 |
ความสำคัญและประวัติความเป็นมา สถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมนาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ห่างจากฝั่งออกไปประมาณ ๒๐๐ เมตร อยู่ด้านทิศตะวันตกบริเวณเป็นที่เนินสูง เพราะเป็นซากของมหาสังฆารามโบราณ ที่นี่เคยเป็นที่พักของพระสงฆ์ถึง ๒,๐๐๐ รูป ล้วนใฝ่ใจในการศึกษา ปฏิปทางดงามตามพระธรรมวินัย มหาชนศรัทธาเลื่อมใสมาก พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทได้เจริญรุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้ ถึง พ.ศ. ๗๐๐ หลังจากนั่นก็เริ่มอ่อนกำลังลง พุทธคยาเป็นเขตอิทธิพลของพวกฮินดูคยาเกษตรใช้เป็นที่ถวายบบิณฑ์ ๑ ใน ๑๖ แห่ง เมืองพระพุทธองค์ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ที่นี่ จึงเรียกว่า พุทธคยา .............................
ความเห็นของมหาตมคานธี วิหารพุทธคยานี้ควรเป็นสมบัติของชาวพุทธโดยชอบธรรม การนำสัตว์ไปฆ่าทำพิธีกรรมในวิหารมหาโพธิ์ ไม่สมควร เพราะล่วงละเมิดต่อสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา เป็นการประทุษร้ายต่อจิตใจของชาวพุทธทั่วไป ............................
ประวัติศาสตร์เมืองพาราณสี พาราณสี เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดของอินเดียที่ไม่เคยล่มสลาย กระทั่งชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของวัฒนธรรมแห่งภารตชน สมัยพุทธกาล เป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคงคา เป็นเมืองถูกเสนอชื่อให้มาปรินิพพาน ๑ ใน ๖ เรือง คำว่า พาราณสี วรุณะ+อสี ทั้งสองคำนี้ เป็นชื่อของแม่น้ำ เมื่อนำมา รวมกันจึงได้คำว่า วาราณสี ในกปิลชาดก มาจากคำว่า วานร+สีสะ = วานรสีสะ = วานรสี เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ ๑ ใน ๗ เมืองของอินเดีย คือ ๑. หริทวาร์ ๒. อุชเชนี ๓. อโยธยา ๔. มถุรา ๕. ทวารก ๖. กาญจีปุรัม ๗. พาราณสี ในชาดกยังพบว่า มีชื่อเรียกอีก คือ สุรุนธนคร, สุทรรศนนคร, ปุปผาวดีนคร, พรหมวัฒนนคร, รัมมนคร, กาสีสุระ, รามนคร สมัยอังกฤษปกครอง เรียกว่า บานารัส หรือเบนาเรส ...........................................
ประวัติ เมืองกุสินาราเป็นเมืองหลวงแคว้นมัลละ พระศาสดาทรงเสด็จมาหลายครั้งหลังจากพระบรมศาสดาทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ ปี จึงได้ตกเป็นเมืองขึ้นของแคว้นมคธ สถานที่ปรินิพพานชื่อ สาลวโนทยาน เป็นอุทยานต้นสาละของเจ้ามัลละกษัตริย์แห่งกรุงกุสินารา ปัจจุบันตั้งอยู่ตำบลกาเซีย จังหวัดกุสินาคาร์ รัฐอุตตรประเทศ ภายในมีสถูปสร้างสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
จากคุณ |
:
Panditkashi
|
เขียนเมื่อ |
:
24 มิ.ย. 54 18:20:14
|
|
|
|
 |