|
จากสารานุกรม พระไตรปิฏก (CD)
เทวดา,ชาวสวรรค์ เทวดาหรือเรียกอีกอย่างว่า เทพ เป็นพวกชาวสวรรค์ มีตาทิพย์ หูทิพย์ อาหารทิพย์ และทิพย์สมบัติ มีรัศมีสร้านออกจากตัวไปไกล ซึ่งแล้วแต่บุญบารมีของเทวดาองค์นั้น พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ว่า คำว่า เทว ได้แก่เทพ ๓ ประเภทคือ ๑. สมมติเทพ พระราชาทั้งหลาย พระเทวีทั้งหลาย และ พระราชกุมารทั้งหลาย พระราชกุมารีทั้งหลาย ชื่อว่า สมมติเทพ. ๒.อุปปัตติเทพ เทพในสวรรค์ชั้นนั้น ๆ นับตั้งแต่เทพชั้น จาตุมมหาราชเป็นต้นไป ชื่อว่าอุปปัตติเทพ. ๓. วิสุทธิเทพ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า วิสุทธิเทพ. ในเทพ ๓ ประเภทนี้ อุปปัตติเทพ ประสงค์จะกล่าวดังนี้ เทพธิดาอุบัติปรากฏร่างเหมือนมีอายุ ๑๖ เทพบุตรอุบัติปรากฏร่างเหมือนมีอายุ ๒๐. พวกเทวดา ไม่รู้สึกหนาว ไม่รู้สึกร้อน. เทวดาอยู่ด้วยฐานะ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์. พวกเทวดาจะยืน เป็นการปฏิเสธอิริยาบถอื่นมีการนั่งเป็นต้น อธิบายว่า สำเร็จการยืน ได้แก่ เป็นผู้ยืนอยู่แล้ว. ถามว่า ก็เทวดานั้นยืนอย่างไร ? ชื่อว่า ยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ตอบว่า เทวดาเว้นแล้วซึ่งโทษ (๘ อย่าง) เหล่านี้คือ ไม่ยืนข้างหลัง ๑ ไม่ยืนข้างหน้า ๑ ไม่ยืนใกล้ ๑ ไม่ยืนไกล ๑ ไม่ยืนตรงหน้า ๑ ไม่ยืนเหนือลม ๑ ไม่ยืนต่ำกว่า ๑ ไม่ยืนสูงกว่า ๑ ชื่อว่า ยืนแล้ว ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ถามว่า ก็เทวบุตรนี้ยืนเท่านั้น ไม่นั่ง เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะเทวดาทั้งหลายประสงค์จะกลับไว อธิบายว่า จริงอยู่เทวดาทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์บางอย่างเท่านั้น จึงมายังมนุษยโลก ซึ่งเปรียบประดุจส้วมที่เต็มด้วยของไม่สะอาด ก็โดยปกติมนุษยโลกเป็นของปฏิกูลแก่เทวดาเหล่านั้น เพราะเป็น สถานที่มีกลิ่นเหม็นนับจำเดิมแต่ ๑๐๐ โยชน์ พวกเทวดาจึงไม่ ยินดีในมนุษยโลกนั้น เพราะเหตุนั้นเทวดานั้นทำธุระที่ตนมาเสร็จแล้ว ก็ไม่ยอมนั่ง เพราะต้องการจะกลับไว. ชนทั้งหลายย่อมนั่ง เพื่อจะบรรเทาความอ่อนเพลียแห่ง อิริยาบถ อันเกิดจากการเดินเป็นต้น อันใดความเพลียอันนั้น ของเทวดาทั้งหลายย่อมไม่มี เมื่อถึงเวลาจุติ จะมีบุพนิมิต ๕ ย่อมเกิดขั้น คือ ดอกไม้เหี่ยว ผ้าเศร้าหมอง เหงื่อไหลจากรักแร้ทั้งสอง ผิวพรรณหมอง เทวดา ไม่ตั้งอยู่ในเทวอาสน์. ก็บุพนิมิต ๕ เหล่านี้ ย่อมปรากฏแก่เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่เท่านั้น ไม่ปรากฏแก่เทวดาทั้งปวง ทวงเทพทั้งปวงย่อมไม่รู้แม้นิมิตเหล่านั้น เทพบุตรเหล่าใดเกิดในเทวโลกนั้นด้วยกุศลกรรมน้อย เมื่อเทพบุตร เหล่านั้นเกิด เขากลัวว่า บัดนี้ใครจะรู้พวกเราเกิดที่ไหน เทพบุตร ที่มีบุญมากย่อมไม่กลัวว่า พวกเราอาศัยทานที่เราให้ ศีลที่เรารักษา ภาวนาที่เราเจริญ จักเสวยสมบัติในเทวโลกเบื้องบน. ก็พวกเทวดาจักจุติโดย ๗ วัน ด้วยการคำนวณของพวกมนุษย์ ในกาลนั้นเหงื่อไหลจากสรีระ เป็นหยด ๆ. ตลอดกาลประมาณเท่านี้ ในสรีระของเทวดาเหล่านั้น ย่อมไม่ปรากฏวรรณต่างกันด้วย สามารถฟันหักและผมหงอก เป็นต้น. แต่ในเวลาตาย (จุติ) อัตภาพของเทพบุตร เหล่านั้นทรุดโทรม. อนึ่ง ตลอดกาลประมาณ(จุติ)เท่านี้ เทพบุตรเหล่านั้น ไม่มีความ กระสันในเทวโลก. แต่ในเวลาจะตาย หายใจไม่ออกกระสับกระส่าย ไม่ยินดี ในอาสนะของตน. #ที.อ. ๒/๑/๙๕-๙๖; ขุทฺทก.อ. ๑/๖/๑๔๐-๑๔๑; สํ.สฬา. ๑๘/๕๓๐ ------------------------------------------------------- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1617&Z=1840&pagebreak=0
ดูกรสารีบุตร ก็เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน ดูกรสารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่าจิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็ก แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ... ๖๐ องค์บ้าง เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นอบรมแล้วในภพนั้นแน่นอน ดูกรสารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้ ----------------------------------------------------------------
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔ หน้าต่างที่ ๔ / ๑๒.
๔. เรื่องนางปติปูชิกา [๓๖]
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=4
อายุของมนุษย์ประมาณ ๑๐๐ ปี ฝ่ายนางเทพธิดานอกนี้ กำลังประดับอยู่นั่นเอง ตลอดกาลเท่านี้. เทพบุตรเห็นนางนั้น กล่าวว่า "เธอหายหน้าไปตั้งแต่เช้า, เธอไปไหนมา?" เทพธิดา. ดิฉันจุติค่ะ นาย. เทพบุตร. เธอพูดอะไร? เทพธิดา. ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ นาย. เทพบุตร. เธอเกิดแล้วในที่ไหน? เทพธิดา. เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกรุงสาวัตถี. เทพบุตร. เธอดำรงอยู่ในกรุงสาวัตถีนั้นสิ้นกาลเท่าไร? เทพธิดา. ข้าแต่นาย ดิฉันออกจากท้องมารดา โดยกาลอันล่วงไป ๑๐ เดือน ในเวลาอายุ ๑๖ ปี ไปสู่ตระกูลสามี คลอดบุตร ๔ คน ทำบุญมีทานเป็นต้น ปรารถนาถึงนาย มาบังเกิดแล้วในสำนักของนายตามเดิม. เทพบุตร. อายุของมนุษย์มีประมาณเท่าไร? เทพธิดา. ประมาณ ๑๐๐ ปี. เทพบุตร. เท่านั้นเองหรือ? เทพธิดา. ค่ะ นาย. เทพบุตร. พวกมนุษย์ถือเอาอายุประมาณเท่านี้เกิดแล้ว เป็นผู้ประมาทเหมือนหลับ ยังกาลให้ล่วงไปหรือ? หรือทำบุญมีทานเป็นต้น? เทพธิดา. พูดอะไร นาย, พวกมนุษย์ประมาทเป็นนิตย์ ประหนึ่งถือเอาอายุตั้งอสงไขยเกิดแล้ว ประหนึ่งว่าไม่แก่ไม่ตาย. ความสังเวชเป็นอันมาก ได้เกิดขึ้นแก่มาลาภารีเทพบุตรว่า "ทราบว่า พวกมนุษย์ถือเอาอายุประมาณ ๑๐๐ ปีเกิดแล้ว ประมาท นอนหลับอยู่, เมื่อไรหนอ? จึงจักพ้นจากทุกข์ได้." ____________________________ ๑- อภิ. สํ. เล่ม ๓๔/หน้า ๑๖. ได้แก่ อภิ. สํ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๔๖-๕๑
๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่า ๑ วันในสวรรค์ ก็ ๑๐๐ปีของพวกเรา เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของพวกเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็นเดือนหนึ่ง, กำหนดด้วย ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็นปีหนึ่ง, ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์, ๑,๐๐๐ ปีทิพย์นั้น โดยการนับในมนุษย์เป็น ๓ โกฏิ ๖ ล้านปี. เพราะฉะนั้น แม้วันเดียวของเทพบุตรนั้น ก็ยังไม่ล่วงไป ได้เป็นกาลเช่นครู่เดียวเท่านั้น. ขึ้นชื่อว่าความประมาทของสัตว์ผู้มีอายุน้อยอย่างนี้ ไม่ควรอย่างยิ่งแล. ในวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุเข้าไปสู่บ้าน เห็นโรงฉันยังไม่ได้จัด อาสนะยังไม่ได้ปู น้ำฉันยังไม่ได้ตั้งไว้ จึงกล่าวว่า "นางปติปูชิกาไปไหน?" ชาวบ้าน. ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักเห็นนาง ณ ที่ไหน? วันวานนี้ เมื่อพระผู้เป็นเจ้าฉันแล้ว (กลับ) ไป, นางตายในตอนเย็น. ภิกษุปุถุชนฟังคำนั้นแล้ว ระลึกถึงอุปการะของนางนั่น ไม่อาจจะกลั้นน้ำตาไว้ได้, ธรรมสังเวชได้เกิดแก่พระขีณาสพ. ภิกษุเหล่านั้นทำภัตกิจแล้ว ไปวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา ทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสิกาชื่อปติปูชิกา ลุกขึ้นเสร็จสรรพแล้ว ทำบุญมีประการต่างๆ ปรารถนาถึงสามีเท่านั้น, บัดนี้ นางตายแล้ว (ไป) เกิด ณ ที่ไหน?" พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย นางเกิดในสำนักสามีของตนนั่นแหละ. ภิกษุ. ในสำนักสามี ไม่มี พระเจ้าข้า. พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย นางปรารถนาถึงสามีนั่น ก็หามิได้, มาลาภารีเทพบุตร ในดาวดึงสพิภพ เป็นสามีของนาง, นางเคลื่อนจากที่ประดับดอกไม้ของสามีนั้นแล้ว ไปบังเกิดในสำนักสามีนั้นนั่นแลอีก. ภิกษุ. ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ? พระเจ้าข้า. พระศาสดา. อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ น่าสังเวช ! ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อย (จริง) พระเจ้าข้า เช้าตรู่ นางอังคาสพวกข้าพระองค์ ตอนเย็น ตายด้วยพยาธิที่เกิดขึ้น. พระศาสดา. อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อย (จริง), เหตุนั้นแล มัจจุผู้กระทำซึ่งที่สุด ยังสัตว์เหล่านี้ซึ่งไม่อิ่ม ด้วยวัตถุกามและกิเลสกามนั่นแล ให้เป็นไปในอำนาจของตนแล้ว ย่อมพาเอาสัตว์ที่คร่ำครวญ ร่ำไรไป" --------------------------------------------------------------
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 6 / 51 เทพ เทพเจ้า, ชาวสรรค์, เทวดา; ในทางพระศาสนา ท่านจัดเป็น ๓ คือ ๑. สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ = พระราชา, พระเทวี, พระราชกุมาร ๒. อุปปัติเทพ เทวดาโดยกำเนิด = เทวดาในสวรรค์และพรหมทั้งหลาย ๓. วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์ = พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 7 / 51 เทพธิดา นางฟ้า, หญิงชาวสรรค์, เทวดาผู้หญิง
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 8 / 51 เทพบุตร เทวดาผู้ชาย, ชาวสวรรค์เพศชาย
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 9 / 51 เทวะ เทวดา, เทพ, เทพเจ้า (ชั้นสวรรค์และชั้นพรหม)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 10 / 51 เทวดา หมู่เทพ, ชาวสวรรค์ เป็นคำรวมเรียกชาวสวรรค์ทั้งเพศชายและเพศหญิง
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 11 / 51 เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา คือระลึกถึงคุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา ตามที่มีอยู่ในตน (ข้อ ๖ ในอนุสติ ๑๐)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 12 / 51 เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา (ข้อ ๕ แห่งพลี ๕ ในโภคอาทิยะ ๕)
จากคุณ |
:
เฉลิมศักดิ์1
|
เขียนเมื่อ |
:
11 ต.ค. 54 07:54:44
|
|
|
|
|