Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ร่วมกันศึกษา พุทฺธวจน ครับ (แจก GIVE ครับ จะสิ้นเดือนแล้วเหลือตั้ง ๔ โหลกว่า) ติดต่อทีมงาน

เนื่องจากพระสูตร http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10854248/Y10854248.html#77
สรุปได้ความว่า อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญเพียงกาลลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่าทานทั้งหลายโดยแท้

- อนิจจสัญญา เป็นไฉน ?
ดูกรอานนท์ ก็ อนิจจสัญญา เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง 
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ 
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา 
 // ทสก.อ. ๒๔/๙๙/๖๐

- อนิจจสัญญา ครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว 
ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ 
ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ 
ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ 
ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ 
ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้.
//ขนฺธ.ส. ๑๗/๑๕๔/๒๖๓

- อนิจจสัญญา ธรรมเป็นส่วนแห่งวิชชา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา 
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ 
อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ 
ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ฯ
//ปญฺ จก. อํ. ๒๒/๓๐๔/๓๐๖

- อนิจจสัญญา เป็นไปเพื่อละอัสสาททิฐิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ 
อัสสาททิฐิ (สัสสตทิฐิ) ๑ อัตตานุทิฐิ (สักกายทิฐิ) ๑ มิจฉาทิฐิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการอันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการ
เหล่านี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอัสสาททิฐิ
อนัตตสัญญา ๑ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอัตตานุทิฐิ 
สัมมาทิฐิ ๑ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละมิจฉาทิฐิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
//ปญฺ จก. อํ. ๒๒/๔๐๑/๓๘๓
*อัสสาททิฐิ เป็นไฉน : http://www.84000.org/tipitaka/read/?31/309-310

- บุคคลเจริญ อนิจจสัญญา พึงหวังผลอมตะได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๕ ประการเป็นไฉน คือ 
อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา มรณสัญญา อาหาเรปฏิกูลสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว 
ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มากหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ
//ปญฺ จก. อํ. ๒๒/๗๐/๖๑

- อนิจจสัญญา >> อนัตตสัญญา >> นิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว 
พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ 
พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ 
พึงเจริญเมตตาเพื่อละความพยาบาท 
พึงเจริญอานาปานสติเพื่อเข้าไปตัดวิตก 
พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ 
ดูกรภิกษุทั้งหลายอนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา 
ผู้ที่ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพาน อันถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะในปัจจุบันทีเดียว ฯ
//นวก. อํ. ๒๓/๒๘๕/๒๐๕

- บุคคลเจริญ อนิจจสัญญา ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุทั้งหลายจักเจริญอนิจจสัญญาอยู่เพียงใด 
ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น
...ฯลฯ...
//นวก. อํ. ๒๓/๒๕/๒๕
*อปริหานิยธรรม ๗ : http://www.84000.org/tipitaka/read/?23/25

- อานิสงส์ ๖ ประการปรากฏพร้อม อนิจจสัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ 
เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังอนิจจสัญญาให้ปรากฏ 
อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า
สังขารทั้งปวงจักปรากฏโดยความเป็นของไม่มั่นคง ๑ 
ใจของเราจักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง ๑ 
ใจของเราจักออกจากโลกทั้งปวง ๑ 
ใจของเราจักน้อมไปสู่นิพพาน ๑
สังโยชน์ทั้งหลายของเราจักถึงการละได้ ๑ 
และเราจักเป็นผู้ประกอบด้วยสามัญญธรรมชั้นเยี่ยม ๑ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล 
เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังอนิจจสัญญาให้ปรากฏ ฯ
//ปญฺ จก. อํ. ๒๒/๓๙๖/๓๗๓

อีกประเด็นสำคัญของกระทู้นี้ คือ...
เชิญชวนเพื่อนๆ ยกพระสูตรที่ชื่นชอบ ร่วมกันแบ่งปันครับ

จากคุณ : ไม้มณฑารพ
เขียนเมื่อ : 29 ก.ค. 54 19:29:06




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com