 |
อรุณสวัสดิ์ ครับท่าน P_vicha พอดีตอนกลางคืน ผมนอน (เพื่อ vs (พอดีตอนกลางวันไม่อยู่ออกไปธุระ) )
*************************************************** เรียนเสนอดังนี้ครับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าว ความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เพราะโอรัมภาคิย- *สังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็น พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็น พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=6161&Z=6197
--------------------------------------------------- ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง และต้อง ออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะ เหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น เพราะเหตุสักว่า การล่วงสิขาบทเล็กน้อย และการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อย เหล่านี้. ส่วน สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่เหมาะสม แก่พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์ เบื้องต่ำห้า เป็น โอปปาติกอนาคามี ผู้อุบัติขึ้นในทันที มีการปรินิพพานในภพ นั้น ๆ ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. ....(ต่อไปนี้เป็นข้อความจาก บรรพ ๕๒๗ จนกระทั่งสิ้นข้อความเรื่องพระอนาคามี :_)
http://pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1505/index.html
----------------------------------------------------
ขอบพระคุณครับท่าน P_vicha ได้ไปค้นตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีการแปลไว้ต่างกัน(ในเสขสูตรที่ ๓) ตามที่ผมแสดงไว้ด้านบนนี้ครับ คงต้องอ้างอิงจากบาลีในเรื่องการแปล แล้วครับ (ผมไม่มีความรู้ในภาษาบาลีเลย) รบกวนท่านผู้รู้ได้แสดงเป็นธรรมทานด้วยครับ
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์ เบื้องต่ำห้า เป็น โอปปาติกอนาคามี ผู้อุบัติขึ้นในทันที มีการปรินิพพานในภพ นั้น ๆ ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. VS. เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เพราะโอรัมภาคิย- *สังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็น พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็น พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ...
------------------------------------------------
ทีนี้ระหว่างรอผมจะใช้ในแหล่งอ้างอิงที่แปลโดยที่ท่าน P_vicha ผู้เจ้าของกระทู้เสนอเป็นหลักครับ(www.84000.org)
กลับมาสู่จากที่ทรงตรัสสอนที่ข้อความนี้ "เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี...(แสดงต่อด้วยพระอนาคามีอีก๕ลักษณะ)
เข้าใจตรงกันนะครับ (แม้ต่างก็ไม่ใช่พระอนาคามีทั้งคู่) ว่า เมื่อสิ้นสังโยชน์ ๕ ย่อมอนาคามี ?
ประเด็นท่าน P_vicha "บุคคลประกอบด้วยธาตุ 6 เรียกว่ามนุษย์ เมื่อบรรลุเป็นพระอนาคามี เป็นโอปปาติกะทันทีเลยหรือ?" จากที่สนทนากันจึงจับจุดได้ดังนี้ครับว่า เท่ากับว่าเราเสนอพิจารณาแตกต่างกันที่สองช่วงเวลาแห่งพระอนาคามี ๑.ขณะบรรลุอนาคามีเมื่อใดก็ตาม (เช่น ยังไม่ตายหมดลมหายใจ) ๒.ขณะพระอนาคามีตายหมดลมหายใจ จุติไปสู่สุทธาวาสพรหม อยู่ที่ว่าตรงไหน คือ การโอปปาติกกะใช่ไหมครับ ? (ตามประเด็นกระทู้)
หมายเหตุ. เรียนท่าน P_vicha ให้เห็นก่อนว่า ผม(นายอิ่ม) เสนอนี้เพื่อประโยชน์คือการยังกุศลธรรม อันคือสัมมาทิฏฐิให้เกิดขึ้นเท่านั้นครับ (ไม่ว่าสำหรับผมหรือทุก ๆท่าน)
จากคุณ |
:
นายอิ่ม
|
เขียนเมื่อ |
:
19 ก.พ. 55 07:12:41
|
|
|
|
 |