ตอบคุณ withorn_sub ใน #26 นะครับ
--------------------------------------------------------
ต้องแบ่งคำใหม่อีกทีครับ และขีดเส้นใต้ใหม่ให้ครอบคลุมจนหมดครับ
จะเป็นความหมายของ อนุปาทิเสสนิพพาน
ผมจัดเว้นวรรคใหม่ให้ดูได้ง่ายๆนะครับ
---------------------------------------------------------------------------
กตมา จ ภิกฺขเว อนุปาทิเสสา นิพฺพานธาตุ
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
อิธ ภิกขเว ภิกฺขุ อรหํ โหติ ขีณาสโว
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์
วุสิตวา กตกรณีโย โอหิตภาโร อนุปฺปตฺตสทตฺโถ
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
ปริกฺขีณภวสํ โยชโน สมฺมทญฺญา วิมตฺโต ตสฺส
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้วหลุดพ้น แล้วเพราะรู้โดยชอบ
อิเธว ภิกฺขเว สพฺพเวทยิตานิ อนภินนฺทิตานิ สีติภวิสฺสนฺติ
เวทนาทั้งปวง ในอัตภาพนี้ แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว
จัก (ดับ) เย็น
อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว อนุปาทิเสสา นิพฺพานธาตุฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
---------------------------------------------------------------------
การศึกษา ข้อธรรมนั้น จำเป็นจะต้อง ศึกษาอรรถกถกาประกอบ
เพราะบาลีบางคำนั้นมีสภาวะลึก แม้จะสรรหาคำภาษาไทยมาแปล
ก็อาจจะบรรยายสภาวะเหล่านั้นไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด
(และแม้บาลีคำเดียวกัน ก็ยังมีอรรถะได้นับสิบนับร้อย แตกต่างกันไปในแต่ละบท)
และในฐานะที่ฆราวาสอย่างเราๆ ก็ไม่ได้มีความรู้ทางบาลีใดๆ
อย่างน้อยจึงควร ศึกษาใน อรรถกถาแปลไทยประกอบ
เพื่อทำความเข้าใจในคำบาลี ในบทนั้นๆ
จะยก อรรกถา มาแสดงประกอบ เพื่อ ให้ทำความเข้าใจ
ในอรรถะ ของบาลีแต่ละคำให้ถูกต้อง ดังต่อไปนี้นะครับ
----------------------------
(อรรถกถา)
บทว่า ขีณาสโว
ความว่า ชื่อว่าขีณาสพ เพราะอาสวะ ๔ มีกามาสวะเป็นต้นของพระอรหันต์สิ้นแล้ว ตัดขาดแล้ว ละได้แล้ว สงบแล้ว ไม่ควรจะเกิด ถูกไฟคือญาณเผาแล้ว.
บทว่า วุสิตวา
ความว่า ชื่อว่าอยู่จบแล้ว เพราะอยู่แล้ว อยู่อาศัยแล้ว อาศัยแล้ว สะสมจรณะแล้วในครุสังวาสบ้าง ในอริยมรรคบ้าง ในอริยวาส ๑๐ บ้าง.
บทว่า กตกรณีโย
ความว่า ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว เพราะพระเสกขะ ๗ ตั้งแต่ กัลยาณชนผู้เป็นปุถุชน ชื่อว่า ทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค ๔ กิจที่ควรทำทั้งหมด พระขีณาสพทำเสร็จ คือเสร็จสิ้นแล้ว กิจที่ควรทำเพื่อบรรลุความสิ้นทุกข์ยิ่งกว่านี้ไม่มี.
บทว่า โอหิตภาโร
ได้แก่ ภาระ ๓ อย่างคือ ขันธภาระ ๑ กิเลสภาระ ๑ อภิสังขารภาระ ๑ ภาระแม้ ๓ อย่างนี้เหล่านี้ อันภิกษุนั้นปลงแล้ว คือยกลงแล้ว วางแล้ว ทำให้ตกไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โอหิตภาโร (ปลงภาระลงได้แล้ว).
บทว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ
ได้แก่ บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว ท่านกล่าวว่า สกตฺถํ (ประโยชน์ของตน) ก็มี เปลี่ยน ท เป็น ก.
บทว่า ปริกฺขีณภวสํโยชโน
ได้แก่ ชื่อว่าสังโยชน์ ในภพ เพราะสังโยชน์เหล่านี้ คือกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ภวราคะ อิสสา มัจฉริยะ และอวิชชาสังโยชน์ย่อมประกอบ คือเข้าไปผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ในภพ หรือภพด้วยภพ.
บทว่า สมฺมทญฺญา
ในบทว่า สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต นี้ได้แก่ เพราะรู้โดยชอบ ข้อนี้ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะรู้ คือพิจารณา ไตร่ตรอง แจ่มแจ้ง ทำให้ชัดตามความเป็นจริงโดยชอบ ซึ่งการตั้งอยู่แห่งขันธ์ทั้งหลายโดยเป็นขันธ์ แห่งอายตนะทั้งหลายโดยเป็นอายตนะ แห่งธาตุทั้งหลายโดยเป็นของสูญ แห่งทุกข์โดยการบีบคั้น แห่งสมุทัยโดยเป็นที่เกิดแห่งทุกข์ แห่งนิโรธโดยเป็นความสงบแห่งมรรคโดยเป็นทัสสนะ หรือซึ่งประเภทมีอาทิอย่างนี้ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้.
บทว่า วิมุตฺโต
ได้แก่ วิมุตติ ๒ อย่าง คือ จิตวิมุตติและนิพพาน.
บทว่า อิเธว
ได้แก่ ในอัตภาพนี้แล
บทว่า สพฺพเวทยิตานิ
ได้แก่ เวทนาทั้งหมดมีสุขเวทนาเป็นต้น อัพยากตเวทนา กุสลากุสลเวทนา ท่านละได้ก่อนแล้ว.
บทว่า อนภินนฺทิตานิ
ได้แก่ อันกิเลสมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินไม่ได้แล้ว
บทว่า สีติภวิสฺสนฺติ
ได้แก่ จักเย็นด้วยความสงบส่วนเดียว ได้แก่ความสงบระงับความกระวนกระวายในสังขาร คือจักดับด้วยการดับอันไม่มีปฏิสนธิ. มิใช่เพียงเวทนาอย่างเดียวเท่านั้นจักดับ แม้ขันธ์ ๕ ทั้งหมดในสันดานของพระขีณาสพก็จักดับ.
ท่านใช้เทศนาด้วยหัวข้อว่า เวทยิตะ.
---------------------------------------------------------------------
ใน บทนี้ ท่านแสดงไว้ด้วย เทศนาวิลาส โดยยกเวทนาขึ้นตั้ง
เป็นหลักเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง นิพพานทั้ง ๒
คือ สอุปาทิเสสนิพพาน นั้น เป็นนิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมี เวทนา และขันธ์ ๕ อยู่
ส่วน อนุปาทิเสสนิพพานนั้น เป็นนิพพาน ที่ดับหมดสิ้น ทั้งกิเลส เวทนา และขันธ์ ๕ โดยรอบ
คำว่า สีติภวิสฺสนฺติ ที่แปลว่า จักดับเย็น นี้หมายถึง การดับเย็นโดยรอบ
คือ การปรินิพพานพร้อมทั้งการดับหมดสิ้นของ เวทนา และขันธ์ ๕ โดยสิ้นเชิงนั่นเอง
----------------------------------------------------------
(ปล. วิเคราะห์ คำศัพท์ เพิ่มเติม)
คำว่า อนุปาทิเสสนิพพานนั้น หมายเอา สภาพดับ ความดับหมดสิ้นเชิง
ไม่ได้หมายถึงตัวบุคคล
ถ้าหมายถึงตัวบุคคล ก็จะใช้คำลงท้ายว่า "สอุปาทิเสสบุคคล" เป็นต้น
(ซึ่งจะมีความหมายอื่นๆออกไป)
คำว่า อนุปาทิเสสนิพพานนั้น
คำบาลีว่า อุปาทิ ในบทนี้หมายถึง ขันธ์ ๕
นิพพานที่ยังมีขันธ์ จึงชื่อว่า สอุปาทิเสสนิพพาน (เพราะยังมี อุปาทิ คือ ขันธ์ ๕ อันเป็นผลจาก กิเลสตัณหา หลงเหลืออยู่)
ส่วน ความที่ไม่มี อุปาทิใดๆ หลงเหลืออยู่ คือ การดับสิ้นของกิเลสรวมทั้งเวทนาทั้งหมดและ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด จึงชื่อว่า "อนุปาทิเสสนิพพาน"
------------------------------------------------------------
นิพพาน 2
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
แก้ไขเมื่อ 08 พ.ย. 54 23:35:21