Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
**ติดอาวุธทางปัญญา** กรณีธรรมกายตอนที่ 17 ชาววัดพระธรรมกาย หันมาอ่านทางนี้... "หลักตัดสินพระธรรมวินัย" ติดต่อทีมงาน

ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

  อนึ่งอาการเรียกให้ชาววัดพระธรรมกายมาอ่าน ไม่ใช่การท้าท้ายอะไรนะครับ    เจตนาให้ท่านได้รับความรู้..:).....  


"ในตอนที่ 17  งดบทวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิไปก่อนนะครับ  ในตอนนี้เป็นหลักการตรวจสอบคำสอนในทุกยุคสมัยว่าคำสอนนั้นถูกต้องตรงตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาหรือไม่  "

ตอนที่แล้ว ตอนที่ 16 หลักคำสอนยังมีมาตรฐานรักษา พระพุทธศาสนาก็อยู่ไปได้ถึงลูกหลาน


http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11700587/Y11700587.html


    สามารถอ่านกรณีธรรมกายภาคก่อนๆ (อาจจะไม่ครบทุกภาค แนะนำ download ไฟล์ข้อมูลทั้งเล่มของกรณีธรรมกาย)


search หา ใน  google โดยเขียนคำว่า  ติดอาวุธทางปัญญา  topicstock pantip หรือเขียนทั้ง สามคำ เว้นวรรค เป็นต้น

***ผู้ที่มี facebook หรือ twitter รบกวนกระจายข่าวกระทู้ให้ด้วยนะครับ***

(เมื่อยามพระพุทธศาสนาถูกรุกและล้ำ  เรามาร่วมกันปกป้องพระพุทธศาสนา  ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ)

-----------------------------------------

(**ในส่วน คห นั้น จขกท เขียนเองนะครับ แต่ที่ลงเป็นภาพตัวหนังสือนั้นเป็นข้อมูลในหนังสือ  ให้ความสำคัญกับข้อมูลในหนังสือให้มากกว่า คห ของ จขกท**)

จากข้อมูลหนังสือ กรณีธรรมกาย :บทเรียนเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาและสร้างสรรค์สังคมไทย ฉบับเพิ่มเติม-จัดลำดับใหม่
โดยพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)

(แนะนำโหลดข้อมูลเก็บรักษากันไว้นะครับ)

***เอกสารเพื่อพระธรรมวินัย***

อ่านทั้งเล่มจาก

http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/the_dhammakaya_case_lesson_learned_for_buddhist_education_and_society_development_(expanded_and_revised).pdf


-----------------------------------------------------------

 ขออานิสงส์ธรรมทานแผ่ไปยังสรรพสัตว์ทุกๆชีวิต และ  ขอแรงบุญกุศลในทุกๆกระทู้ที่เป็นธรรมทานนำส่งให้ชาวพุทธศาสนิกชนทั้งที่เป็นมนุษย์
เทวดา   พรหม (ทั้งที่มีสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้นและสมบูรณ์) เกิดมีเหตุปัจจัยร่วมกันได้มีส่วนปกปักษ์รักษาพระพุทธศาสนาแท้ๆได้ประดิษฐานต่อไป

สัพเพสุ  จักกะวาเฬสุ ยักขา เทวา จะ พฺรัหฺมะโน ยัง อัมเหหิ กะตัง ปุญญัง สัพพะสัมปัตติสาธะกัง
สัพเพ ตัง อะนุโมทิตฺวา  สะมัคคา  สาสะเน  ระตา  ปะมาทะระหิตา  โหนตุ  อารักขาสุ  วิเสสะโต
ขออัญเชิญยักษ์ เทวดา พรหมทั่วทุกจักรวาล ร่วมอนุโมทนาบุญที่เราได้กระทำ  ที่สามารถยังสิ่งทั้งปวงให้สำเร็จได้
ขอท่านเหล่านั้นจงเป็นผู้สมานฉันท์ยินดีในพระศาสนา  และเป็นผู้ไม่ประมาทตั้งใจปกปักรักษา(ชาวโลก)เถิด

สาสะนัสสะ จะ โลกัสสะ  วุฑฒิ  ภะวะตุ สัพพะทา
สาสะนัมปิ จะ โลกัญจะ เทวา รักขันตุ สัพพะทา
ขอความเจริญจงมีแก่พระศาสนาและแก่ชาวโลกเสมอ
ขอเทวดาจงรักษาพระศาสนาและรักษาชาวโลกเสมอเถิด

......"ขอคืนพื้นที่พระพุทธศาสนาที่แท้จริง" ....

-----------------------------------
มีเพื่อนสมาชิกข้องใจเกี่ยวกับเนื้อหาสาระในพระไตรปิฎก เกี่ยวกับธรรมกาย

...:)...venture ฟังทางนี้

ตอนแรกว่าจะไม่อธิบายเพราะเนื้อหามีอยู่แล้วในกรณีธรรมกายบทต่อไป
แต่เพื่อเป็นการไม่ประมาทแก่ venture  ผมจะลง คห และเนื้อหาสาระบางส่วนในหนังสือนะจ๊ะ

-จาก คห 36
วิชชาธรรมกาย


----> ไม่มีรายละเอียดวิชชาธรรมกายในพระไตรปิฎก  และ คำว่า หยุดใจ คำพวกนี้เป็น "อัตตโนมติ"
( หยุดหรือเพ่งหรือนิ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นการทำสมถกรรมฐาน ทำให้จิตเป็นสมาธิ)
แต่ไม่เกิดปัญญาในพระพุทธศาสนา (ต่อให้นั่งสมาธินานเพียงใด ก็ไม่เกิดปัญญา ซึ่งบางคนหลงคิดว่าภาวนาได้ดี ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด) ไม่เรียกว่า เจริญปัญญา

ภาวนาเป็นเรื่องส่วนบุคคล  ส่วนเมื่อมาถกกัน ควรนำปริยัติมาตรวจสอบว่าการภาวนานี้ตรงกับปริยัติหรือไม่

"เมื่อหลักฐานไม่มี   ตีความไม่ได้ ก็หันไปอ้างผลจากการปฏิบัติ"


- ใน คห 37-38ที่ท่านอ้างเรื่องธรรมกายมีปรากฎในพระไตรปิฎก--->ไม่ได้เกี่ยวกับวิชชาธรรมกายครับ

อ้างอิงจากหนังสือกรณีธรรมกายหน้า 106-107 (ฉบับที่พิมพ์โดยกองทุนวุฒิธรรม)
พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า "ธรรมกาย" เรียกพระองค์ครั้งเดียว ต่อมาจึงมีการใช้คำว่า  "ธรรมกาย"กับผู้อื่นในคำประพันธ์เชิงสดุดี
ซึ่งปรากฎในพระไตรปิฎกอีก 3 ครั้ง (ใช้กับพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น  พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี)
และใช้กันต่อๆมาในคัมภีร์อรรถกถา  เป็นต้น โดยเทียบเคียงคำว่า "รูปนาม" บางทีก็ใช้คู่กัน  บางทีก็มาต่างหาก
ท่านใช้คำว่า "ธรรมกาย"เพื่อให้เห็นว่า คนเราในด้านรูปกายซึ่งเป็นที่รวมแห่งรูปธรรม เช่น อวัยวะต่างๆ เมื่อเราเลี้ยงดูก็เจริญเติบโตขึ้นมา
ในทำนองเดียวกัน  เมื่อพัฒนาธรรมคือ คุณสมบัติความดีงาม  เช่น ศีล  สมาธิ ปัญญาขึ้น  คนนั้นก็มีธรรมกาย คือ
ประมวลหรือที่ชุมนุมแห่งธรรมที่เจริญเติบโตขึ้น  จนกระทั่งเป็นที่รวมแห่งธรรมะระดับสูงสุด คือ โลกุตตรธรรม อันได้แก่ มรรค ผล นิพพาน
  ต่อมาอีกหลายร้อยปี  พระพุทธศาสนามหายาน สืบทอดความหมายคำว่า  "ธรรมกาย"จากพุทธศาสนาหินยานนิกายสรวาสติวาทิน ซึ่งพระพุทธศาสนาเถรวาทได้ชำระสะสางออกไป
ในการสังคายนาครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ.235  และต่อมาสาบสูญไปแล้วมหายานก็ได้พัฒนาความหมายคำว่า  "ธรรมกาย" ให้มีความสำคัญขึ้นมา ถึงขั้นเป็นหลักการอย่างหนึ่ง
โดยให้ธรรมกายนี้เป็นกายหนึ่งในกาย 3 อย่างของพระพุทธเจ้า  ซึ่งมีกายที่คิดศัพท์เพิ่มขึ้นมาใหม่อีก  2 อย่าง  รวมเรียกว่า "ตรีกาย" คือ

1.ธรรมกาย  ได้แก่ สัจจภาวะ หรือ แก่นสภาวธรรมซึ่งเป็นตัวแท้ของพระพุทธเจ้า
2.สัมโภคกาย ได้แก่  กายในทิพยภาวะ  ที่เสวยสุขในสรวงสรรค์
3.นิรมาณกาย  ได้แก่  กายนิรมิต ที่สำแดงพระองค์เพื่อบำเพ็ญพุทธกิจในโลกมนุษย์

ต่อมาหลังพุทธกาล 2 พันปีเศษ  พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร วัดปากน้ำ) ได้นำคำว่า "ธรรมกาย"
มาใช้เรียกประสบการณ์บางอย่าง ในระบบการปฏิบัติที่ท่านจัดวางขึ้น
ถ้าพูดตรงไปตรงมา  ตามเรื่องที่เป็นไป ก็ง่าย ชัดเจน แต่เอกสารของวัดพระธรรมกาย กล่าวว่า

"คำว่า "ธรรมกาย" มีหลักฐานปรากฎในพระไตรปิฎกอยู่ 4 แห่ง และในคัมภีร์อรรถกถา และฏีกาอีกหลายสิบแห่งดังรายละเอียดในหัวข้อเรื่องหลักฐานวิชชาธรรมกาย
นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์พระไตรปิฎกจีนในส่วนที่เป็นเนื้อหาของหินยาน มีการกล่าวคำวาา "ธรรมกาย"หลายๆแห่ง ระบุถึงความหมายของคำว่าธรรมกาย
และแนวทางการเข้าถึงไว้ อย่างน่าสนใจ  แต่เนื้อหาพระไตรปิฎกฉบับบาลีตกหล่นไป"...:)...

การกล่าวทำนองนี้  เป็นการสร้างความสับสนขึ้นใหม่ในเรื่องที่ชัดเจนอยู่แล้ว  มีทั้งการพูดในลักษณะที่จะให้เห็นว่า
พระไตรปิฎกบาลีเถรวาทที่ตนอาศัยอยู่  อาจจะเชื่อถือไม่ได้  หรือ บกพร่องยิ่งกว่าพระไตรปิฎกจีน  ในส่วนที่เป็นเนื้อหาของหินยาน
ทั้งที่หินยานนิกายนั้น  ก็ถูกชำระสะสางไปแล้ว  และพระไตรปิฎกจีนก็เป็นการแปลขึ้นภายหลัง
การที่กล่าวว่า  เอกสารของวัดพระธรรมกายจาบจ้วงพระธรรมวินัย  จึงไม่ใช่เป็นการกล่าวหา แต่เป็นการกระทำที่แสดงออกมาเองอย่างชัดเจน
ยิ่งกว่านั้น  ยังมีการกระทำที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง  แฝงอยู่ในคำกล่าวนั้นอีก 2 ประการ (ไม่ต้องพูดถึงเจตนาที่อยู่เบื้องหลัง) คือ
1.กล่าวถึงพระไตรปิฎกจีนขึ้นมาอย่างเลื่อนลอย ไม่แสดงเนื้อหาที่อ้างนั้นออกมาได้เลย  อาจจะเป็นการกล่าวตู่พระไตรปิฎกจีนนั้นด้วย
2.กล่าวว่า "ระบุถึง..แนวทางการเข้าถึง(ธรรมกาย)ไว้อย่างน่าสนใจ" แต่ที่จริง  

"ไม่มีพระไตรปิฎกฉบับใดจะต้องแสดงวิธีเข้าถึงธรรมกาย เพราะคำว่า "ธรรมกาย"เป็นคำพูดรวมๆ หมายถึง
ธรรมต่างๆที่ประสงค์จะแสดงถึงทั้งชุด  หรือ ทั้งหมวด หรือ ทั้งมวล เช่น โลกุตตรธรรมทั้ง 9 และธรรมเหล่านั้น เช่น
โลกุตตระธรรม 9 นั่นแหละที่ท่านจัดวางระบบวิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงไว้เรียบร้อยแล้ว"

เมื่อมรรคผลนิพพาน มีวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงพร้อมบริบูรณ์อยู่แล้ว  จึงไม่ต้องมีวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงธรรมกายขึ้นมาต่างหาก
มีแต่ว่า  ผู้ที่ปฏิบัติเข้าถึงมรรคผลนิพพานแล้ว  ก็จะมีธรรมกายที่ประกอบด้วยธรรม คือ คุณสมบัติต่างๆมากมาย ตามแต่จะเลือกพรรณา
ดังกล่าวแล้วว่า  "ธรรมกาย" ไม่ใช่หลักธรรมอันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ  ท่านใช้ขึ้นมาในความหมายพิเศษดังกล่าวแล้ว
ดังนั้นจะทราบไว้เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว ...(ขยายความต่อไป ติดตามอ่านได้ในกระทู้กรณีธรรมกาย นะจ๊ะ)

-คห 39--> จำได้ว่าเคยอธิบาย venture ไปแล้ว ว่า พระพุทธเจ้าปฏิเสธภพภูมิต่างๆเมื่อเข้าสู่พระนิพพาน
ฉะนั้น ไม่มีพระพุทธเจ้าในดินแดนใดๆทั้งสิ้นนะจ๊ะ

     "ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (นิพพาน) นั้นมีอยู่.    ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ   โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง   ย่อมไม่มี ในอายตนะนั้น.
 ภิกษุทั้งหลาย  เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ.   อายตนะนั้นหาที่ตั้ง อาศัยมิได้   มิได้เป็นไป   หาอารมณ์มิได้ นั้นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์."  (ขุ.อุ.25/158/206-207)


- คห 40---> เกี่ยวอะไรกับธรรมกาย?  พระพุทธเจ้าทรงอธิบายสภาวะของพระอรหันต์

พระศาสดาตรัสว่า 'ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าอภิสัมปรายภพของพระอเสขมุนีทั้งหลายผู้เห็นปานนั้น ย่อมไม่มี, เพราะว่าพระอเสขมุนีผู้เห็นปานนั้น ย่อมบรรลุมหานิพพานอันไม่จุติ อันไม่ตาย' ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

 'มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมแล้วด้วยกายเป็นนิตย์,   มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่ฐานะ (ที่) อันไม่จุติ, ซึ่งเป็นที่ชน (อเสขมุนี) ทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก.'

 ... บทว่า อจฺจุตํ ได้แก่ เที่ยง.
 บทว่า ฐานํ ได้แก่ ฐานะ (ที่) ที่ไม่กำเริบ คือ ฐานะ (ที่) ที่ยั่งยืน.
 บทว่า ยตฺถ เป็นต้น ความว่า มุนีทั้งหลาย ย่อมไปสู่ฐานะ (ที่) คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ชน (อเสขมุนี) ทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก คือไม่เดือดร้อน." (ขุ.ธ.25/27/45)

- คห  41 ---> เกี่ยวอะไรกับธรรมกาย? พระพุทธเจ้าทรงอธิบายพระนิพพาน  

"ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยากชื่อว่า นิพพาน ไม่มีตัณหา. นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย. ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่." (ขุ.อุ.25/159/207)


"ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง  ยากที่จะเห็นได้  สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบระงับ ประณีต  ไม่เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ด้วยการนึกคิด  เป็นธรรมละเอียด อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง."  (วิ.มหา.4/7/8)


- คห 42---> แน่นอนครับ มองด้วยตาจะเห็นอะไร เพราะพระนิพพานเป็นสภาวะที่ปรากฎรู้สึกได้ทางจิต
คงไม่ได้เห็นเป็นกายโสดา สกทาคามี  อนาคามี อรหันต์ หรือ แดนดินนิพพานใดๆ อันนี้ก็ยืนยันแล้วว่า วิชชาธรรมกายไม่มีในพระไตรปิฎก

ธรรมชาติที่พึงรู้แจ้ง มองด้วยตาไม่เห็น  ไม่มีที่สุด   สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ   ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้,   นามและรูปดับไปหมดไม่เหลือในธรรมชาตินี้, เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้."  (ม.มู.12/554/596)


- คห 43---> เหมือนกับ 42  มองด้วยตาไม่เห็น   เกี่ยวอะไรกับวิชชาธรรมกาย  ?

"ธรรมชาติที่พึงรู้แจ้ง มองด้วยตาไม่เห็น  ไม่มีที่สุด   สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ   ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้,   นามและรูปดับไปหมดไม่เหลือในธรรมชาตินี้, เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้."  (ม.มู.12/554/596


- คห 44--->แน่นอนครับ  หยั่งไม่ได้ด้วยตรรกะ เพราะ ปุถุชนเห็นว่าการสนองตัณหานั้นเป็นสิ่งที่จะสร้างความสุขให้กับเขาได้
พระพุทธเจ้าทรงใคร่ครวญเห็นว่าเหล่าสัตว์มีตัณหาหนาแน่น ตอนแรกพระองค์ไม่ทรงสั่งสอน   พอดีมีพรหมมานิมนต์ท่านจึงทรงประกาศธรรมจักร
ฉะนั้น การทวนกระแสแห่งตัณหาเป็นสิ่งที่สวนทางตรรกะของปุถุชน ---> เกี่ยวอะไรกับวิชชาธรรมกาย


ธรรมนี้เป็นสภาพลึก  เห็นได้ยาก  ตรัสรู้ตามได้ยาก  เป็นธรรมสงบ ประณีต  คิดเดาด้วยเหตุผลธรรมดาไม่ได้ [หยั่งไม่ได้ด้วยตรรกะ] เป็นธรรมละเอียด  เป็นวิสัยที่บัณฑิตเท่านั้นที่จะถึงรู้ได้" - พุทธภาษิต


--> venture อ่านเข้าใจไหมครับ?  


--------------------------------

   
ขออนุญาตเริ่มบางส่วนของ ตอนที่ 5 ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย  ก็ร้าย แต่ทำพระธรรมวินัยให้วิปริต ร้ายยิ่งกว่า

แก้ไขเมื่อ 23 ก.พ. 55 09:22:03

 
 

จากคุณ : ต่อmcu
เขียนเมื่อ : 20 ก.พ. 55 08:24:30




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com