Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ผมได้เสนอว่า [ลงสู่ธรรม ที่กล่าว่า "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" เพราะด้วยปัญญาประจักใน อริยสัจ 4 ตามลำดับนั้นเอง] ติดต่อทีมงาน

ต่อเนื่องมาจากกระทู้นี้

http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11749742/Y11749742.html

 จากข้อมูลส่วนนี้

-----------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 19 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

สวัสดีครับคุณ นิแรน

 ที่กล่าวว่า "ผมเข้าใจว่า เราไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในทุกสิ่งทุกอย่าง ผ่านมาก็ผ่านไป  ซึ่งสอดคล้องกับ ธรรมทั้งปวงอนัตตา  หรือ การปล่อยวาง หากผมเข้าใจผิดช่วยแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ"

 ตอบ ก็เป็นการกล่าวที่ไม่ผิด ตามนัยของพุทธธรรมครับ.

  แต่นัยยะ ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นทั้งที่เป็นบัญญัติคือความเข้าใจ กับการถูกต้องด้วยนามกายคือการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติ

 ผมจะสรุปให้เข้าใจได้ในการแสดงความเห็นนะครับ

 ถ้าเป็นตามบัญญัติก็จะไล่ความเข้าใจไป จากเรื่อง รูป-นามหรือขันธ์ หรือเรื่องของผัสสะ เรื่องของไตรลักษณ์ เรื่องของอิทับปัจจยตา เรื่องของปฏิจสมุทบาทฝ่ายเกิดฝ่ายดับ ลงสู่ "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"

 ถ้าเป็นการถูกต้องด้วยนามกายคือการปฏิบัติธรรม และมีผลของการปฏิบัติ ก็เริ่มทั้งแต่...

  1.ศีล
  2.อินทรีย์สังวร คือสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ    
  3.เจริญสติสัมปชัญญะ คือปฏิบัติอริยาบทบรรพ คือรู้ตัวทั่วพร้อมในอริยาบท ยืน นั่ง นอน เดิน แล้วระเอียดลงสู่ในอริยาบทย่อยต่างๆ
  4.เจริญพระกรรมฐาน 40 อย่างใดอย่างหนึ่ง ทีพึงสามารถยกเป็นวิปัสสนา คือ เป็นสติปัฏฐาน 4 ได้ในภายหลัง หรือเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนา อย่าง กายกตาสติ หรืออานาปานสติ 16  หรือยก สติปัฏฐาน 4 ปฏิบัติโดยตรงก็ได้ และสรุปคือปฏิบัติกรรมฐานอย่างถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้นเอง
  5.ในการปฏิบัตินั้นต้องทำให้ พละ 5 เจริญขึ้น ต้องมีอิทธิบาท 4 ต้องมีสัมมปทาน 4 เพื่อให้เกิด สติปัฏฐาน 4 เจริญขึ้นสมบูรณ์ขึ้น
  ก็ทำให้โพชฌงค์ 7 สมบูรณ์ขึ้น ก็ย่อมทำให้ อินทรีย์ 5 บริบูรณ์ มรรคมีองค์ 8 จึงเจริญสมบูรณ์ตามฐานบุคคลไปตามลำดับ (ตามลำดับของพระอริยบุคคล)

 ก็จะลงสู่ธรรม ที่กล่าว่า "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" เพราะด้วยปัญญาประจักใน อริยสัจ 4 ตามลำดับนั้นเอง.

(ผมต้องไปธุระต่อนะครับ)

จากคุณ : P_vicha
---------------------------------

 ซึ่งตามเหตุอันควร น่าจะยุติได้แล้ว  แต่เมื่อ ข้อความนี้

************************
  ก็จะลงสู่ธรรม ที่กล่าว่า "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" เพราะด้วยปัญญาประจักใน อริยสัจ 4 ตามลำดับนั้นเอง
************************

    หลุดออกมาจากความเข้าใจของผมเองในขณะที่เสนอความคิดเห็นนั้น โดยไม่คิดว่าต้องมีข้อมูลมารองรับ แล้วพิมพ์ออกไป ก็มีผู้ตั้งประเด็นขึ้นทำนองว่า ตรงตามพุทธพจน์หรือพุทธปัญญา หรือ?

    และผมก็ไม่ต้องการ แบบมี ? ? ? เป็นทิฏฐิที่มากมาย เพราะผมเองอ่านแล้วก็ งง ใน ? ? ? เช่นกัน คิดว่าคงเหมือนกับผู้อ่านอื่นๆ จึงไม่คอยเข้าไปอ่านในรายระเอียด และข้ามไปเสียมากกว่า.

     แต่เมื่อมีผู้ตั้งประเด็นไว้ื และเป็นกระทู้ที่ผมตั้งขึ้น เิ้มื่อเห็นควรก็จำต้องหาข้อมูลมาประกอบให้ชัดเจนครับ  ดังนี้.    

   จากพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระเสขะ ในเรื่องการขัดเกลา ในส่วนนี้.

----------------------------------------------
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่าง
มั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือ
อย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย.
---------------------------------------------


   ตามความเข้าใจของผม ก็คือพระเสขะนั้นไม่ควรเป็นผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิ(ความเห็น)แห่งตนอย่างมั่นคง สามารถสละคืนได้โดยง่าย เมื่อ ไม่ถูกต้องตามเหตุปัจจัย หรือไม่จริง หรือไม่จริงแท้ นั้นเอง  
      และถึงแม้จะ ถูกตามบัญญัติ จริงแท้ แต่นำมาซึ่งเกิดอกุศลจิตแห่งตนเพราะยึดมั่นถื่อมั่นในทิฏฐิบัญญัตินั้น ก็พึงวางสละคืนทิฏฐิในความยึดมั่นนั้นที่ก่อให้เกิดอุกศลจิตแห่งตนอันเกินควรเสีย  เพราะธรรมใดจริงแท้ ก็ย่อมจริงแท้อยู่อย่างนั้น แม้ว่าทิฏฐิของผู้อื่นจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ จะมั่นคงหรือไม่มั่นคง ก็ตาม.

      ก็จะคล่อยตามธรรมที่ว่า "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"

   และจากการพิมพ์ของผมที่ว่า.....(ขีดเส้นใต้เพื่อให้ชัดเจนขึ้น)
****************************
    ก็ทำให้โพชฌงค์ 7 สมบูรณ์ขึ้น ก็ย่อมทำให้ อินทรีย์ 5 บริบูรณ์ มรรคมีองค์ 8 จึงเจริญสมบูรณ์ตามฐานบุคคลไปตามลำดับ (ตามลำดับของพระอริยบุคคล)

    ก็จะลงสู่ธรรม ที่กล่าว่า "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" เพราะด้วยปัญญาประจักใน อริยสัจ 4 ตามลำดับนั้นเอง.
****************************

   
     เมื่อเกิดประเด็น หรือ? ผมไปทำการค้นข้อมูล ก็ไม่ได้คลาดเคลื่อนไปจากธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วในพระไตรปิฎก เล่มที่ 13 ดังนี้.

-------------------------------------------------
                             บุคคล ๗ จำพวก
        [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกเป็นไฉน
คืออุภโตภาควิมุตบุคคล ๑ ปัญญาวิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธา
วิมุตบุคคล ๑ ธัมมานุสารีบุคคล ๑ สัทธานุสารีบุคคล ๑.
        [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
บางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่ และ
อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาค
วิมุตบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่
ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และ
ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.
       [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
บางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ แต่
อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้
เรากล่าวว่าปัญญาวิมุตบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้น
ทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.
        [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายสักขีบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน
ในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ และอาสวะ
บางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรากล่าวว่ากายสักขีบุคคล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉน
ท่านผู้นี้ เมื่อเสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำซึ่งที่สุด
พรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่าที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองได้ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่
ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้
       [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน
ในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะ
บางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่ตถาคต
ประกาศแล้ว เป็นธรรมอันผู้นั้นเห็นแจ้งด้วยปัญญาประพฤติดีแล้ว บุคคลนี้เรากล่าวว่า ทิฏฐิปัตต
บุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้
เสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มี
ธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการให้แจ้งชัด
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความ
ไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้
       [๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธาวิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
บางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่
อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ความเชื่อในพระตถาคต
ของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว มีรากหยั่งลงมั่นแล้ว บุคคลนี้เรากล่าวว่าสัทธาวิมุตบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวว่ากิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรา
เห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะอันสมควร คบหา
กัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.
       [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธัมมานุสารีบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
บางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่
อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระ
ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมควรซึ่งความพินิจ โดยประมาณด้วยปัญญาของผู้นั้น อีกประการหนึ่ง
ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น
บุคคลนี้เรากล่าวว่า ธัมมานุสารีบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความ
ไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนี้เพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของ
ภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรคบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่
พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึง
กล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.
       [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธานุสารีบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
บางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่
แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ผู้นั้นมีแต่เพียง
ความเชื่อความรักในพระตถาคต อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เรากล่าวว่า สัทธานุสารีบุคคล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะ
ที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มี
ธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญา
อันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.
-----------------------------------------

   ซึ่งก็คือ  เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา  ตามลำดับฐานะของพระอริยบุคคล ทั้ง 7 นั้นเอง

     การเสนอข้อมูลของผมที่ว่า
************************
  ก็จะลงสู่ธรรม ที่กล่าว่า "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" เพราะด้วยปัญญาประจักใน อริยสัจ 4 ตามลำดับนั้นเอง
************************

    จึงไม่ได้คลาดเคลื่อนไปจากในพระไตรปิฏก ที่ได้หาข้อมูลมาแสดงให้ทราบ.

     ท่านผู้อ่านร่วมสนทนาได้ครับ แต่ถ้าเสนอแบบ มี ? ? ? และวกวน ผมจะข้ามและไม่ตอบก็ได้ ตามสิทธิ์ส่วนตัวนะครับ.

จากคุณ : P_vicha
เขียนเมื่อ : 27 ก.พ. 55 11:51:38




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com