก็จะมีปาปะภิกษุมาอ้างได้ว่า "โอ๊ย ไอ้ทองเงินในที่นี้น่ะ พระพุทธเจ้าทรงประสงค์เอา เพียงทองจริงๆ และเงินจริงๆ ไม่ใช่ตัวเงินบาท เงินดอลล่าห์ หรือพันธบัตร ฯลฯ ซักหน่อย

แต่เพราะในสิกขาบทวิภังค์มีอธิบายความไว้ชัดเจนเลยว่า

"ที่ชื่อว่า  ทอง   ตรัสหมายทองคำ

        ที่ชื่อว่า  เงิน  ได้แก่   กหาปณะ  มาสกที่ทำด้วยโลหะ  มาสกที่ทำ
ด้วยไม้    มาสกที่ทำด้วยครั่ง    ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขาย
กันได้.

        บทว่า  รับ   คือ  รับเอง  เป็นนิสสัคคีย์.

        บทว่า  ให้รับ  คือ  ให้คนอื่นรับแทน  เป็นนิสสัคคีย์.

 บทว่า  หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้     ความว่า   หรือยินดี
ทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ด้วยบอกว่า     ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า     ดังนี้
เป็นต้น  เป็นนิสสัคคีย์  ทอง   เงิน  ที่เป็นนิสสัคคีย์    ต้องเสียสละในท่าม
กลางสงฆ์ "

ข้อความเหล่านี้ ถามว่าเป็นพุทธพจน์ไหม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเองไหม ถ้าดูแล้วก็บอกว่า "ไม่เห็นมีคำไหนเลยที่ระบุว่า เป็นพุทธดำรัสตรงๆ"  แต่เราเอามาเป็นข้อตัดสินกรณีพระรับเงินและทองทำไมล่ะ?

ผมสมัครใจจะเชื่อว่า สิกขาบทวิภังค์นั้น น่าจะเป็นมติของพระอุบาลีเถระเจ้า และพระธรรมสังคาหกาจารย์ที่นำสืบพระวินัยปิฎกมา ได้อธิบายให้ความชัดเจนเอาไว้

แม้ในเสขิยวัตรก็เหมือนกัน จะเห็นได้ว่า ใน"พุทธบัญญัติ" นั้น ไม่มีตรัสว่า เป็นอาบัติอะไรอย่างไร แต่สิกขาบทวิภังค์ก็ได้ให้รายละเอียดไว้ว่าจะมีโทษอย่างไร


แต่ตามที่ผมบอกไปในกระทู้ก่อนหน้านั้นแล้วว่า  ข้อที่เราควรจะพิจารณา คงไม่ใช่ที่ "สิกขาบทวิภังค์"  เพื่อเอามาใช้สวดปาติโมกข์ แต่น่าจะเป็นพุทธดำรัสว่า   "ก็พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า ..." มากกว่า

แต่ดูเหมือนคุณฤทธีพยายามจะบอกว่า ข้อความตรงนี้เป็นสิ่งที่ถูกเพิ่มเข้ามา หรือ "พยายามทำให้เป็นสิกขาบทในพระปาติโมกข์"

โปรดพิจารณาข้อความดังต่อไปนี้

"ขอให้สังเกตดูให้ดีๆเถิดว่า ข้อความใน เสขิยกัณฑ์ เฉพาะส่วนที่เป็นพุทธพจน์จริงๆ มีอยู่แค่เพียง พระบัญญัติ ซึ่งพระพุทธองค์มิได้ทรงปรับอาบัติใดๆไว้ แต่ที่น่าแปลกก็คือ ในเสขิยวัตร ๗๕ ข้อนี้ มีความพยายามที่จะจัดรูปแบบให้เป็นแบบเดียวกันกับ สิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ทุกประการ ทั้งๆตัวพระบัญญัติแท้ๆ ไม่มีการปรับอาบัติ ซึ่งต่างจากสิกขาบทสำคัญๆนอกพระปาฏิโมกข์อย่างชัดเจน !!!!"

ที่ผมเป็นห่วงก็คือ คำว่า  "มีความพยายามจะจัดรูปแบบ"  ที่ว่านั้น คืออะไร?

๑. มีความพยายามจะจัดรูปแบบให้มีพุทธดำรัสว่า "ก็พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง....."

๒. มีความพยายามจะทำให้คล้ายๆกับสิกขาบทที่มีมาในพระปาติโมกข์

หรือมีความพยายามอะไรต่างๆพิเศษพิสดารมากกว่านั้น ซึ่งผมเองก็เดาไม่ออกว่า คุณฤทธีจะบอกเราว่า "ใคร" มีความพยายาม"อะไร"


คุณฤทธีคล้ายๆจะพยายามตั้งข้อสังเกตุว่า "เหมือนมีใครก็ไม่รู้จับยัดใส่พระโอฏฐ์ โดยเอาข้อความที่คล้ายๆว่าจะเป็นการบัญญัติสิกขาบท มาใส่ในเสขิยวัตร"  เช่นว่า

"ตรงนี้ ขอให้ลองพิจารณาเปรียบเทียบกับพระปาฏิโมกข์แท้ๆ ดังนี้ว่า ตัวของพระบัญญัติซึ่งเป็นพุทธพจน์แท้ๆนั้น จะปรากฏ “อาบัติ” อยู่อย่างชัดเจน ซึ่งลักษณะที่ปรากฏอยู่นี้ จะเหมือนกันกับสิกขาบทที่สำคัญๆนอกพระปาฏิโมกข์ และก็แตกต่างอย่างชัดเจนกับ เสขิยวัตร หรือ “มารยาทสังคม” ที่ถูกยกขึ้นสู่พระปาฏิโมกข์ โดยใคร และด้วยเหตุผลอย่างไร ก็มิอาจมีใครทราบได้เช่นกัน .... หรือมิใช่ (?)"

ปัญหาก็คือ ทั้งๆที่ "ยังไม่มีใครทราบได้" นั้น คุณฤทธีดูเหมือนจะตัดสินเองไปแล้วหรือเปล่าว่า  "ใคร" นั้น หมายถึง "ใคร" ที่บอกว่าให้เอาเสขิยวัตรขึ้นสู่ปาติโมกข์

ทำให้ผมล่ะทึ่งเอามากๆกับคณะวัดนาป่าพง หรือแม้แต่คุณฤทธี ที่พยายามบอกว่า "ยึดพระไตรปิฎก ยึดพระพุทธพจน์เป็นหลัก อรรถกถาอะไรไม่เอาทั้งนั้น"  แต่พอพระไตรปิฎกมีความระบุอย่างนี้ กลับพยายามจะบอกว่า "โอ๊ย ใครก็ไม่รู้จับเสขิยวัตรยัดมาให้พระสวดปาติโมกข์"


เถียงกับพระไตรปิฎกกันก็ทำได้ เออ สนุกกันจริงๆนะครับ


ป.ล.  ในขณะที่สิกขาบท (ถ้วน? , เกินกว่า) ๑๕๐ นั้น  ไม่มีระบุไว้ในพระสูตรเลยว่า มีสิกขาบทอะไรบ้าง  แต่วัดนาป่าพงก็จับๆเลือกๆเอามาสวดได้ ในขณะที่พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ได้ประมวลแล้วว่าสิกขาบทอะไรบ้างที่พึงนำมาสวด มาสอบทานกันมาศึกษากัน ในเวลาพระสวดปาติโมกข์ แต่ทางวัดนาป่าพงกลับตัดออกไปไม่เอามาพิจารณา

แก้ไขเมื่อ 16 มิ.ย. 54 00:40:31

แก้ไขเมื่อ 16 มิ.ย. 54 00:15:17

แก้ไขเมื่อ 16 มิ.ย. 54 00:12:16

จากคุณ : chohokun
เขียนเมื่อ : 16 มิ.ย. 54 00:09:42




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com