เอาหล่ะ ๆ ถือว่าหยวน ๆ กันไป เพราะหาก คุณโขตาน บอกว่า ..........
*****************************************************
....ไม่ได้กล่าวถึงการปฏิบัติผิดของท่านพุทธทาส แต่เป็นเรื่องของความเห็นผิด ของท่านพุทธทาสในหลักธรรมหลายๆอย่าง คุณเฉลิมศักดิ์ 1 ก็เคยเอาหลักฐานมาแสดงมากมายนับครั้งไม่ถ้วนแล้ว คงไม่ต้องเอามารื้ออะไรกันอีก เรื่องใหญ่ๆ เช่น ที่ท่านพุทธทาสโจมตี อภิธรรม อรรถกถา เป็นต้น
*****************************************************
นั่นย่อมแสดงว่า การที่คุณโขตาน เอาชื่อท่านพุทธทาสไปรวมอยู่ในกลุ่มของพระผู้ "ปฏิบัติผิด" จนต้องถูกลงโทษ ทั้งทางสังฆอาณา ทั้งทางราชอาณา อย่างเช่น สามคน สามชื่อหลังนั้น ผมก็จะถือซะว่า เป็นเพียงความบกพร่อง ของคุณเอง เพราะว่าคุณก็บอกเองว่า ท่านพุทธทาส มิได้ปฏิบัติผิด เป็นเพียง ความเห็นที่ผิด ไปจากคุณเฉลิมศักดิ์ ซึ่งเป็นคนโนเนม..เป็นใครก็ไม่รู้ ไม่เคยมีความหมายในสายตาของสังคม
แต่ท่านพุทธทาส มิได้อยู่ในความเข้าใจว่า ว่าเห็นผิด ในสายตาของคนระดับ สมเด็จพระสังฆราช 2 พระองค์ ของประเทศนี้ และท่านพุทธทาส อยู่ในฐานะที่พึงเคารพ ยกย่อง ถึงขนาด สมเด็จพระสังฆราช ทรงประพันธ์คาถาภาษาบาลียกย่อง แต่คนระดับเฉลิมศักดิ์ กลับแต่งเรื่องยืดยาว มาก่นด่า เพียงเพราะ เห็นว่า ท่านพุทธทาส มีความเห็นไม่ตรงกับความเข้าใจของตนเท่านั้น และก็อย่างที่บอกแล้วว่า
หากเปรียบเทียบระหว่าง คนเฉกเช่น เฉลิมศักดิ์อะไรนั่น กับ คนระดับพระสังฆราช ทั้ง 2 พระองค์ ของประเทศนี้ และคนชั้นนำ ที่เป็นที่เคารพนับถือของคนโดยทั่วโลกแล้ว เฉลิมศักดิ์ เป็นใครก็ไม่รู้ ไม่มีใครให้ค่า ไม่มีคนรู้จัก ดังนั้น ผมก็คิดว่า คุณโขตาน เพียงแค่รู้สึก เห็นพ้องต้องใจ ไปกับ บุคคลเฉกเช่น เฉลิมศักดิ์ เท่านั้น .....ก็ไม่เป็นไรครับ กรณี ของคุณโขตาน ก็ถือว่า จบได้
ส่วนกรณีของเฉลิมศักดิ์ อะไรนั่น ผมไม่เคยไปต่อล้อต่อเถียงอะไร เพราะจากการที่เคยอ่านผ่าน ๆ ตามาบ้าง แค่สองสามครั้ง ก็เห็นว่า ไม่น่าจะต้องไปให้ความสนใจอะไร เพราะแม้แต่สำนวนการเขียนก็ห่างจาก โขตานมาก.....
เฉลิมศักดิ์ ไม่มีสาระใด ๆ ที่บุคคลทั่วไป จะพึงนำมาใช้ในทางเกิดประโยชนได้ แต่ โขตาน ยังมีอะไรที่ดี ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะ ในชื่อของศิษย์พระป่า ที่ยังเป็นที่ชื่นชมของสมาชิดจำนวนมาก ในห้องศาสนาแห่งนี้
เฉลิมศักดิ์ ก็คงได้แต่อ้างเรื่องอรรถกถา ที่ตนเองก็ยังไม่รู้ไม่เข้าใจในที่มาที่ไปดีพอ เท่ากับท่านพุทธทาส ดังนั้น ความรู้ ความเห็นที่บกพร่อง ของคนระดับเฉลิมศักดิ์ จึงไม่น่าจะมีความหมายอะไรที่จะต้องไปสนใจมากนั้น ผมยืนยัน จะเอ่ยชื่อของเฉลิมศักดิ์ เพียงที่นี่ที่เดียว และคงเป็นครั้งเดียว เพราะผมเชื่อว่า ประชาชน คนทั่วไป แค่ เอาชื่อเฉลิมศักดิ์ กับชื่อของสมเด็จพระสังฆราช ทั้งสองพระองค์ มาพิจารณาดู ก็คงจะพอจะมองเห็นอะไรได้ไม่ยากนัก
สมเด็จพระสังฆราช ทรงยกย่องเชิดชู ถึงขนาด ทรงแต่งคาถาภาษาบาลีถวายสดุดีแก่ปูชนียาจารย์ เช่นท่านพุทธทาส แต่ คนธรรมดา ๆ สามัญผู้เสพกามกิเลส ทั่ว ๆ ไป เฉกเช่น เฉลิมศักดิ์ กลับ แต่งเรื่องยาวเพื่อก่นด่าท่านพุทธทาส ....แค่นี้ เราก็พอจะประเมินได้ ว่าเพราะอะไร
ดังนั้น หากเข้าใจตามความเห็ที่ 13 ของคุณโขตาน คุณโขตาน เพียงแค่เห็นดีเห็นงาม เอออวย ไปกับ เฉลิมศักดิ์ ในกรณีของการตีความ อรรถกถา เท่านั้น และโดยส่วนตัวของคุณโขตาน ก็ยังเห็นว่า ท่านพุทธทาส ยังมิได้ปฏิบัติอะไรผิด อย่างเช่น คนสามคนที่กล่าวมา
ดังนั้น ในเรื่องนี้ ระหว่าง ความเห็นส่วนตัวของผม กับ คุณโขตาน ก็คงจะจบได้ด้วยดี ไม่ติดใจอะไรหรอก หากเข้าใจตรงกัน ตามความเห็นที่ 13 ของคุณโขตาน
ส่วนเฉลิมศักดิ์ จะเอาเรื่องความเห็นต่าง ในเรื่องอรรถกถานั้น ผมเห็นที จะไม่ขอยอมเสียเวลาไปกับเฉลิมศักดิ์หรอกครับ ที่ยอมเอ่ยถึงในกระทู้นี้ ก็เพราะ เป็นชื่อบุคคลที่ คุณโขตานอ้างอิงมาเท่านั้น
ส่วนในเรื่องการตีความ อรรถกถา....
1. กลุ่มที่หนึ่ง ขอเชื่อทุกตัวอักษร ไม่เว้นแม้แต่เรื่องท้องนิทานชาดก ซึ่งบางเรื่องก็เป็นแค่เรื่องพื้นบ้าน ในยุคอรรถกถานั่นเอง แล้วเอามาเขียนเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้เกิดอรรถรส ในการเสพวรรณกรรม เชิงศาสนา และนำคติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่คนส่วนนี้ กลับเชื่อทุกตัวอักษร เช่นเชื่อแม้กระทั่งว่า สัตว์เลื้อคลานพูดได้ เป็นต้น กลุ่มนี้ จะแค้นเคืองมาก หากใครบังอาจมาบอกว่า ขอไม่เชื่อท้องนิทาน แต่จะเชื่อเฉพาะ คติธรรมที่เป็นประโยชน์ (ท่าพุทธทาส คือผู้ที่ ไม่สนใจท้องนิทานมากนัก แต่จะเอาเฉพาะคติธรรมที่เป็นประโยชน์มาใช้)
2. อีกกลุ่มหนึ่ง ก็อย่างที่บอก คือ ไม่สนใจว่า จะต้องเชื่อไปซะทุกตัวอักษร ในอรรถกถา และกล้าที่จะวิจารณ์ งานประพันธ์ ของพระมหาเถระบางท่านในอดีต ที่ถือเอาคติส่วนตน สังคม และวัฒนธรรม ในยุคที่ตนมีชีวิตอยู่ (หลังพุทธประนิพพานเป็นพัน ปี) เอามาแต่งเติมเข้าไปเองบ้าง วิจารณ์ วิเคราะห์โดยอัตโนมติ ของตนบ้าง ทั้งนี้ อาจจะเป็นไปเพราะหวังดีบ้างก็มี อาจเป็นไปเพราะสิ่งแวดล้อม สังคมที่ท่านมีชีวิตอยู่ในยุคนั้นบ้าง มามีอิทธิพล ฯลฯ
ดังนั้น คนสองกลุ่มนี้ เชื่อไม่เหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่
- คนกลุ่มแรก จะรู้สึกแค้นเคือง คนกลุ่มที่สองเป็นอันมาก และก่นด่า อย่างไม่ปราณีปราศัย ทั้ง ๆ ที่ คนกลุ่มที่สอง แค่บอกว่า เราเห็นต่าง ในบางเรื่องบางเหตุการณ์เท่านั้นเอง และการเห็นต่าง ก็ไม่ได้ทำให้หลักธรรมแท้ ๆ ของพระพุทธองค์ จะเสือมเสียไป เพราะ เป็นการเห็นต่าง ในชั้น อรรถกถา เท่านั้น และบางทีก็แค่เห็นต่าง ในปกรณ์พิเศษ หรือเรื่องบางเรื่องที่ พระเถระรุ่นหลัง ๆ นานนับพันปี จากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมา เอามาคัดลอก แต่งเติมเข้าไปบ้าง และอาจจะเอาเข้าไปโดยที่มีเจตนาดี อยากให้คนยุคนั้น (ในประเทศลังกา) ได้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น โดยที่แต่งใหม่ คัดลอกใหม่ และเพิ่มเติมบางส่วนเข้าไปแล้ว ก็เผาต้นฉบับเดิมเสีย (ท่านที่สนใจเรื่องนี้ ก็คงต้องไปค้นคว้าหลักฐานเอาเอง ว่ายุคไหน)
แต่บังเอิญโชคดีที่ว่า ต้นฉบับเดิมที่ท่านเผาไปนั้น มิได้มีเพียงฉบับเดียว ทางประเทศจีน ได้คัดลอก เอาไปเก็บไว้ที่ประเทศจีน ก่อนหน้านั้นเรียบร้อยแล้ว จึงยังคงมีหลักฐานอยู่ว่า ฉบับใหม่ ได้ถูกแต่งเติม โดยพระเถระรูปนั้นจริง ๆ เพราะเนื้อความแตกต่างเยอะมาก
เรื่องนี้ คงต้องจัดวงสัมมนา ถกกันเป็นประเด็นในเชิงวิชาการกันครับ แต่ต้องสัญญากันก่อนว่า จะไม่ลุกมาต่อยปากกัน