|
.
อนุโมทนา คุณฐานาฐานะ และท่านผู้ใช้อื่นๆ ที่ยังกุศลให้เกิดเมื่อได้อ่านกระทู้ครับ
อ้างอิง ความคิดเห็นที่ 14
เอ....มีพระสูตร พระอรรถกถา หรือชาดก ตอนไหนที่แสดงถึงความเป็น ผู้มีปัญญาชวนให้ร่าเริง เป็นผู้มีปัญญาว่องไว เป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม ของพระสารีบุตร หรือไม่คะ อยากรู้ว่าตอนที่ท่านแสดงปัญญาชวนให้ร่าเริงนั้นท่านทำอย่างไรค่ะ :-)
จากคุณ : Smiling-girl [FriendFlock] [Bloggang] เขียนเมื่อ : วันลอยกระทง 54 20:27:42 [แก้ไข]
ตอบว่า อรรถกถาอนุปทสูตร อธิบายความหมายของคำว่าปัญญาร่าเริงไว้ดังนี้
ปัญญาร่าเริงเป็นไฉน? ชื่อว่าปัญญาร่าเริง เพราะบุคคลบางคนในโลกนี้มากด้วยความร่าเริง มากด้วย ความรู้ มากด้วยความยินดี มากด้วยความปราโมทย์ บำเพ็ญศีล บำเพ็ญอินทรีย์สังวร บำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติ ญาณทัสสนขันธ์. ชื่อว่ามีปัญญาร่าเริง เพราะเป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ รู้แจ้งฐานะและมิใช่ฐานะ. ชื่อว่ามีปัญญาร่าเริง เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริงบำเพ็ญสมาบัติเป็นเครื่องอยู่ ให้บริบูรณ์ เป็นผู้มากด้วยความร่าเริงแทงตลอดอริยสัจ. ชื่อว่ามีปัญญาร่าเริง เพราะยังสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค ให้เจริญ. เป็นผู้มากด้วยความร่าเริง ทำให้แจ้งสามัญผล. ชื่อว่ามีปัญญาร่าเริง เพราะแทงตลอดอภิญญาทั้งหลาย. ชื่อว่ามีปัญญาร่าเริง เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง มากด้วยความรู้ ความยินดีและ ความปราโมทย์ กระทำให้แจ้งพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ์. http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=153
สำหรับความเป็นผู้มีปัญญามาก ปัญญากว้างขวาง ปัญญาร่าเริง ปัญญาว่องไว ปัญญาเฉียบแหลม ปัญญาทำลายกิเลสของท่านพระสารีบุตรนั้น มีหลักฐานปรากฏอยู่ใน พระไตรปิฎกและอรรถกถาหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศปัญญาคุณของท่านพระสารีบุตรหลังจากที่พระองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์:-
ได้ยินว่า การทำยมกปาฏิหาริย์แล้วจำพรรษาในเทวโลก แล้วเสด็จลงที่ประตู สังกัสสนคร อันพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ไม่ทรงละแล้วแล, ก็สถานที่พระบาทเบื้องขวา ประดิษฐาน ณ ที่เสด็จลงนั้น มีนามว่าอจลเจติยสถาน. พระศาสดาประทับยืน ณ ที่นั้น ตรัสถามปัญหาในวิสัยของปุถุชนเป็นต้น, พวกปุถุชน แก้ปัญหาได้ในวิสัยของตนเท่านั้น ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระโสดาบันได้. พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระโสดาบันเป็นต้นก็เหมือนกัน ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของ พระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระสกทาคามีเป็นต้น. พระมหาสาวกที่เหลือไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระมหาโมคคัลลานะ. พระมหาโมคคัลลานะไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของ พระสารีบุตรเถระได้. แม้พระสารีบุตรเถระก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระพุทธเจ้าได้ เหมือนกัน. พระศาสดาทรงแลดูทิศทั้งปวงตั้งต้นแต่ปาจีนทิศ. สถานที่ทั้งปวงได้มีเนินเป็นอัน เดียวกันทีเดียว เทวดาและมนุษย์ใน ๘ ทิศ และเทวดาเบื้องบนจดพรหมโลก และยักษ์นาคและ สุบรรณผู้อยู่ ณ ภาคพื้นเบื้องต่ำ ประคองอัญชลีกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ชื่อว่าผู้วิสัชนาปัญหานี้ มิได้มีในสมาคมนี้ ขอพระองค์โปรดใคร่ครวญในสมาคมนี้ทีเดียว."
พระสารีบุตรเถระมีปัญญามาก พระศาสดาทรงดำริว่า "สารีบุตรย่อมลำบาก ด้วยว่า เธอได้ฟังปัญหาที่เราถามแล้วใน พุทธวิสัยนี้ว่า:- ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เธอมีปัญญารักษาตน อันเราถามถึงความเป็นไปของท่าน ผู้มีธรรมอัน นับพร้อมแล้วทั้งหลาย และพระเสขะทั้งหลาย ซึ่ง มีอยู่มากในโลกนี้ จงบอกความเป็นไปนั้นแก่เรา ดังนี้, เป็นผู้หมดความสงสัยในปัญหาว่า ‘พระศาสดาย่อมตรัสถามถึงปฏิปทา เป็นที่มา (มรรคปฏิปทา) ของพระเสขะและอเสขะกะเรา’ ดังนี้ก็จริง, ถึงอย่างนั้นก็ยังหวังอัธยาศัยของ เราอยู่ว่า ‘เราเมื่อกล่าวปฏิปทานี้ด้วยมุขไหนๆ ในธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น จึงจักอาจถือเอา อัธยาศัยของพระศาสดาได้’ สารีบุตรนั้น เมื่อเราไม่ให้นัย จักไม่อาจแก้ได้ เราจักให้นัยแก่เธอ" เมื่อจะทรงแสดงนัย ตรัสว่า "สารีบุตร เธอจงพิจารณาเห็นความเป็นจริงนี้." ได้ยินว่า พระองค์ได้ทรงดำริอย่างนี้ว่า "สารีบุตรเมื่อถือเอาอัธยาศัยของเราแก้ จักแก้ ด้วยสามารถแห่งขันธ์" ปัญหานั้นปรากฏแก่พระเถระตั้งร้อยนัย พันนัย พร้อมกับการประทาน นัย. ท่านตั้งอยู่ในนัยที่พระศาสดาประทาน แก้ปัญหานั้นได้แล้ว,
ได้ยินว่า คนอื่นยกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสีย ชื่อว่าสามารถเพื่อจะทันปัญญาของ พระสารีบุตรเถระหามิได้. นัยว่า เหตุนั้นแล พระเถระจึงยืนตรงพระพักตร์พระศาสดา บันลือ สีหนาทว่า "พระเจ้าข้า เมื่อฝนตกแม้ตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ข้าพระองค์ก็สามารถเพื่อจะนับ แล้วยก ขึ้นซึ่งคะแนนว่า ‘หยาดน้ำทั้งหลายตกในมหาสมุทรเท่านี้หยาด, ตกบนแผ่นดินเท่านี้หยาด, บนภูเขาเท่านี้หยาด." แม้พระศาสดาก็ตรัสกะท่านว่า "สารีบุตร เราก็ทราบความที่เธอสามารถจะนับได้." ชื่อว่าข้ออุปมาเปรียบด้วยปัญญาของท่านนั้น ย่อมไม่มี.
เหตุนั้นแล ท่านจึงกราบทูลว่า :- ทรายในแม่น้ำคงคาพึงสิ้นไป น้ำในห้วงน้ำใหญ่ พึงสิ้นไป ดินในแผ่นดินพึงสิ้นไป การแก้ปัญหาด้วย ความรู้ของข้าพระองค์ ย่อมไม่สิ้นไปด้วยคะแนน.
มีคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้เป็นที่พึ่งของโลก ก็ถ้าว่า เมื่อข้าพระองค์แก้ปัญหาข้อหนึ่งแล้ว บุคคลพึงใส่ทรายเมล็ดหนึ่งหรือหยาดน้ำหยาด หนึ่ง หรือดินร่วนก้อนหนึ่ง เมื่อข้าพระองค์แก้ปัญหาร้อย หรือพัน หรือแสนข้อ พึงใส่คะแนน ทั้งหลายมีทรายเป็นต้น ทีละหนึ่งๆ ณ ส่วนข้างหนึ่งในแม่น้ำคงคา, คะแนนทั้งหลายมีทราย เป็นต้นในแม่น้ำคงคาเป็นต้น พึงถึงความสิ้นไปเร็วกว่า การแก้ปัญหาของข้าพระองค์ ย่อมไม่ สิ้นไป." ภิกษุแม้มีปัญญามากอย่างนี้ ก็ยังไม่เห็นเงื่อนต้นหรือเงื่อนปลายแห่งปัญหาที่ พระศาสดาถามแล้วในพุทธวิสัย ต่อตั้งอยู่ในนัยที่พระศาสดาประทานแล้ว จึงแก้ปัญหาได้. ภิกษุทั้งหลายฟังดังนั้นแล้ว สนทนากันว่า "แม้ชนทั้งหมด อันพระศาสดาตรัสถาม ปัญหาใด ไม่อาจแก้ได้, พระสารีบุตรเถระผู้เป็นธรรมเสนาบดีผู้เดียวเท่านั้น แก้ปัญหานั้นได้." http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=24&p=2
จากคุณ |
:
ธรรมนิติ
|
เขียนเมื่อ |
:
11 พ.ย. 54 01:16:58
|
|
|
|
|