Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ถ้าในกลีบดอกกุหลาบมีแมลง สัตว์เล็กสัตว์น้อย พระที่เดินไปเหยียบ จะต้องอาบัติไหม{แตกประเด็นจาก Y11571052} ติดต่อทีมงาน

ก่อนที่ท่านจะลงความเห็นว่า ต้องอาบัติ หรือไม่อาบัตินั้น
ผมจะขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิกขาบทที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
........
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
             ๖๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะพรากภูตคาม.
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี จบ.
สิกขาบทวิภังค์
             [๓๕๕] ที่ชื่อว่า ภูตคาม ได้แก่พืช ๕ ชนิด 
พืชเกิดจากเหง้า ๑ 
พืชเกิดจากต้น ๑
พืชเกิดจากข้อ ๑ 
พืชเกิดจากยอด ๑ 
พืชเกิดจากเมล็ดเป็นที่ครบห้า ๑.
             ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากเหง้า ได้แก่ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด ข่า แฝก  แห้วหมู,  หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่เหง้า งอกที่เหง้า 
นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากเหง้า.
             ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากต้น ได้แก่ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นดีปลี ต้นมะเดื่อ 
ต้นเต่าร้างต้นมะขวิด,  หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่ต้น งอกที่ต้น 
นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากต้น.
             ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากข้อ ได้แก่ อ้อย ไม้ไผ่ ไม้อ้อ หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่ข้อ งอกที่ข้อ นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากข้อ.
             ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากยอด ได้แก่ ผักบุ้งล้อม แมงลัก เถาหญ้านาง,  หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่ยอด งอกที่ยอด นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากยอด.
             ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากเมล็ด ได้แก่ข้าว ถั่ว งา หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่เมล็ดงอกที่เมล็ด นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากเมล็ด 
เป็นที่ครบห้า.
บทภาชนีย์
             [๓๕๖] พืช ภิกษุสำคัญว่าพืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี 
ทำลายเองก็ดี ให้คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี 
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
             
                พืช ภิกษุสงสัย ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเองก็ดี 
ให้คนอื่นทำลายก็ดีต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
...ฯ.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  บรรทัดที่ ๘๕๔๖ - ๘๖๐๕.  หน้าที่  ๓๔๗ - ๓๔๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=8546&Z=8605&pagebreak=0

ความเห็น...
กุหลาบเป็นพืชที่ขยายพันธุ์โดยกิ่งตอน(จากกิ่งและลำต้น) 
น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มพืชที่เกิดจากต้น

องค์ประกอบอาบัติในข้อนี้ หากการตัดนั้นโดยพระภิกษุเป็นผู้สั่งให้ตัดกุหลาบ
เพื่อการนี้ ก็จะเป็น อาบัติปาจิตตีย์ 

แต่หากการตัดนี้ ผู้อื่นที่ไม่ใช่พระภิกษุเป็นผู้สั่งให้ตัด ไม่ต้องอาบัติ


ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๗
๗. สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑
พระบัญญัติ
             ๑๑๐. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งพรากสัตว์จากชีวิต เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทวิภังค์
             [๖๓๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
             บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... 
นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
             บทว่า แกล้ง คือ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ ตั้งใจ พยายาม ละเมิด.
             ที่ชื่อว่า สัตว์ ตรัสหมายสัตว์ดิรัจฉาน.
             บทว่า พราก ... จากชีวิต ความว่า 
ตัดทอน บั่นทอน ซึ่งอินทรีย์มีชีวิต 
ทำความสืบต่อให้กำเริบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
             [๖๓๓] สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าสัตว์มีชีวิต พรากจากชีวิต 
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
             สัตว์มีชีวิต ภิกษุสงสัย พรากจากชีวิต ต้องอาบัติทุกกฏ.
             สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญไม่ใช่สัตว์มีชีวิต พรากจากชีวิต ไม่ต้องอาบัติ.
             ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าสัตว์มีชีวิต ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
             ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
             ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
             [๖๓๔] ภิกษุไม่แกล้งพราก ๑ ภิกษุพรากด้วยไม่มีสติ ๑ 
ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะให้ตาย ๑ 
ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ 
ไม่ต้องอาบัติแล.
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
 เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  บรรทัดที่ ๑๒๖๐๐ - ๑๒๖๔๑.  หน้าที่  ๕๓๗ - ๕๓๘.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=12600&Z=12641&pagebreak=0

ความเห็น...
โดยปกติวิญญูชน พึงทราบได้ว่า ในกลีบดอกไม้นั้น
อาจเป็นที่อาศัยของแมลง สัตว์เล็กสัตว์น้อย  

ท่านลองพิจารณาที่กลีบกุหลาบที่เด็ดออกมาแล้ว 
มักจะพบว่ามีแมลงขนาดตัวเล็กๆ เช่น เพลี้ย  ไรแดง เป็นต้น 

ในกรณีนี้ พระที่เดินเหยียบบนกลีบกุหลาบนั้น จะเป็นวิญญูชนหรือไม่ ?
ท่านจะรู้หรือไม่ว่า กลีบดอกไม้นั้นเป็นที่อาศัย หลบซ่อนของแมลง

หากท่านรู้อยู่ ว่ามีแมลง แล้วยังจงใจเดินไปบนนั้น 
รู้ว่าเหยียบถูกสัตว์นั้นแล้วสัตว์นั้นถูกพรากชีวิตแน่ อาบัติปาจิตตีย์.....

หาก สัตว์มีชีวิต ภิกษุสงสัย พรากจากชีวิต ต้องอาบัติทุกกฏ.

และหากแม้เพียง 
ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าสัตว์มีชีวิต ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

เปรียบเทียบสิกขาบทอื่นเกี่ยวกับการพรากชีวิตสัตว์ ดังนี้

พระบัญญัติ
             ๑๑๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทวิภังค์
             [๖๓๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
             บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ...
บทภาชนีย์
             [๖๓๗] น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่ามีตัวสัตว์ บริโภค 
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
             น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
             น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์ บริโภค ไม่ต้องอาบัติ.
             น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่ามีตัวสัตว์ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
             น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
             น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
             [๖๓๘] ภิกษุไม่รู้ว่าน้ำมีตัวสัตว์ ๑ 
ภิกษุรู้ว่าน้ำไม่มีตัวสัตว์ คือรู้ว่าสัตว์จักไม่ตาย
เพราะการบริโภค ดังนี้ บริโภค ๑ 
ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.

  เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  บรรทัดที่ ๑๒๖๔๒ - ๑๒๖๗๘.  หน้าที่  ๕๓๙ - ๕๔๐.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=12642&Z=12678&pagebreak=0
จากสิกขาบทในข้อนี้ จะเห็นว่า พระพุทธองค์ทรงให้พระภิกษุนั้น 
พึงสังวร สำรวม ระมัดระวังเรื่องการพรากชีวิตสัตว์

เปรียบเทียบต่อเนื่อง การเดินบนกลีบดอกกุหลาบ(กับการบริโภคน้ำ) นั้น
กลีบดอกกุหลาบมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่ามีตัวสัตว์ 
เดินเหยียบ   ต้องอาบัติปาจิตตีย์ไหม ?........

กลีบดอกกุหลาบมีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย 
เดินเหยียบ    ต้องอาบัติทุกกฎไหม?...........
             
กลีบดอกกุหลาบมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์ 
เดินเหยียบไม่ต้องอาบัติ.
             
กลีบดอกกุหลาบไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่ามีตัวสัตว์
ต้องอาบัติทุกกฎไหม?......
            
กลีบดอกกุหลาบไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย 
เดินเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฎไหม?.......

สิกขาบทอื่น เกี่ยวกับชีวิตสัตว์
๖๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ 
รดก็ดี ให้รดก็ดี ซึ่งหญ้าก็ดี ดินก็ดี, เป็นปาจิตตีย์.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  บรรทัดที่ ๙๒๑๐ - ๙๒๕๕.  หน้าที่  ๓๗๙ - ๓๘๐.
 
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=9210&Z=9255&pagebreak=0



จากคุณ : ยามประจำวัน
เขียนเมื่อ : 13 ม.ค. 55 23:08:19




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com