 |
เสริมความเห็นที่ 111 คุณ chaosy
.....10. ทรงอนุญาตเนื้อสัตว์ดิบ โลหิตดิบ ในเมื่ออาพาธ เนื่องด้วยอมนุษย์
---------- พระไตรปิฏกฉบับประชาชน พระวินัยปิฏก พระวินัยเล่มที่ 5 หน้า 3
หน้า ๓
๑. เภสัชชขันธกะ (หมวดว่าด้วยยา) ทรงอนุญาตเภสัช ๕ และอื่น ๆ
๑. ภิกษุหลายรูปอาพาธ ดื่มข้าวยาคู หรือฉันอาหารก็อาเจียนออก (เพราะอาหารไม่ย่อย) จึงซูบผอม พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ให้ฉันได้ทั้งในกาล (ก่อนเที่ยง) และในวิกาก (เที่ยงแล้วไป)
๒. ทรงอนุญาตเปลวสัตว์หลายอย่าง ให้เคี้ยวบริโภคเป็นเภสัชได้เฉพาะในกาล
๓. ทรงอนุญาตให้ฉันมูลเภสัช (ยาที่เป็นหัวหรือเหง้าไม้) เช่น ขมิ้น ขิง เป็นต้น ได้ตลอด ไม่กำหนดกาล แต่ต้องมีเหตุสมควร ถ้าไม่มีเหตุสมควร ต้องอาบัติทุกกฏ สำหรับภิกษุผู้อาพาธ ทรงอนุญาตให้ใช้หินบดบดได้
๔. ทรงอนุญาตให้ฉันกสาวเภสัช (ยาที่เป็นน้ำฝาดจากต้นไม้) ได้ตลอดชีวิต ในเมื่อมีเหตุสมควร
๕. ทรงอนุญาตให้ฉันปัณณเภสัช (ใบไม้ที่เป็นยา) ได้ตลอดชีวิต ในเมื่อมีเหตุสมควร
๖. ทรงอนุญาตให้ฉันผลเภสัช (ผลไม้ที่เป็นยา) เช่น ดีปลี สมอ มะขามป้อม ได้ตลอดชีวติ
๗. ทรงอนุญาตให้ฉันชตุเภสัช (ยางไม้ที่เป็นยา) เช่น มหาหิงคุ์ ได้ตลอดชีวิต เมื่อมีเหตุสมควร
๘. ทรงอนุญาตโลณเภสัช (เกลือที่เป็นยา) เช่น เกลือสมุทร เกลือสินเธาว์ ได้ตลอดชีวิต เมื่อมีเหตุสมควร
๙. ทรงอนุญาตให้ใช้ยาผง ในเมื่อเป็นแผลพุพอง หรือกลิ่นตัวแรง เพื่อมิให้แผลติดจีวร สำหรับภิกษุผู้ไม่อาพาธ ทรงอนุญาตให้ใช้มูลโค (แห้ง) ดิน (แห้ง) และกากเครื่องย้อม ทรงอนุญาตครก สาก และแล่ง(สำหรับร่อนยาผง) เพื่อการนี้
๑๐. ทรงอนุญาตเนื้อสัตว์ดิบ โลหิตดิบ ในเมื่ออาพาธ เนื่องด้วยอมนุษย์
๑๑. ทรงอนุญาตยาตา และกลักยาตา สำหรับภิกษุผู้อาพาธเป็นโรคตา แต่ห้ามมิให้ใช้กลักยาตา ที่ทำด้วยเงินทองแบบของคฤหัสถ์ กับทรงอนุญาตฝาปิดกลักยาตา และให้ใช้ด้ายพันกันฝาตก กับทรงอนุญาตให้ใช้ไม้ป้ายยาตาและถุงใส่ไม้ป้ายยาตา รวมทั้งสายสำหรับสะพายคล้องบ่า
๑๒. ทรงอนุญาตให้ทาน้ำมันที่ศีรษะ เมื่อเป็นโรคร้อนศีรษะ และอนุญาตให้นัตถุ์ยา และกล้องยานัตถุ์ แต่กล้องยานัตถุ์ ห้ามใช้ที่ทำด้วยทองเงินหรืองดงามแบบของคฤหัสถ์, ทรงอนุญาตกล้องยานัตถุ์ที่มีหลอดคู่. ทรงอนุญาตให้สูดควัน (ของยา) ทางจมูก, ทรงอนุญาตกล้องยาสูบ (ที่ใช้รักษาโรค) แต่ไม่ให้ใช้กล้องที่ทำด้วยทองเงินหรืองดงามแบบคฤหัสถ์, ทรงอนุญาตให้มีเครื่องปิดกล้องยาสูบ (เพื่อกันสัตว์เข้าไปข้างใน), ทรงอนุญาตถุงใส่กล้องยาสูลและถุงคู่ รวมทั้งสายสำหรับสะพายคล้องบ่า
๑๓. ทรงอนุญาตให้เคี่ยวน้ำมัน (ทำยา) และทรงอนุญาตให้เติมน้ำเมาลงในน้ำมันที่จะทำยาได้ โดยมีเงื่อนไขว่า น้ำเมาที่ใส่นั้น สีกลิ่นรสไม่ปรากฏ. ทรงอนุญาตภาชนะสำหรับใส่น้ำมันที่ทำด้วยโลหะ, หรือผลไม้. ทรงอนุญาตการทำให้เหงื่อออก ตั้งแต่อย่างธรรมดาถึงอย่างเข้ากระโจม โดยมีถาดน้ำร้อนอยู่ในนั้น
๑๔. ทรงอนุญาตให้นำเลือดออกด้วยใช้เขาควายดูด. (คือการกอก ได้แก่เจาะเลือดออกเล็กน้อย แล้วใช้เขาควายกดลงไปให้ดูดเลือดออก ในอรรถกถาไม่ได้บอกว่าต้องจุดไฟด้วยหรือไม่ ตามธรรมดาการทำเช่นนี้ต้องจุดไฟที่เศษกระดาษหรือเชือ้ไฟอื่น ๆ เพื่อไล่อากาศ เขาควายจึงมีแรงดูด)
๑๕. ทรงอนุญาตยาทาเท้า เมื่อเท้าแตก และอนุญาตให้ปรุงยาทาเท้าได้
๑๖. ทรงอนุญาตการผ่าฝี และอนุญาตกระบวนการทั้งปวงที่เนื่องด้วยแผลผ่าตัดนั้น
๑๗. ทรงอนุญาตยา ๔ ชนิด ในขณะถูกงูกัด คือ มูตร (ปัสสาวะ) คูถ (อุจจาระ) ขี้เถ้าและดินในขณะรีบด่วนเช่นนั้น ถ้าไม่มีคนทำให้ ให้ถือเอาเองแล้วฉันได้ ไม่เป็นอาบัติ (ยาชนิดนี้จะเพื่อให้อาเจียนหรืออย่างไร ไม่มีบอกไว้)
๑๘. ทรงอนุญาตยาและอาหารอ่อนบางอย่างตามควรแก่โรคและความต้องการที่จำเป็น เช่น น้ำด่างจากขี้เถ้าของข้าสุกเผา แก้โรคท้องอืด สมอดองน้ำมูตรโค แก้โรคผอมเหลือง, การทาตัวด้วยของหอม แก้โรคผิวหนัง. น้ำข้าวใส, น้ำถั่วต้มที่ไม่ข้น, น้ำถั่วต้มที่ข้นเล็กน้อย, น้ำเนื้อต้ม (เป็นการผ่อนผันให้เหมาะแก่อาพาธ).
ทรงห้ามเก็บเภสัช ๕ ไว้เกิน ๗ วัน
มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสพระปิลินทวัจฉะ ในฐานะมีอำนาจจิตสูง ใช้อำนาจจิตได้หลายอย่าง พากันถวายเภสัช ๕ คือ เนยใส, เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย เป็นอันมาก ท่านก็แบ่งถวายภิกษุผู้เป็นบริษัทของท่าน ภิกษุเหล่านั้นเก็บของเหล่านี้ใส่ผ้ากรองบ้าง ใส่ถุงบ้าง แขวนไว้บ้าง พาดที่หน้าต่างบ้าง มีหนูรบกวนมาก เป็นที่ติเตียนของคนทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติว่า ภิกษุรับเภสัช ๕ แล้ว จะเก็บไว้บริโภคได้ไม่เกิน ๗ วัน ถ้าล่วงกำหนดนั้นไป ให้ปรับอาบัติตามควร (คืออาบัติปาจิตตีย์ ส่วนอาหารห้ามเก็บไว้ค้างคืนเพื่อจะฉันแพ้เพียงคืนเดียว).
ทรงอนุญาตของฉันบางอย่าง
ทรงอนุญาตให้ฉันน้ำอ้อยที่ใส่ขี้เถ้าใส่แป้งเล็กน้อย (เพียงเพื่อให้ยึดติดกัน) ทรงอนุญาตให้ฉันถั่วเขียว และข้าวต้มเปรี้ยวใส่เกลือได้๑ สำหรับภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ให้เจือน้ำดื่มได้.
ห้ามเก็บอาหารค้างคืนในที่อยู่ เป็นต้น
พระผู้มีพระภาคทรงอาพาธด้วยโรคลมในท้อง. พระอานนท์ของา ข้าวสาร ถั่วเขียว ด้วยตนเอง เก็บค้างคืนไว้ในที่อยู่แล้วต้มเองในที่อยู่เสร็จแล้วถวาย พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงตรัสห้ามเก็บอาหารค้างคืนในที่อยู่ (อันโตวุตถะป ห้ามหุงต้มอาหารในที่อยู่ (อันโตปักกะ) และห้ามหุงต้มเอง (สามปักกะ) ผู้ล่วงละเมิดต้องอาบัติทุกกฏ แต่การอุ่นของที่สุกแล้วอนุญาตให้ทำได้. ต่อมาเกิดข้าวยากในกรุงราชคฤห์ ทรงอนุญาตให้เก็บอาหารค้างคืนในที่อยู่, ให้หุงต้มอาหารในที่อยู่, ให้หุงต้มเองได้. (แต่เมือ่บ้านเมืองกลับสู่สภาพปกติ ก็ทรงห้ามการเก็บอาหารค้างคืนที่อยู่ เป็นต้นนั้นอีก ดังที่ปรากฏข้างหน้า).
อนึ่ง ทรงอนุญาตว่า (ในการเดินทางไกล) เห็นผลไม้ตกอยู่ ถ้าไม่มีกัปปิยการก (ผู้จัดทำสิ่งที่ควร) ก็ให้เก็บนำไปเอง ต่อพบกัปปิยการก จึงให้วางบนพื้นดิน ให้เขาจัดถวายให้ฉันได้. ทรงอนุญาตให้รับประเคนผลไม้ที่เก็บมาเองได้. (ข้อนี้ต่อมาก็ทรงยกเลิกเช่นเดียวกับเรื่องการเก็บอาหารในที่อยู่).
ทรงอนุญาตเรื่องการฉันหลายข้อ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุที่ฉันเสร็จแล้ว บอกไม่รับอาหารที่เขาเพิ่มให้แล้ว ฉันอาหารที่ไม่เป็นเดน ซึ่งนำมาจากบ้านเจ้าภาพได้ (ห้ามไว้ในสิกขาบทที่ ๕ โภชนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์ แต่ทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า ถ้าเจ้าภาพนำมาถวายที่วัดอีกให้ฉันได้). อนึ่งถ้าเขาถวายไว้ก่อนเวลาอาหาร และถ้าของนั้นเป็นของป่า ของเกิดในสระก็ทรงอนุญาตให้ฉันได้. อนึ่ง ผลไม้ที่ไม่มีพืช หรือที่ปล้อนพืชออกแล้ว ไม่มีใครทำให้ควรก็ทรงอนุญาตให้ฉันได้. (ในข้อหลังนี้ มุ่งเพียงไม่ให้ทำลายเมล็ดพืชของผลไม้ ถ้าฉันโดยไม่ทำลายเมล็ดพืชก็ทำได้).
ทรงห้ามทำการผ่าตัดหรือผูกรัดที่ทวารหนัก
ทรงห้ามผ่าตัด หรือผูกมัดด้วยหนังหรือผ้า ภายในบริเวณ ๒ นิ้ว โดยรอบทวารหนัก ผู้ฝ่าฝืนต้องอาบัติถุลลัจจัย (เกี่ยวกับริดสีดวงทวาร).
ทรงห้ามฉันเนื้อที่ไม่ควร
๑. ทรงห้ามฉันเนื้อมนุษย์ ผู้ฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ภิกษุจะฉันเนื้อสัตว์ ต้องพิจารณาก่อน ขืนฉัน ทั้งไม่พิจารณา ต้องอาบัติทุกกฏ. (นางสุปปิยาอุบาสิกาเห็นภิกษุอยากฉันเนื้อ หาเนื้อไม่ได้ จัดตัดเนื้อตนเองปรุงอาหารถวาย)
๒. ทรงห้ามฉันเนื้อสัตว์ที่ไม่สมควรอีก ๙ ชนิด คือ เนื้อช้าง, เนื้อม้า, เนื้อสุนัขบ้าน, เนื้องู, เนื้อราชสีห์ (สิงโต), เนื้อเสือโคร่ง, เนื้อเสือดาว, เนื้อหมีและเนื้อสุนัขป่า.
ทรงอนุญาตและไม่อนุญาตของฉันบางอย่าง
๑. ทรงอนุญาตข้าวยาคู และขนมผสมน้ำผึ้ง ทรงสรรเสริญข้าวยาคูว่ามีอานิสงส์มาก (ส่วนหนึ่งแปลไว้ในข้อความน่ารู้ ในหมายเลข ๖๒)
๒. ถ้าเป็นข้าวยาคู แบบข้น มีเนื้อข้าวมาก ที่เรียกว่าโภชชยาคู ซึ่งฉันได้อิ่ม ถ้ารับนิมนต์แนที่อื่นไว้ ห้ามฉันยาคูชนิดนี้ของผู้อื่น ก่อนไปฉันในที่นิมนต์
๓. ทรงแสดงธรรมโปรดเวลัฏฐะ กัจจานะ ผู้ถวายงบน้ำอ้อยแก่ภิกษุทั้งหลายให้ได้ดวงตาเห็นธรรม ปฏิญญาตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ต่อมาทรงปรารภเรื่องงบน้ำอ้อย ทรงอนุญาตให้ภิกษุที่ป่วยไข้ฉันได้ แต่ภิกษุผู้ไม่ป่วยไข้ ให้ละลายน้ำฉัน.
เสด็จแสดงธรรมที่ปาฏลิคามและโกฏิคาม
พระผู้มีพระภาคเสด็จจากรกุงราชคฤห์ไปยังปาฏลิคาม ทรงแสดงธรรมโปรดอุบาสกชาวปาฏลิคาม เรื่องโทษแห่งศีลวิบัติ (ความบกพร่องแห่งศีล) ของผู้ทุศีล และอานิสงส์แห่งศีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) ของผู้มีศีล.
มหาอำมาตย์แห่งมคธ ชื่อสุนีธวัสสการะ นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว พระผู้มีพระภาคเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาไปยังโกฏิคาม (ตั้งอยู่ในแคว้นวัชชี) ทรงแสดงธรรมเรื่องอริยสัจจ์ ๔.
นางอัมพปาลีถวายป่ามะม่วง
นางอัมพปาลี (ผู้เป็นหญิงนครโสเภณี) ได้เดินทางโดยขบวนยานจากกรุงไพศาลี (ราชธานีแห่งแคว้นวัชชี) ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงโกฏิคาม แล้วนิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น. คณะกษัตริย์ลิจฉวีแห่งกรุงไพศาลี ก็เดินทางไปโกฏิคาม เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลนิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น แต่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ของนางอัมพปาลีไว้ก่อนแล้ว คณะกษัตริย์ลิจฉวีขอร้องนางอัมพปาลีให้พวกตนได้เลี้ยงก่อน นางไม่ยอม. ในวันรุ่งขึ้นเมื่อถวายอาหารแด่พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์เสร็จแล้ว จึงกราบทูลถวายป่ามะม่วงให้เป็นสังฆาราม.
สีหเสนาบดีเปลี่ยนศาสนา
สีหเสนาบดีเป็ฯสาวกนิครนถ์ (ศาสนาเชน) ได้ฟังคณะกษัตริย์ลิจฉวีสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ก็ใคร่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อไปปรึกษากับอาจารย์คือนครนถนาฏบุตร ก็ถูกห้ามปรามถึง ๓ ครั้ง ในที่สุดได้ตัดสินใจไปเฝ้าโดยไม่บอกอาจารย์. เมื่อได้ไปเฝ้ากราบทูลถามถึงข้อที่มีคนกล่าวหาพระผู้มีพระภาค ซึ่งได้ทรงชี้แจงโดยละเอียดแล้วทรงแสดงธรรมโปรด. สีหเสนาบดีได้ดวงตาเห็นธรรม (เป็นโสดาบันบุคคล) และได้นิมนต์ฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น. พวกนิคนถ์เที่ยวพูดว่า สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์มาทำเป็นอาหารเลี้ยงพระ พระสมณโคดมรู้อยู่ก็ยังฉันเนื้อสัตว์นั้น. สีหเสนาบดีได้ทราบก็ปฏิเสธว่าไม่เป็นจริง แล้วก็ถวายอาหารแด่พระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ต่อไปจนเสร็จ.
พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเหตุนั้น จึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามฉันเนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าทำถวายเจาะจงภิกษุ ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ฉัน และทรงอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยเงื่อนไข ๓ ประการ คือ ไม่ได้เห็น, ไม่ได้ฟัง, ไม่ได้นึกรังเกียจ (ว่าเขาฆ่าเพื่อให้ตนบริโภค).
-------------------
๑. ข้าวเปรี้ยวใส่เกลือ แปลจากคำว่า โลณโสจิรกํ ในฉบับยุโรป เป็น โลณโศวีรกํ คำว่า โสวีรก ในสันสกฤต เป็น เสาวีรก (sour gruel) ใช้เป็นอาหารอ่อนสำหรับคนไข้
-------------------- แก้คำผิด
แก้ไขเมื่อ 21 ส.ค. 54 12:02:28
จากคุณ |
:
Mahasati Neo
|
เขียนเมื่อ |
:
21 ส.ค. 54 11:57:35
|
|
|
|
 |