Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
พุทธศาสนาสอนที่ใจ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ติดต่อทีมงาน

พุทธศาสนาสอนที่ใจ
โดย พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสรังสี)
แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕
คัดจากหนังสือ ธรรมเทศนา ๒๕๒๕

คัดลอกจากจาก เวบ ธรรมเทศนาแนวปฏิบัติ ของหลวงปู่เทสก์
http://www.geocities.com/luangpu_thate/data/lesson02.HTM

“เมื่อควบคุมจิตได้แล้วมันจะรวมมาเป็นหนึ่ง เข้าถึงอัปปนาสมาธิ นิ่งแน่วลงสู่อันหนึ่ง คือ ใจ”

ทำบุญที่ต้องเตรียมการมากแต่กลับได้ผลน้อย ทำบุญที่ไม่ต้องเตรียมการมากแต่ได้ผลมาก อย่างที่ทำบุญฉลองมณฑปและฉลองอายุของอาตมา เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ งานบุญ งานกุศลคนพากันมาทำมากมาย ที่ไหน ๆ ก็ทำกันใหญ่โตมโหฬาร บุญนั้นได้นิดเดียว ไม่คุ้มค่าเหนื่อย อย่างงานศพท่านอ่อนก็เหมือนกัน เตรียมมาตั้งแต่วันออกพรรษามาจนกระทั่ง ๓-๔ เดือน เวลาทำจริง ๆ ๓-๔ วันเท่านั้นแหละ อันนี้เราก็เตรียมมาหลายวัน แต่ทำจริง ๆ ก็เพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่งเท่านั้น ที่ว่าเราเตรียมการมากแต่ได้ผลน้อยนั้น อย่างที่เรารวบรวมสิ่งของอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ กว่าจะได้มา ครบก็เป็นเวลานาน ของเหล่านั้นมิใช่อยู่ในที่เดียวกัน ถึงจะอยู่ไกลแสนไกลก็นำมาจนได้ เมื่อใช้แล้วก็ ต้องนำส่งที่เดิม การส่งยิ่งลำบากกว่าการนำมาเสียอีกหัวหน้างานต้องเหนื่อยแย่ บางคนถึงกับล้มป่วย ไปก็มี นี่เรียกว่าทำบุญเตรียมการมากแต่ได้ผลน้อย แท้ที่จริงนั้นแก่นสารของพระพุทธศาสนาแล้ว คือ การปฏิบัติกายวาจาใจของตนให้บริสุทธิ์ตามคำสอนของพระพุทธองค์ เราปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ถึง แก่นพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงแล้ว แต่คนส่วนมากเขาไม่เห็น ด้วย เหตุนั้นปฏิบัติพระพุทธศาสนา มักได้แต่เปลือกของศาสนา แก่นแท้ของพระศาสนานั้นไม่ค่อยจะได้หรอก วัดของเราเป็นวัดปฏิบัติ ตั้งแต่ตั้งวัดนี้มาราว ๑๕ ปีแล้ว ทำบุญใหญ่โตมา ๒ หน ฉลองโบสถ์ครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใหญ่โตเท่าขนาดนี้ นี่ฉลองมณฑปเป็นครั้งที่ ๒ แต่แก่นบุญเราทำไม่ได้เว้นแต่ละวันเลย แก่นบุญคือจิตเรา เข้าถึงจิต ปฏิบัติให้ถึงจิต อันนั้นแหละเป็นแก่นบุญ แก่นบาปก็อยู่ในนั้นด้วย ทั้งบุญและบาปอยู่ด้วยกัน นั้นแหละ

เพราะอะไรจึงว่าแก่นบุญแก่นบาปอยู่ที่จิต เพราะจิตเป็นใหญ่กว่าโลกทั้งหมด จิตน่ะคุ้ม ครองตัวเรา โลกจะมีขึ้นมาได้ก็เพราะจิต แต่ละจิต ๆ นั้นเกิดขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ถ้าจิตไม่มีเสีย แล้วโลกไม่มี คนของเราไม่มีสัตว์ก็ไม่มี แต่มันยากที่จิตมีนะซี คนเราจึงค่อยมี สัตว์จึงค่อยมี ที่วุ่นวาย อยู่ในโลกเรานี้ก็เพราะจิตไม่ได้สงบ อบรมจิตไม่ถึง มันจึงยุ่ง ถ้าต่างคนต่างฝึกฝนอบรมจิตของตน ควบคุมจิตของตนได้แล้วมันจะมีเรื่องอะไร พระอริยเจ้าแต่ก่อนท่านอยู่ด้วยกันตั้ง ๔๐๐-๕๐๐ องค์ ก็ ไม่มีทะเลาะเบาะแว้งซึ่งกันและกัน คนเราสมัยนี้อยู่ด้วยกัน ๒ คนขึ้นไปก็มีเรื่อง มากคนก็มากเรื่อง เพราะไม่มีใครควบคุมจิตของตนได้นะซี

วิธีการควบคุมจิตมีหลายอย่างที่เรียกว่าอบรมกรรมฐาน คือ อบรมจิตนั่นเอง พุทธศาสนาทั้ง หมดที่อบรมล้วนแต่กรรมฐานทั้งนั้น ต่างแต่ว่าคณาจารย์ใดชำนิชำนาญทางไหนก็อบรมทางนั้น ผลที่ สุดก็คือควบคุมจิตของตนให้อยู่ในบังคับนั้นเอง บางคนก็ยุบหนอพองหนอ บางคนก็สัมมาอรหัง บางคนก็อานาปานสติ ตามอุบายของตนที่ถนัด แต่เมื่อควบคุมถึงจิตแล้วคำบริกรรมนั้นหายหมด ยังเหลือแต่จิตอันเดียวที่เรียกว่า สมาธิ หรือเอกจิต สมาธิแปลว่าจิตเป็นหนึ่ง ถ้าหากจับตัวนี้ได้แล้ว ไม่ต้องไปวุ่นกับเรื่องคำบริกรรมอีก คุมจิตให้เป็นหนึ่งลงไปเถอะหมดเรื่องกัน เดี๋ยวนี้จับจิตไม่อยู่เรา จึงต้องใช้คำบริกรรม เช่น พุทโธ ๆ ให้มันอยู่กับคำบริกรรมนั้น คำบริกรรมเป็นเครื่องล่อให้จิตมาอยู่ ที่นั่น ให้จิตมันแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เมื่อจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้วคำบริกรรม นั้นก็จะลืมไปเอง ถึงไม่ลืมมันก็ให้ทิ้งได้ บางคนเข้าใจว่าลืมคำบริกรรม ๆ หายไปแล้วตั้งต้นบริกรรม อีก อันนั้นใช้ไม่ได้ คำบริกรรมต้องการให้จิตรวมเข้าเป็นหนึ่งนั้นเอง เมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งแล้วจะไป พัวพันอะไรกับคำบริกรรมนั้นอีก ถ้าไปบริกรรมอีก จิตมันก็ถอนละซี

วิธีการอบรมสมาธิมีหลายอย่าง ไปคบค้าสมาคมกับครูบาอาจารย์หลายท่านหลายองค์ องค์ นั้นว่าอย่างนั้น องค์นี้ว่าอย่างนี้ ก็เลยลังเลสงสัยไม่ทราบว่าจะเอาอะไรมาเป็นหลัก ท่านชำนาญทาง ไหนท่านก็สอนไปตามเรื่องของท่าน ผลที่สุดก็รวมเป็นอันเดียวกัน คือรวมให้จิตเป็นหนึ่งเท่านั้น การที่ จิตรวมเป็นหนึ่งนั่นแหละคือ สมถะ บางสำนักท่านเรียกว่า วิปัสสนา แต่สมถะยังไม่ทันเป็นจะเรียกว่า วิปัสสนาได้อย่างไร คงจะเป็นวิปัสสนึกหรอกไม่ใข่วิปัสสนา นึกไปคิดไปให้รูปนามเกิดดับเฉย ๆ นี่ แหละ ท่านผู้คิดเห็นอย่างนั้น ยังไม่ทันรู้จักเรื่องวิปัสสนาเสียด้วยซ้ำ วิปัสสนาจริงแล้วไม่ต้องคิด ต้องนึกไม่ต้องปรุงแต่ง มันเป็นเอง มันเกิดของมันต่างหาก เมื่อมันเกิดแล้วจะต้องชัดแจ้งประจักษ์ใน พระไตรลักษณญาณด้วยตัวของตนเองต่างหาก เหตุนั้นจึงอย่าพากันสงสัย เมื่อหมดความสงสัยใน เวลากรรมฐานนั้น มักถึงความเป็นหนึ่ง หมดสงสัยในขั้นนั้น อันนั้นตอนหนึ่งต่างหาก เพราะไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง จึงหมดสงสัยในขั้นนั้น แต่ความสงสัยลึกกว่านั้นยังมีอยู่ แต่ถึงอย่างไรก็ขอ ให้หมดสงสัยไปในขั้นนั้นเสียก่อน ถึงวิปัสสนาก็ไม่หมดสงสัยเป็นขั้นเป็นตอนเหมือนกัน

วิธีอบรมสมถะกรรมฐาน จะอบรมประการใดก็ตามได้ทั้งนั้น ขอแต่ให้จิตรวมเป็นหนึ่งแล้ว ใช้ได้ทั้งนั้น แต่ในที่นี้ให้พิจารณาอานาปานสติ คือลมหายใจเข้าหายใจออกเป็นอารมณ์ เพราะลม หายใจเข้าหายใจออกเป็นเครื่องอยู่ของกาย ถ้าไม่มีลมแล้วคนเราก็ตาย คนเรากลัวตาย ถ้าพิจารณา ลม

จากคุณ : tripper 95
เขียนเมื่อ : 17 ก.พ. 55 08:20:54




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com