Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ความจริง ไม่มีใครทำความทุกข์หรือความสุขให้แก่เรา (สุญญตะ ๔ เงื่อน) ติดต่อทีมงาน

สมัยพุทธกาล  

พระพุทธองค์และพระภิกษุได้รับปัจจัยและสักการะจากมหาชนเป็นอันมาก ทำให้พวกเดียรถีย์อิจฉาริษยา  พวกเขาได้ด่าว่า พูดจาร้ายกาจแก่พระภิกษุ

พระพุทธเ้่จัาทรงแสดงธรรมในเรื่องนั้นว่า ท่านอย่าคิดเลยว่าใครให้ทุกข์กับเรา หรือเราได้ทุกข์จากใคร  แท้จริง มีแต่ขันธ์กับขันธ์เท่านั้นเป็นไป  และความทุกข์มากมาย ย่้อมเกิดขึ้นได้กับขันธ์ห้า  แต่ความทุกข์ใด ๆ จะไม่เกิดขึ้นในนิพพานที่พ้นจา่กขันธ์ห้าได้แล้วเลย

ทรงแสดงว่า

                         "ท่านทั้งหลาย ผู้อันสุขและทุกข์ถูกต้องแล้วในบ้าน ในป่า
                         ไม่ตั้งสุขและทุกข์นั้นจากตน ไม่ตั้งสุขและทุกข์นั้นจากผู้อื่น
                         ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องเพราะอาศัยอุปธิ ผัสสะทั้งหลาย
                         พึงถูกต้องนิพพานอันไม่มีอุปธิเพราะเหตุไร ฯ "



- อธิบาย -


              บทว่า เนวตฺตโต โน ปรโต ทเหถ ความว่า พวกท่านอย่าตั้งสุขและทุกข์นั้นทั้งจากตนทั้งจากผู้อื่นเลยว่า เราได้รับสุข ได้รับทุกข์, สุขของเรา ทุกข์ของเรา และว่าสุขทุกข์นี้คนอื่นให้เกิดแก่เรา.

              ถามว่า เพราะเหตุไร?

              ตอบว่า เพราะในขันธบัญจกนี้ ไม่มีสิ่งอะไรๆ ที่ควรจะเห็นว่าเป็นเรา ว่าเป็นของเรา ว่าเป็นคนอื่น หรือว่าเป็นของคนอื่น แต่เฉพาะสังขารอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้นตามปัจจัยแล้วแตกไปทุกๆ ขณะ.
ก็ในที่นี้ ศัพท์ว่า สุขและทุกข์เป็นยอดเทศนา. พึงทราบอรรถแห่งโลกธรรมแม้ทั้งหมด.


              ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงประกาศสุญญตะอันมีเงื่อน ๔ คือ

ข้อว่า นาหํ กฺวจนิ พระโยคาวจรนี้ไม่เห็นตัวตนมีอยู่ในที่ไหนๆ ๑

ข้อว่า กสฺสจิ กิญฺจนตสฺมึ ไม่เห็นตัวตนของตนที่จะพึงนำเข้าไปในความเป็นอะไรๆ ของใครๆ ๑

ข้อว่า น จ มม กฺวจนิ ไม่เห็นตัวตนของตนในที่ไหนๆ ๑

ข้อว่า กตฺถจิ กิญฺจนตตฺถิ ไม่เห็นตัวตนของผู้อื่นที่มีอยู่ในที่ไหนๆ ๑


              บัดนี้ พระองค์ทรงแสดงเหตุแห่งความไม่ตั้งมั่นจากตนและจากคนอื่นนั้น.

              บทว่า ผุสนฺติ ผสฺสา อุปธึ ปฏิจฺจ ความว่า ขึ้นชื่อว่า ผัสสะอันเป็นเครื่องอำนวยสุขและอำนวยทุกข์นี้อาศัยอุปธิ กล่าวคือขันธบัญจก ย่อมถูกต้องอารมณ์ตามที่เป็นของตนในเมื่ออุปธินั้นมีอยู่ คือเป็นไปในอุปธินั้นเอง.

              จริงอยู่ อทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในสุขเหมือนกัน เพราะมีสภาวะสงบ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงพรรณนาอรรถนี้ โดยผัสสะ ๒ อย่างนั้นเอง.

              ก็เพื่อแสดงประการที่ผัสสะเหล่านั้นไม่ถูกต้อง ท่านจึงกล่าวว่า

                        นิรูปธึ เกน ผุเสยฺยุ ํ ผสฺสา
                        ผัสสะพึงถูกต้องธรรมที่ไม่มีอุปธิ เพราะเหตุไร.

              จริงอยู่ เมื่ออุปธิคือขันธ์ไม่มีโดยประการทั้งปวง. เพราะเหตุไรเล่า ผัสสะเหล่านั้นจึงพึงถูกต้อง เพราะว่า เหตุนั้นไม่มี.

              ก็ถ้าว่า ท่านทั้งหลายไม่ปรารถนาสุขและทุกข์อันเกิดเพราะการด่าเป็นต้นไซร้ พวกท่านพึงกระทำความพากเพียรในความไม่มีอุปธิ(นิพาน)โดยประการทั้งปวงนั้นแหละ.

              คาถาได้จบลงด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะด้วยอุทานนี้ ด้วยประการฉะนี้.


***************************

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕
ขุททกนิกาย อุทาน
๔. สักการสูตร

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1769&Z=1799&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=54

จากคุณ : Serene_Angelic
เขียนเมื่อ : 11 ม.ค. 55 13:21:50




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com