 |
23 may 2011 ปฐมบท การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่นานาประเทศ Author: dharma | Filed under: Uncategorized พระเจ้าอโศกมหาราช : พุทธศาสนูปถัมภกที่โลกจารึก เมื่อพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ต่อมา ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราช เอกอัครกษัตริย์ผู้ปกครองประเทศอินเดียในสมัยนั้น ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก พระองค์ได้ทรงถวายความ อุปถัมภ์พระพุทธศาสนที่ยิ่งใหญ่ โดยทรงจัดให้มีการสังคายนาชำระสอบทานหลักพระธรรมวินัย ครั้งที่ ๓ (ตติยสังคายนา) ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๖ ณ วัดอโศการาม นครปาฏลีบุตร แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย) ซึ่งมีพระโมคคลีบุตรติสสเถระ เป็นประธานสงฆ์ในการทำสังคายนา หลังจากที่ได้ทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเสร็จสิ้น แล้ว พระโมคคลีบุตรติสสเถระโดยพระราชอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราชได้จัดคณะสมณทูต หรือพระธรรมทูตออกเป็น ๙ คณะแล้วส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้รับการเผยแผ่แพร่ขยายไปยังประเทศ ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งเริ่มมาจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖ นั่นเอง พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์โมริยะ ทรงครอง ราชสมบัติ ณ พระนครปาฎลีบุตร แค้วนมคธ สืบต่อพระเจ้าพินทุสาร พระราชบิดา และทรง เป็นพระราชนัดดา (หลานปู่) ของพระเจ้าจันทรคุปต์ ปฐมกษัตริย์ต้นราชวงศ์โมริยะ ผู้สืบเชื้อ สายมาจากราชวงศ์ศากยะหรือพวกเจ้าศากยะ ราชสกุลของพระพุทธเจ้า ซึ่งหนีชีวิตรอดมาจาก สงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ศากยะโดยเจ้าชายวิฑูฑภะในครั้งปลายพุทธกาล พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์มหาจักรพรรดิราชที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ของชมพูทวีปหรือประเทศอินเดียสมัยโบราณ และทรงเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภกที่ สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา กล่าวกันว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เดิมทีนั้น พะองค์ทรงมีชื่อเสียงปรากฏเป็นที่ลือ ขานกันว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ทรงนิยมชมชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่างๆ จน ได้รับพระสมญานามว่า จัณฑาโศกราช แปลว่า พระเจ้าอโศกผู้ดุร้าย โดยเมื่อทรงขึ้น ครองราชย์แล้วไม่นาน พระองค์ทรงทำสงครามขยายดินแดนแห่งแว่นแคว้นของพระองค์ออกไป ยิ่งใหญ่ไพศาล จนมีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอินเดีย ซึ่งเทียบได้กับ ประเทศอินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศปัจจุบันรวมกัน ต่อมาครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทรง กรีฑาทัพไปปราบแคว้นกลิงคะ ซึ่งเป็นชนเผ่าที่เข้มแข็ง ในการศึกสงครามครั้งแม้ว่าพระองค์จะ ทรงได้รับชัยชนะ แต่พระองค์ก็ทรงสลดพระทัยในความโหดร้ายทารุณของสงครามที่ทำให้ทหาร บาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมาก แล้วต่อมาพระองค์ทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนาเพราะได้ ทอดพระเนตรเห็นสามเณรนิโครธ (ผู้เป็นหลานที่พระองค์ยังไม่รู้จัก) ที่มีกิริยามารยาทสงบ เรียบร้อย น่าเลื่อมใส จึงทรงมีพระราชศรัทธา รับสั่งให้ราชบุรุษไปนิมนต์สามเณรนิโครธเข้าไป ในพระราชวัง ได้ตรัสถามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ และเมื่อทรงสดับหลักธรรมใน พระพุทธศาสนาจากสามเณรนิโครธที่ได้อนุโมทนาคาถาธรรมแสดงหลักความไม่ประมาทถวาย พระองค์ก็ทรงรู้ซึ้งถึงสัจธรรมแห่งชีวิต จนเกิดความเลื่อมใสและหันมานับถือพระพุทธศาสนา ก็ ทรงมีพระสติระลึกพิจารณาถึงพฤติกรรมในอดีตที่เต็มไปด้วยความชั่วความผิดก่อทุกข์ให้เกิดโทษ แก่ผู้อื่นนานัปการ จึงทรงละเลิกพระอุปนิสัยอันดุร้ายในอดีตเสียสิ้นตั้งแต่บัดนั้น ภายหลังจากที่ทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระเจ้าอโศกทรงดำเนินนโยบาย ทะนุบำรุงพระราชอาณาจักรและเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศโดยทางสันติตามนโยบาย ธรรมวิชัย นับตั้งแต่พระองค์ทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนา ก็ได้ทรงเปลี่ยนพระทัยกลายเป็น พระเจ้าแผ่นดินองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก ผู้ทรงถวายการอุปถัมภ์และทรงทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา พร้อมทั้งทรงดำเนินนโยบายธรรมวิชัย ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศห้ามมิให้ฆ่าสัตว์ เพื่อการกีฬาและรับประทานเป็นอาหาร ส่งผลให้พวกคนอินเดียเกือบทั้งประเทศไม่รับประทาน เนื้อสัตว์เป็นอาหาร แต่หันมานิยมรับประทานพืชผักและผลไม้เป็นอาหาร มิใช่แต่เพียงเท่านั้น พระองค์ยังได้ทรงมีพระราชจริยาวัตรที่สาธุชนในปัจจุบันยกย่องอีกมากมายหลายประการ เช่น ทรงโปรดแต่งตั้งอำมาตย์หรือข้าหลวงเป็นผู้แนะนำประชาชนให้ตั้งอยู่ในหลักศีลธรรม ทรง ประกาศให้ข้าราชการทั่วราชอาณาจักรรักษาอุโบสถศีลในวันธรรมสวนะ (วันพระ) ทรงโปรดให้
ขุดบ่อน้ำสระน้ำเพื่อสาธารณประโยชน์ ทรงโปรดให้ปลูกต้นไม้เพื่อเป็นที่พักผ่อนในการเดินทาง และทรวงโปรดให้จัดตั้งโรงพยาบาลรักษาทั้งมนุษย์และสัตว์ เป็นต้น ด้วยพระราชกรณียกิจและ พระราชจริยาวัตรอันงดงามดังกล่าว ทำให้ต่อมาพระองค์ทรงได้รับการขนานพระนามใหม่ว่า พระเจ้าธรรมาโศกราช แปลว่า พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา ทรง เป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป ทรงเป็นพระอัครศาสนูปถัมภกทั้งฝ่ายมหายานและ ฝ่ายเถรวาท ตามพระราชประวัติในคัมภีร์ภาษาสันสกฤตของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือคัมภร์อโศกวทาน และในคัมภีร์ภาษาบาลีของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หลายคัมภีร์ เช่น คัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎฏ คัมภีร์ทีปวงศ์ และคัมภีร์มหาวงศ์ เป็นต้น พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์ผู้ที่นับถือศาสนาเชน โดยการถวายถ้ำหลายแห่งให้แก่เชนศาสนิกชน เพื่อ ไปประกอบพิธีทางศาสนา เอช. จี. เวลส์ (H.G.Wells) นักประวัติศาสตร์คนสำคัญในตะวันตก ก็ยกย่องพระเจ้า อโศกมหาราชว่าทรงเป็นอัครมหาบุรุษท่านหนึ่ง ใน ๖ อัครมหาบุรุษแห่งประวัติศาสตร์โลก คือ พระพุทธเจ้า โสเครติส อริสโตเติล โรเจอร์ เบคอน และอับราฮัม ลิงคอล์น นอกจากนี้ พระเจ้าอโศกมหาราชยังได้ทรงบำเพ็ญพระราชจริยาวัตรที่เป็นแบบอย่างให้ พระมหากษัตริย์ที่เป็นพุทธมามกะทุกพระองค์ดำเนินตาม ด้วยการทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุใน พระพุทธศาสนา ดังปรากฏในศิลาจารึก ฉบับน้อย จารึกฉบับใต้ ตอนที่ ๑ ความว่า
นับเป็นเวลาเกินกว่า ๒ ปีครึ่งแล้วที่ข้าฯ ได้เป็นอุบาสก แต่ตลอดเวลา ๑ ปี ข้าฯ มิได้กะำทำความพากเพียรใดๆ อย่างจริงจังเลย และนับแต่เป็นเวลาปีเศษแล้วที่ข้าฯ ได้เข้า หาสงฆ์ ข้าฯ จึงได้ลงมือทำความเพียรอย่างจริงจังนับแต่นั้นมา พระราชจริยาวัตรตามศิลาจารึกนี้ได้เป็นแบบอย่างให้พระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัย สุโขทัยจนถึงปัจจุบันทรงถือเป็นราชประเพณีปฏิบัติมาโดยไม่ขาดสาย แต่ที่เป็นหลักฐานสำหรับนักประวัติศาสตร์รุ่นหลัง คือ ศิลาจารึกของพระองค์ที่ทำให้ อนุชนพุทธบริษัทหรือชาวโลกทั่วไปได้รับทราบรับรู้กันว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา แห่งความจริง ที่มีบุคคลและสถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศิลาจารึก ที่ลุมพินี ที่เป็นหลักฐานเครื่องพิสูจน์ว่า พระพุทธเจ้าประสูติที่ลุมพินี (ปัจจุบันอยู่ในประเทศ เนปาล) เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่มีอยู่จริง ไม่ใช่เรื่องเล่าหรือนิยายปรัมปราแต่อย่างใดปัจจุบัน
รัฐบาลอินเดียได้ประกาศให้รูปสลักบนเสาศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช คือสิงห์สี่ตัวนั่งหันหลังชนกัน (สลักจากหินก้อนเดียว อยู่บนเสาศิลาจารึก ที่ป่าอิสิปตนมฤค ทายวัน เขตเมืองพาราณสี) เป็นตราประจำประเทศอินเดียมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับจารึกของพระเจ้าอโศกนั้นมีเป็นจำนวนมากมาย พบเกือบทั่วทวีปเอเชียตอนใต้ และเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนาและของโลก ปัจจุบันถึงแม้ว่า นครปาฏลีบุตรจะไม่รุ่งเรืองเฉกเช่นดังเดิม วัดอโศการาม สถานที่ทำสังคายนาครั้งที่ ๓ เหลือเพียงซากปรักหักพังและถูกน้ำท่วมในฤดูฝน แต่พระเกียรติคุณของพระเจ้าอโศกมหาราช ยังคงอยู่ในความทรงจำของชาวพุทธและประชาชนทั่วโลก ในฐานะพระเจ้าจักรพรรดิที่ปกครอง บ้านเมืองด้วยธรรม พระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองในประเทศไทยก็สืบเนื่องมาจากการ สังคายนาครั้งที่ ๓ เกียรติประวัติของพระองค์ได้ถูกยกย่องไว้เป็นอย่างมาก ดังที่นายเอ็ช จี เวลส์ ( H G Wels) เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง เปิดเผยประวัติศาสตร์ (OUTLINE OF HISTORY) ว่า ในท่ามกลางพระนามของราชามหากษัตริย์นับได้จำนวนหมื่นๆ พระองค์ ซึ่งปรากฏ อย่างมากมายในหน้ากระดาษประวัติศาสตร์ ในท่ามกลางพระนามของพระเจ้าแผ่นดินและ เจ้าฟ้าราชันผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย พระนามของพระเจ้าอโศกพระองค์เดียวเท่านั้นก็แทบจะว่า ได้ส่องแสงจรัสจ้าดังดวงดารา ตั้งแต่ดินแดนในลุ่มน้ำวอลก้าจนถึงประเทศญี่ปุ่น พระนามของ พระเจ้าอโศกยังคงได้รับการคารวะอยู่แม้กระทั่งในยุคปัจจุบัน จีน ทิเบต และแม้แต่อินเดีย ซึ่งได้ละทิ้งหลักธรรมของพระเจ้าอโศกเสียแล้ว ก็ยังคงรักษาประเพณีนิยมแห่งความยิ่งใหญ่ ของพระองค์ไว้ ทุกวันนี้มวลมนุษย์เทิดทูนกิตติคุณของพระเจ้าอโศกมากยิ่งกว่าที่เราได้ฟัง พระนามของคอนสตันไตน์ (Constantine) หรือชาร์ลมาญ (Charlemagne) เสียอีก ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาจึงถือว่า สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นสมัยหนึ่งที่พระพุทธศาสนาเจริญสูงสุดในทุกๆ ด้าน เพราะพระองค์นอกจากจะทรงอุปถัมภ์ การทำสังคายนาครั้งที่ ๓ และทรงส่งสมณทูตไปประกาศพระศาสนาในที่ต่างๆ แล้ว ยังได้ทรง มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งใหญ่ โดยทรงโปรดให้สร้างปูชนียสถานและ
ถาวรวัตถุอนุสรณ์ในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก เช่น ทรงสร้างวิหารหรือวัด ๘๔,๐๐๐ แห่ง เจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ ในนครต่างๆ รวมกันทั้งสิ้น ๘๔,๐๐๐ นคร มิใช่แต่เท่านั้น พระองค์ยังได้ ทรงนำเอาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไปใช้ในการปกครองประเทศ ทรงสร้างศิลาจารึกแสดง คำสอนตามหลักพระพุทธศาสนาไว้ในที่ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหลักฐานในการศึกษา ค้นคว้าประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระองค์ได้เป็นอย่างดี ความดังกล่าวมานี้ สมดังที่ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระมหาเถระผู้เป็น นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระราชวรมนี ได้รจนาข้อเขียน เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจคุณูปการที่มีต่อพระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกมหาราชไว้ในหนังสือ จารึกอโศก มีความตอนหนึ่งว่า
พระราชกรณียกิจของพระเจ้าอโศกมหาราช ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา กล่าวเฉพาะที่สำคัญ ได้แก่ การทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง เป็นแหล่งที่พระภิกษุสงฆ์ ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บำเพ็ญสมณธรรม และสั่งสอนประชาชน ทรงอุปถัมภ์การ สังคายนาครั้งที่ ๓ และทรงส่งพระเถรานุเถระไปประกาศพระศาสนาในแว่นแคว้นต่างๆ เป็นเหตุ ให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองแพร่หลายไปในประเทศต่างๆ และทำให้ประเทศทั้งหลายใน เอเชียตะวันออกมีอารยธรรมสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ในด้านรัฐประศาสโนบาย(การปกครอง ประเทศ) ทรงถือหลักธรรมวิชัยมุ่งชนะจิตใจของประชาชนด้วยการปกครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดเอาประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ส่งเสริมกิจการสาธารณูปการ ประชาสงเคราะห์ สวัสดิการสังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง ทำให้ชมพูทวีปในรัชสมัยของ พระองค์ เป็นบ่อเกิด สำคัญแห่งอารยธรรมที่แผ่ไพศาลมั่นคง พระนามของพระองค์ดำรงอยู่ยั่งยืน นานและอนุชนเรียกขานด้วยความเคารพเทิดทูนเหนือกว่าปวงมหาราชผู้ทรงเดชานุภาพพิชิต แว่นแคว้นทั้งหลายได้ด้วยชัยชนะในสงคราม พระราชจริยาวัตรของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นกัลยาณจารีตอันมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ สมัยต่อๆ มาที่นิยมทางสันติและได้รับสมัญญาว่าเป็นมหาราช ทรงนับถือเป็นแบบอย่างดำเนิน ตามโดยทั่วไป ซึ่งพระราชจริยาวัตรและพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอโศกมหาราชปรากฏเป็น หลักฐานอยู่ในศิลาจารึก ซึ่งพระองค์ได้โปรดให้เขียนสลักไว้ ณ สถานที่ต่างๆ ทั่วจักรวรรดิอัน ไพศาลของพระองค์ ความที่จารึกไว้เรียกว่า ธรรมลิปิ แปลว่า ลายสือธรรม หรือความที่เขียน ไว้เพื่อสอนธรรม ถือเอาความหมายเข้ากับเรื่องว่า ธรรมโองการ ธรรมลิปิที่โปรดให้จารึกไว้ เท่าที่พบมีจำนวน ๒๘ ฉบับ แต่ละฉบับมักจารึกไว้ในที่หลายแห่ง บางฉบับขุดค้นพบแล้วถึง ๑๒ แห่งก็มี ความในธรรมลิปินั้นแสดงพระราชประสงค์ของพระองค์ที่มีต่อประชาชนบ้าง หลักธรรม ที่ทรงแนะนำสั่งสอนประชาชนและข้าราชการบ้าง พระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแล้วบ้าง
จากคุณ |
:
เวย์คุง
|
เขียนเมื่อ |
:
29 ส.ค. 54 00:44:06
|
|
|
|
 |