 |
ราคะ เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ แต่ก็เป็นกิเลสด้วยกันทั้งคู่
การรู้ว่าราคะเกิด แล้วพยายามระงับ อนุโมทนาด้วยครับ
การรู้ว่าโทสะเกิด แล้วพยายามระงับ อนุโมทนาด้วยครับ
การปล่อยให้กิเลสดับไปเอง ไม่ควรอย่างยิ่งครับ ถึงมันจะดับไปเพราะเปลี่ยนไปเป็นอารมณ์อื่น แต่ช่วงที่ยังไม่ดับนั้น โมหะมูลจิต โลภะมูลจิต โทสะมูลจิต เกิดเรียบร้อยไปแล้ว สำเร็จเป็นผลวิบากเรียบร้อยไปแล้ว และแน่นอนย่อมให้ผลกับเราในภายภาคหน้าตามกฎแห่งกรรม
แค่กระพริบตาครั้งเดียว หรือเพียงแค่ชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตเกิดดับนับเป็นแสนโกฏิดวง ( 1 โกฏิ เท่ากับ 10 ล้าน)
ดังนั้นถ้าจิตเกิดกิเลส ควรรีบข่มกิเลสโดยไว อย่าปล่อยให้กิเลสมันเพาะพันธุ์อกุัศลจิตให้ยิ่งพอกพูน
ปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้นแล้วคอยดูมันเฉยๆ จนกว่ามันจะดับ โดยไม่แทรกแซงนั้น มันดับไปก็จริง เดี๋ยวดับก็จริง แต่กว่าที่มันจะดับ อกุศลจิตเกิดนับไม่ถ้วนแล้ว
| โย เว อุปฺปติตํ โกธํ | รถํ ภนฺตํว ธารเย | | ตมหํ สารถิ พฺรูมิ | รสฺมิคฺคาโห อิตโร ชโน.
| | ผู้ใดแล พึงสะกดความโกรธที่พลุ่งขึ้น เหมือนคนห้ามรถ | | ที่กำลังแล่นไปได้ เราเรียกผู้นั้นว่า ‘สารถี’, ส่วนคนนอกนี้ | | เป็นเพียงผู้ถือเชือก. |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑
ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑
ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑
ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑
เป็นผู้น้อมไปในธรรมประณีต ๑
และเป็นผู้ยินดียิ่งในนิพพาน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรกระทำให้ แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ฯ
สีติสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=10207&Z=10223
แก้ไขเมื่อ 22 มิ.ย. 54 12:25:27
จากคุณ |
:
ปริญญาบ้าเกมส์
|
เขียนเมื่อ |
:
22 มิ.ย. 54 12:03:34
|
|
|
|
 |