Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
"สันติภาพและสงคราม" วัตถุประสงค์ของสงครามในอิสลาม ติดต่อทีมงาน

ขียนโดย เชคยูซุฟ อัลก็อรฎอวีย์ (ลุกมานุลหะกีม แปล)    

Imageอิสลามได้กำหนดวัตถุประสงค์ของสงครามไว้ดังนี้


1)   ตอบโต้การรุกราน      

    วัตถุประสงค์ของสงครามอันดับแรกที่อิสลามกำหนดไว้ก็คือ  การตอบโต้การรุกรานและระงับการบุกรุกด้วยกำลัง  ทั้งที่เป็นการรุกรานที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา  มาตุภูมิหรือแผ่นดิน

      การรุกรานที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา  เช่น การที่ชาวมุสลิมถูกกดขี่ในเรื่องศาสนาและความเชื่อ ถูกก่อกวนและขัดขวางมิให้ปฏิบัติตามศาสนกิจ  ถูกจำกัดและขัดขวางมิให้มีการเผยแผ่อิสลาม หรือนักเผยแผ่ได้รับอันตรายถึงขั้นถูกฆ่า  เป็นต้น
เช่นเดียวกันกับการรุกรานในแผ่นดินและมาตุภูมิของชาวมุสลิม และการรุกรานที่เป็นภัยต่อชีวิต  การยึดครองปล้นสดมภ์ทรัพยากร  การย่ำยีศักดิ์ศรีสิ่งที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวมุสลิม  ซึ่งเป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องลุกขึ้นตอบโต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิสลามถือว่าประเทศของมุสลิมถือเป็นแผ่นดินอันเดียวกัน  หากส่วนใดส่วนหนึ่งถูกรุกราน  มุสลิมทั่วโลกจำเป็นต้องพิทักษ์รักษาป้องกัน

อิส ลามยังสั่งกำชับให้มุสลิมทุกคนปกป้องคนต่างศาสนิกที่ยอมอยู่ภายใต้การปกครอง ของรัฐอิสลามอีกด้วย โดยที่อิสลามถือว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นประชากรในรัฐอิสลามเช่นเดียวกันและ การที่พวกเขายอมสวามิภักดิ์ภายใต้การปกครองของอิสลามนั้น  รัฐอิสลามจึงจำเป็นต้องคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขาเสมือนที่รัฐอิส ลามให้การคุ้มครองแก่ชาวมุสลิมทุกประการ

เช่น เดียวกันกับกรณีของชาวต่างศาสนิก   ที่กระทำสนธิสัญญากับรัฐอิสลาม  พวกเขาจะต้องได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกัน  เพราะการทำสนธิสัญญาย่อมหมายถึง  การเกื้อกูลระหว่างกันทั้งในยามปกติหรือภาวะคับขัน   ช่วงสันติหรือช่วงสงคราม  ด้วยเหตุนี้เมื่อชาวกุเรชได้รุกรานเผ่าคุซาอะฮฺ  ซึ่งเป็นเผ่าที่เป็นคู่สัญญากับท่านนบีฯมุหัมมัด  (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)  ท่านจึงออกคำสั่งยกกองกำลังเพื่อเปิดนครมักกะฮฺทันที

อิส ลามจึงสั่งกำชับให้มุสลิมตอบโต้การรุกรานและระงับความอยุติธรรมไม่ว่าจะมา จากฝ่ายไหนหรือจะเป็นใครก็ตาม  อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกล่าวไว้ในอัลกุรอาน  ความว่า :

“  และพวกเจ้าจงต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ  ต่อบรรดาผู้ที่ทำร้ายพวกเจ้าและจงอย่ารุกราน  แท้จริงอัลลอฮฺทรงไม่ชอบผู้ที่รุกราน ”  (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 190)



2 )  ระงับการแพร่ขยายของฟิตนะฮฺ  (การขดขี่ในเรื่องศาสนา)  หรือปกป้องพิทักษ์การเผยแผ่อิสลาม

วัตถุ ประสงค์ของสงครามในอิสลามอีกประการหนึ่งที่ระบุไว้ในอัลกุรอานคือ เพื่อระงับการแพร่ขยายของฟิตนะฮฺ  ( การขดขี่ในเรื่องศาสนา ) ซึ่งได้ปรากฎใน 2 โองการในอัลกุรอาน

โองการแรก  ความว่า :

  “ และจงสู้รบกับพวกเขาจนกว่าไม่มีฟิตนะฮฺอีกต่อไป  และจนกว่าศาสนาจะกลับมาเป็นสิทธิแห่งอัลลอฮฺ  หากแม้นพวกเขาขอเลิกรบ  ดังนั้น  จงอย่าละเมิดยกเว้นกับบรรดาผู้ที่รุกล้ำอย่างอธรรม   ”  (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 193)

โองการที่สอง  ความว่า :

“ และพวกเจ้าจงสู้รบกับพวกเขา  จนกว่าฟิตนะฮฺในศาสนาจะไม่ปรากฏขึ้น  และจนกว่าศาสนาจะกลับเป็นสิทธิแห่งอัลลอฮฺ  ถ้าหากพวกเขาหยุดยั้ง  (การละเมิด) แน่นอนอัลลอฮฺนั้นทรงเห็นในสิ่งที่พวกเขากระทำ ”  (อัล-อันฟาล :39)

อัลกุรอานได้จำกัด วัตถุประสงค์ของสงครามในอิสลามเพียงเพื่อยับยั้งการคุกคามด้านศาสนา   ซึ่งมีความหมายที่ครอบคลุมการคุกคามในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าต่อชีวิต ครอบครัว  ทรัพย์สินหรือบุคคลที่รัก

ฟิต นะฮฺ  ตามความหมายด้านภาษาแล้วหมายถึง  การทดสอบ  คนอาหรับมักจะพูดว่า  กระทำฟิตนะฮฺทองคำ  ซึ่งหมายถึง การเผาไหม้ทองคำเพื่อทดสอบและคัดสรรทองที่ดีและมีคุณภาพ  ดังนั้นคำว่าฟิตนะฮฺในอัลกุรอาน  จึงมีความหมายว่า  การที่ชาวมุสลิมได้รับการขดขี่ ข่มเหง  การประทุษร้ายต่อร่างกายและจิตใจด้วยวิธีการต่างๆ นานา  เพื่อให้พวกเขาละทิ้งศาสนาอิสลาม

ช่วง ที่บรรดาผู้ศรัทธาถูกกดขี่ข่มเหงจากชาวกุเรชที่นครมักกะฮฺในอดีต  อัลกุรอานก็ได้กล่าวถึงพวกเขาเพื่อปลอบใจและให้ขวัญกำลังใจแก่พวกเขา  ด้วยบทอัลกุรอาน  ความว่า :

“ อะลีฟ ลาม มีม มนุษย์คิดหรือว่าพวกเขาจะถูกปล่อยให้พูดว่าเราศรัทธาแล้ว โดยที่พวกเขาจะไม่ถูกทดสอบ (ฟิตนะฮฺ )  กระนั้นหรือ ”

“ แท้จริง  เราได้ทดสอบประชาชาติก่อนหน้าพวกเขาแล้ว  ดังนั้นอัลลอฮฺจะทรงจำแนกให้รู้แจ้งถึงบรรดาผู้สัตย์จริงและจะทรงจำแนกถึง ผู้กล่าวเท็จ ” (อัล-อังกะบูต : 1-3)

อัล ลอฮฺจึงพยายามอธิบายให้บรรดาผู้ศรัทธาทราบว่า  การที่ศรัทธาชนได้รับการทรมานเนื่องจากที่พวกเขายึดมั่นในศาสนานั้น  เป็นเรื่องที่ได้เกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษย์ ที่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาได้กระทำการอย่างทารุณต่อศรัทธาชน  อัลกุรอานยังได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นแก่ศรัทธาชนกลุ่มหนึ่งในอดีตกาลที่พวก เขาถูกโยนเข้าไปในกองไฟ  ท่ามกลางรู้เห็นเป็นใจจากบรรดาอาชญากรเพียงเพื่อทดสอบเขาเหล่านั้นถึงการยึด มั่นในศาสนา  โดยอัลกุรอานได้ระบุไว้  ความว่า :

“ แท้จริงบรรดาผู้ที่สร้างฟิตนะฮฺ  (กดขี่ ผู้คน)  บรรดาศรัทธาชนทั้งชาย หญิง  แล้วพวกเขามิได้สำนึกผิดกลับตัวนั้น  พวกเขาจะได้รับโทษแห่งนรกญะฮันนัม  (นรกอเวจี) และพวกเขาจะได้รับการลงโทษแห่งการเผาไหม้ ” (อัล-บุรูจญ์  : 10)

       ผู้ที่สร้างฟิตนะฮฺตามความหมายในโองการดังกล่าวคือ ผู้ที่กดขี่และทรมานศรัทธาชนด้วยการโยนพวกเขาเข้าไปในกองเพลิงท่ามกลางสักขี พยานของพวกเขา

      ด้วยเหตุดังกล่าว  ฟิตนะฮฺในเรื่องของศาสนา   จึงเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่งสำหรับชีวิตมนุษย์  เพราะเป็นการจำกัดอิสรภาพของมนุษย์ที่จะเลือกวิถีชีวิตที่ตนเองกำหนด โดยทั่วไปแล้วบรรดาผู้มีอำนาจต่างก็พยายามที่จะบังคับความรู้สึกของมนุษย์  มนุษย์ไม่มีสิทธิปฏิบัติในสิ่งที่ตนเองเลื่อมใสศรัทธา   จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากผู้ที่มีอำนาจก่อน  เสมือนกับกษัตริย์ฟิรเอาน์ (ฟาโรห์) ที่เคยข่มขู่กลุ่มนักมายากลที่ประกาศตนเป็นผู้ศรัทธาในพระเจ้าของนบีมูซาและ นบีฮารูน

ความว่า : “ ฟิรเอาน์  (ฟาโรห์)  กล่าวว่า  พวกเจ้าศรัทธาต่อเขา (มูซา) ก่อนที่ข้าจะอนุมัติ แก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ ” (อัล-อะอฺรอฟ :123)

      โองการดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า  เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่ใครคนหนึ่งจะเลื่อมใสศรัทธาในเรื่องใดเรื่อง หนึ่ง  โดยไม่ผ่านการอนุมัติของฟิรเอาน์ (ฟาโรห์)

ด้วยการนี้ จึงไม่แปลกที่อัลกุรอานจะถือว่า  การสร้างฟิตนะฮฺจะมีผลกระทบที่ใหญ่โตและร้ายแรงยิ่งกว่าการฆ่า

      ผลกระทบของฟิตนะฮฺ  หากมองในแง่ของเนื้อหาแล้ว จะร้ายแรงยิ่งกว่าการฆ่า  และหากมองในแง่ของปริมาณก็จะใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่าเช่นเดียวกัน อัลลอฮฺทรงกล่าวไว้ในอัลกุรอาน

ความว่า : “  พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับเดือนต้องห้ามซึ่งการสู้รบในเดือนนั้น จง กล่าวเถิดว่าการสู้รบในเดือนดังกล่าวเป็นบาปที่ใหญ่หลวง  แต่การขัดขวางออกจากแนวทางของอัลลอฮฺและการปฏิเสธการศรัทธาต่อพระองค์    และการกีดกันมิให้เข้ามัสยิดหะรอม  ตลอดจนการขับไล่ชาวมัสยิดหะรอมออกไปนั้นเป็นบาปที่ใหญ่โตกว่า ณ ที่อัลลอฮฺ  และการฟิตนะฮฺนั้นใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่า ”  ( อัล-บะเกาะเราะฮฺ    : 217)

       โองการดังกล่าวเป็นการบอกเล่าชาวมุชริกีนที่ได้โหมโรมประโคมข่าวเกี่ยวกับ การที่ชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งได้ฆ่าชาวมุชริกีนคนหนึ่งในเดือนที่ต้องห้ามโดย ไม่เจตนา  อัลกุรอานจึงยอมรับว่าการฆ่าคนในเดือนที่ต้องห้ามนั้นเป็นบาปที่ยิ่งใหญ่  แต่อัลกุรอานยังบอกด้วยว่า   การที่ชาวมุชริกีนได้ขัดขวางชาวมุสลิมมิให้นับถือศาสนาของอัลลอฮฺ   การกีดกันพวกเขามิให้เข้ามัสยิดหะรอม  ตลอดจนการขับไล่พวกเขาออกจากมาตุภูมินั้น ถือเป็นการกระทำบาปที่ยิ่งใหญ่กว่า   ด้วยเหตุนี้อัลกุรอาน   จึงกล่าวว่า    “  และการฟิตนะฮฺนั้นใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่า ”

      ดังนั้นความหมายของฟิตนะฮฺในอัลกุรอานนั้นคือ  การที่บรรดาศรัทธาชนได้รับการทรมาน กดขี่ ข่มเหง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟิตนะฮฺที่ชาวกุเรชได้ปฏิบัติต่อท่านนบีฯ(ขอความสันติสุข จงมีแด่ท่าน) และบรรดาสาวกทั้งหลายที่นครมักกะฮฺ  ตลอดระยะเวลา 13 ปี  ที่บรรดาศรัทธาชนต้องได้รับการทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ   ถูกสกัดกั้นมิให้คบค้าสมาคมกับสังคมภายนอก และห้ามมีการติดต่อทางธุรกิจ  จนกระทั่งพวกเขาต้องปลีกตัวเองออกจากสังคมโดยต้องอาศัยตามภูเขาและกินใบไม้ แทนอาหาร  ในขณะที่ผู้ศรัทธาที่มีฐานะด้อยกว่าหรือยากจนก็ถูกทรมานจนเสียชีวิต  พวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานกับพฤติกรรมอันไร้มนุษยธรรมเช่นนี้ จนกระทั่งต้องระเหเร่ร่อน  อพยพออกจากมาตุภูมิของตนเองโดยวิธีการอยุติธรรม  เพียงเพราะพวกเขากล่าวและศรัทธาว่า   “ พระเจ้าของเรา  คือ อัลลอฮฺ”

      นี่คือ  ความหมายอันแท้จริงของคำว่าฟิตนะฮฺ ที่ปรากฏในอัลกุรอาน

      ฟิตนะฮฺ  จึงมีผลกระทบที่ใหญ่โตและร้ายแรงยิ่งกว่าการฆาตรกรรม  เพราะฆาตรกรรมเป็นอาชญากรรมทางร่างกายและชีวิตที่เป็นเพียงวัตถุเท่านั้น  แต่ฟิตนะฮฺเป็นการก่ออาชญากรรมทางความรู้สึก   ความคิดและจิตวิญญาณซึ่งมีผลที่ร้ายแรงทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างกว่า อาชญากรรมทางร่างกายเป็นแน่แท้

สรุป แล้ว  สงครามในอิสลามเป็นสิ่งอนุมัติโดยมีเป้าประสงค์เพื่อยับยั้งการฟิตนะฮฺ  ระงับการกดขี่ข่มเหงในเรื่องศาสนา  ปราบปรามการกระทำที่จะนำไปสู่การบังคับขู่เข็ญมนุษย์ด้วยกันไม่ว่าทางด้าน ร่างกายและจิตใจ  ตลอดจนพิทักษ์อิสรภาพของการเผยแผ่และผู้ที่เผยแผ่อิสลาม  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้คนมีสิทธิที่จะเลือกศรัทธาหรือปฏิเสธศาสนาตามความสมัครใจ ของตนเอง  เพราะอิสลามยึดหลักว่า

“ ไม่มีการบังคับในการนับถือศาสนา ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ :256)

“ ดังนั้นผู้ใดปฏิบัติตามแนวทางถูกต้อง  แท้จริงเขาดำเนินตามแนวทางถูกต้องเพื่อตัวของเขา  และผู้ใดหลงทาง  แท้จริงก็หลงทางเพื่อตัวของเขาเช่นเดียวกัน ” (ยูนุส :108)

       ส่วนที่มีนักวิชาการมุสลิมในยุคแรกได้ให้คำอธิบาย  “ฟิตนะฮฺ” ด้วยความหมายว่า  การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺหรือการปฏิเสธอัลลอฮฺนั้น  ถือเป็นการอธิบายที่ไม่มีหลักฐานสนับสนุน  ซึ่งตามหลักวิชาการแล้ว  การอธิบายอัลกุรอานด้วยอัลกุรอานเอง  ถือเป็นการอธิบายที่มีคุณค่าและถูกต้องที่สุด  ดังนั้นหลังจากที่มีการศึกษาอย่างถี่ถ้วนแล้ว  พบว่าฟิตนะฮฺที่ปรากฏในอัลกุรอานมีความหมายว่า  การที่ศรัทธาชนถูกทำร้ายไม่ว่าทางร่างกายและจิตใจ  การขดขี่บังคับให้พวกเขาละทิ้งศาสนาอิสลาม  การก่อกวนและขัดขวางมิให้พวกเขาประกอบตามศาสนกิจ  หรือการขับไล่พวกเขาออกจากมาตุภูมิ



3) ยื่นมือให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อ่อนแอและเดือดร้อน

วัตถุ ประสงค์ประการหนึ่งของสงครามในอิสลามคือ เพื่อยื่นมือให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อ่อนแอและผู้เดือดร้อนจากการกดขี่ข่มเหง ของผู้มีอำนาจ  เพราะโดยปกติวิสัยของมนุษย์ผู้มีอำนาจ มักจะรังแกผู้ที่ด้อยกว่า  พวกเขาจะทำลายเกียรติยศและศักดิ์ศรีของมนุษย์ด้วยกันพร้อมกับการวางก้าม เที่ยวรุกรานคนอื่นด้วยเหตุผลว่า  พวกเขามีกองกำลังและอำนาจที่เหนือกว่าเท่านั้น

       ด้วยเหตุดังกล่าว  หน้าที่ของมุสลิมทุกคนคือ  ต้องรีบยื่นมือให้ความช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอเหล่านั้นให้พ้นจากเงื้อมมือของ ผู้ลุแก่อำนาจ  อัลกุรอานได้กล่าวไว้

ความ ว่า : “ ด้วยเหตุผลประการใดหรือที่พวกเจ้าไม่สู้รบในหนทางของอัลลอฮฺและหนทางของ บรรดาผู้อ่อนแอไม่ว่าชายและหญิงหรือเด็กๆ ที่กล่าวว่า  โอ้พระเจ้าของเรา โปรดพาพวกเราให้ออกไปจากเมืองนี้  ซึ่งผู้คนได้ข่มเหงรังแก  และได้โปรดส่งผู้คุ้มครองเราและช่วยเหลือพวกเราด้วยเทอญ ” (อัน-นิสาอฺ :75)

      ท่านลองสังเกตสำนวนอัลกุรอานที่เชิญชวนบรรดามุสลิม  ให้ลุกขึ้นต่อสู้ด้วยสำนวนที่ปลุกเร้า   “”  จะเห็นได้ว่าอัลลอฮฺ  ได้ลำดับความสำคัญของการต่อสู้ในหนทางของผู้อ่อนแออยู่ในระดับเดียวกันกับ การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ  และถ้าหากเราไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วจะพบว่าการต่อสู้ในหนทางของผู้อ่อนแอก็ คือ  ส่วนหนึ่งของการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากเป้าประสงค์สูงสุดของการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺนั้น  เพื่อให้สาส์นแห่งอัลลอฮฺสูงส่ง  สาส์นแห่งอัลลอฮฺคือสาส์นแห่งสัจธรรมที่ปฏิเสธความเท็จ  สาส์นที่อยู่บนพื้นฐานแห่งความยุติธรรมที่ต่อต้านความอยุติธรรม  และการให้ความช่วยเหลือผู้อ่อนแอแท้จริงแล้วก็คือ  ความพยายามที่จะดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมบนผืนแผ่นดิน  ด้วยเหตุนี้อัลกุรอานจึงได้กล่าวในโองการหลังจากนั้น

ความว่า :  “บรรดา ผู้ศรัทธาได้ทำการสู้รบในหนทางของอัลลอฮฺ  แต่บรรดาผู้ปฏิเสธได้ทำการสู้รบในหนทางของอัฏ-ฏอฆูต  (สิ่งที่ถูกกราบไหว้บูชาที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ ) ”

      ด้ายเหตุดังกล่าว  มุสลิมจึงถูกเรียกร้องให้ยื่นมือมอบความช่วยเหลือแก่ผู้ที่อ่อนแอและผู้ที่ ได้รับการขดขี่  ถึงแม้ว่าพวกเขาไม่ใช่มุสลิมก็ตาม

      ยิ่งไปกว่านั้น  มุสลิมถูกกำชับให้ความช่วยเหลือแก่สัตว์ที่ประสบความเดือดร้อนเท่าที่สามารถ ปฏิบัติได้  ไม่ว่าความเดือดร้อนเหล่านั้นมาจากการกระทำของมนุษย์หรืออันเนื่องมาจากภัย พิบัติต่างๆ  ดังกรณีเกิดภาวะภัยแล้งหรือขาดแคลนน้ำ  เป็นต้น



4) ให้บทเรียนแก่ผู้ละเมิดสัญญา

ส่วน หนึ่งของวัตถุประสงค์ของการทำสงครามในอิสลาม คือ ให้บทเรียนแก่ผู้ละเมิดสัญญา  สั่งสอนแก่ผู้ที่รักษาสัญญาตราบใดที่ยังประโยชน์แก่พวกตนเท่านั้น  ยามใดก็แล้วแต่ที่ไม่บังเกิดผลดีแก่พวกเขา  และพวกเขาถือไพ่ที่เหนือกว่า   พวกเขาก็จะฉีกสัญญาทันทีและถือว่าสัญญาเหล่านั้นเป็นเพียงเศษกระดาษที่ไร้ คุณค่าเท่านั้นเอง

      มนุษย์ในลักษณะเช่นนี้  ไม่สมควรที่จะปล่อยให้เหิมเกริมบนหน้าแผ่นดิน  หาไม่แล้วพวกเขาก็จะหยิ่งผยองและสร้างความเดือดร้อนบนแผ่นดินอย่างแน่นอน



      แท้จริงแล้วชาวมุสลิมในยุคท่านนบีฯ (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) ก็ถูกละเมิดสัญญาเช่นเดียวกัน  ดังกรณีที่ชาวยิวได้เคยทำสัญญากับท่านนบีฯมุหัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) โดยได้กำหนดภาระหน้าที่ที่พึงมีระหว่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเกื้อกูลอุด หนุนและให้ความช่วยเหลือ  ซึ่งกันและกัน แต่เผ่ายิวในสมัยนั้นไม่ว่าจะเป็นเผ่าก็อยนุกออฺ  เผ่านาฏีร  และเผ่ากุร็อยเศาะฮฺต่างก็ละเมิดสัญญาที่เคยกระทำไว้กับท่านนบีฯ  (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)  โดยที่พวกเขาร่วมมือกับบรรดามุชริกีนรุกรานและโจมตีชาวมุสลิมที่อยู่ในนครมะ ดีนะฮฺทั้งๆ ที่ชาวมุสลิมกำลังตกอยู่ในภาวะที่ต้องการความช่วยเหลือจากพวกเขาอย่างมาก

      ด้วยเหตุดังกล่าวท่านนบีฯ  (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)  จึงจำเป็นต้องประกาศสงครามกับพวกเขาหลังจากเสร็จสิ้นการทำสงครามใหญ่เกือบ ทุกครั้ง  หลังจากสงครามบัดรฺ  ท่านนบีฯต้องประกาศสงครามกับชาวยิวเผ่าก็อยนุกออฺ  หลังจากสงครามอุหุด  ท่านนบีฯต้องประกาศสงครามกับชาวยิวเผ่านาฏีรและหลังจากสงครามพลพรรค (อัหซาบ)  ก็ต้องประกาศสงครามกับชาวยิวเผ่ากุร็อยเศาะฮฺ      เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว  อัลกุรอานได้กล่าวถึงพฤติกรรมอันฉ้อฉลของพวกเขา  

ความ ว่า : “  แท้จริงสัตว์โลกที่ชั่วร้ายยิ่ง ณ อัลลอฮฺนั้น  คือ บรรดาผู้ที่เนรคุณดังนั้นพวกเขาจึงไม่ศรัทธา  คือบรรดาผู้ที่เจ้าได้ทำสัญญาไว้กับพวกเขาและพวกเขาก็ทำลายสัญญาในทุกครั้ง  โดยที่พวกเขาหาเกรงกลัวไม่  ถ้าหากเจ้าสามารถจับตัวเขาไว้ได้ในการรบ ก็จงขับไล่ผู้ที่อยู่ข้างหลังพวกเขา  (หมายถึงผู้ที่สนับสนุนพวกเขาอยู่เบื้องหลัง)  ด้วยการลงโทษพวกเขาเผื่อว่าพวกเขาจะสำนึก ”  (อัล-อัมฟาล :55-56)
5) สร้างสันติภาพในกลุ่มชาวมุสลิมด้วยกัน

วัตถุ ประสงค์ของการทำสงครามในข้อนี้  เป็นวัตถุประสงค์ที่มีไว้เฉพาะสำหรับชาวมุสลิมเท่านั้น  นั่นคือ  การสร้างสันติภาพระหว่างมุสลิมสองกลุ่มที่ขัดแย้งกัน และการระงับการต่อสู้ระหว่างมุสลิมด้วยกันโดยใช้กองกำลัง  และสิ่งนี้ถือเป็นหนึ่งในศาสนบัญญัติในอิสลามที่กำหนดให้ปฏิบัติ  และผู้ที่ถูกกำชับให้ปฏิบัติในอันดับต้นๆ  ก็คือ  เคาะลีฟะฮฺหรือผู้นำอิสลาม   อัลลอฮฺทรงตรัสไว้  

ความ ว่า :   “ และหากมีสองฝ่ายจากบรรดาผู้ศรัทธาทะเลาะวิวาทกัน  พวกเจ้าก็จงไกล่เกลี่ยระหว่างทั้งสองฝ่าย  หากฝ่ายหนึ่งในสองฝ่ายนั้นละเมิดอีกฝ่ายหนึ่ง  พวกเจ้าก็จงปราบฝ่ายที่ละเมิดจนกว่าฝ่ายนั้นจะกลับสู่พระบัญชาของอัลลอฮฺ  ฉะนั้นหากฝ่ายนั้นกลับสู่พระบัญชาของอัลลอฮฺแล้ว  พวกเจ้าก็จงประนีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่ายด้วยความยุติธรรมและพวกเจ้าจงให้ ความเที่ยงธรรม   (แก่ทั้งสองฝ่ายเถิด)  แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักใคร่บรรดาผู้ให้ความเที่ยงธรรม ” (อัล-หุญุร็อต : 9 )

      โองการดังกล่าวสอนให้เราทราบว่า ในขณะที่เกิดข้อพิพาทระหว่างมุสลิมด้วยกัน  อิสลามไม่อนุญาตให้มุสลิมเป็นผู้สนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  แต่มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องรีบไกล่เกลี่ยทั้งสองฝ่ายเพื่อยับยั้งมิให้เกิด ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน  หากทั้งสองฝ่ายยอมตกลงก็ถือเป็นพรอันประเสริฐ  แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิเสธการประนีประนอม  หรือยอมยุติปัญหาแต่ก็มีการบุกรุกและละเมิดภายหลัง  ประชาชาติมุสลิมจำเป็นต้องประกาศสงครามกับฝ่ายที่ละเมิด  จนกว่าพวกเขายอมกลับสู่พระบัญชาแห่งอัลลอฮฺ  และหากพวกเขายอมทำตามคำบัญชาของอัลลอฮฺแล้ว ก็จงประนีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่ายด้วยความยุติธรรม

      ชาวมุสลิมทั้งมวลจึงเปรียบเสมือนสภาความมั่นคงสหประชาชาติที่มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยและยุติข้อพิพาทระหว่างมุสลิมด้วยกัน

      และสิ่งเหล่านี้ คือ เป้าหมายอันสูงสุดของอิสลามที่มีความประสงค์สร้างสันติภาพในทุกมิติของสังคม มนุษย์  ไม่ว่าต่อตนเอง  ครอบครัว  สังคม  ประชาชาติมุสลิมด้วยกันเองและกับชนต่างศาสนิก

      ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงกำชับให้มีการไกล่เกลี่ยกันยามที่มนุษย์เกิดข้อพิพาทบาดหมางระหว่างกัน  ดังอัลกุรอานกล่าวไว้

ความ ว่า :  “ ดังนั้นพวกท่านจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด  และจงปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างพวกท่าน  และจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและรสูลของพระองค์เถิด  หากพวกท่านเป็นผู้ศรัทธา ” ( อัล-อัมฟาล : 1 )

“ ไม่มีความดีใดๆ ในการซุบซิบอันมากมายของพวกเขา  นอกจากผู้ที่ใช้ให้ทำทาน  หรือให้ทำสิ่งที่ดีงาม  หรือให้ประนีประนอมระหว่างผู้คนเท่านั้น ”  ( อัน-นิสาอฺ : 114 )

      ท่านนบีฯมุหัมมัด   (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)  กล่าวไว้ความว่า  “ เอาไหมล่ะ  ที่ฉันจะบอกให้ท่านทั้งหลายทราบถึงการปฏิบัติธรรมที่มีผลบุญมากยิ่งกว่าการ ละหมาด  การถือศีลอดและการบริจาคทาน  บรรดาเศาะฮาบะฮฺกล่าวว่า  แน่นอนโอ้รสูลของอัลลอฮฺ  ท่านนบีฯ(ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)  จึงตอบว่า : การไกล่เกลี่ยระหว่างทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกัน  แท้จริงการบาดหมางระหว่างทั้งสองฝ่ายเปรียบเสมือนมีดโกน ”  (รายงานโดยอะบูดาวูดและติรมิซีย์)

      มีหะดีษอีกบทหนึ่งที่มีการเพิ่มว่า  “ ฉันไม่ได้หมายความว่า  มีดที่โกนผม  แต่มันคือมีดโกนศาสนา ”  (รายงานโดยติรมิซีย์)

      แม้แต่ความขัดแย้งของคู่สามีภรรยา  อิสลามก็ยังสอนไว้ว่า

“ และหากพวกเจ้าหวั่นเกรงการแตกแยกระหว่างเขาทั้งสอง  (สามีภรรยา)  ก็จงส่งผู้ตัดสินคนหนึ่งจากครอบครัวของฝ่ายชาย  และผู้ตัดสินอีกคนหนึ่งจากครอบครัวฝ่ายหญิง  หากทั้งสองมีปรารถนาให้มีการประนีประนอมกันแล้ว   อัลลอฮฺก็ทรงให้ความสำเร็จในระหว่างทั้งสอง ”   (อัน-นิสาอฺ :35)

      จะเห็นได้ว่า  อิสลามให้ความสำคัญกับการประนีประนอมระหว่างคู่กรณีที่ขัดแย้งกัน  ไม่ว่าในระดับปัจเจกบุคคล  ครอบครัวหรือสังคม

      ถ้าหากอิสลามส่งเสริมให้เกิดความปรองดองระหว่างประชาคมโลกโดยภาพรวม  และอิสลามยังเชิญชวนให้ดำรงไว้ซึ่งสันติภาพในประชาคมระหว่างประเทศแล้ว  นับเป็นสิ่งที่สมควรเป็นอย่างยิ่งที่อิสลามกำชับและส่งเสริมให้มีการปรองดอง กันภายในกลุ่มมุสลิมด้วยกันเอง

      ชาวมุสลิมไม่ว่าจะมีความแตกต่างด้านสัญชาติ  สีผิว ภาษา  และมาตุภูมิหรือแม้จะแตกต่างด้านฐานะหรือยศถาบรรดาศักดิ์  พวกเขาจะยืนหยัดบนหลักการอันมั่นคงที่อยู่บนพื้นฐานของการศรัทธาในอัลลอฮฺ และความเป็นพี่น้องร่วมศาสนา และความรู้สึกเป็นพี่น้องกันจึงเป็นแขนงหนึ่งของการศรัทธาที่แยกออกจากกัน ไม่ได้

      อัลลอฮฺทรงตรัสไว้   ความว่า :

“ แท้จริงบรรดาศรัทธาชน คือพี่น้องกัน ดังนั้นท่านจงใกล่เกลี่ยและประนีประนอมในกลุ่มพี่น้องของท่านด้วยเถิด ( อัล-หุญุร็อต :10 ) ”

“ พวกท่านทั้งหลายได้กลายเป็นพี่น้องกันด้วยความเมตตาของพระองค์" (อาละอิมรอน :103)

ท่านนบีฯ  (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน ) ” กล่าวไว้  ความว่า :  

“ มุสลิมกับมุสลิมด้วยกันคือพี่น้องกัน  ห้ามกดขี่เขา  และห้ามมอบตัวเขา (แก่ศัตรู)  ใครก็ตามที่ให้ความช่วยเหลือแด่พี่น้องของเขา อัลลอฮฺทรงให้ความช่วยเหลือเขาเป็นแน่แท้ ใครก็แล้วแต่ที่ปัดเป่าความทุกข์พี่น้องของเขาในโลกนี้   อัลลอฮฺก็จะปัดเป่าความทุกข์ของเขาในโลกหน้าเช่นเดียวกัน  ใครก็แล้วแต่ที่ปกปิดความชั่วร้ายของพี่น้องของเขา อัลลอฮฺจะทรงปกปิดความชั่วร้ายของเขาในโลกหน้า”  (รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม)

“ ท่านทั้งหลายจงอย่าอิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน  อย่าให้มีการแย่งซื้อขายกันในสิ่งของที่คนอื่นกำลังจะซื้อขายกัน   อย่าโกรธเคือง อย่าหันหลัง (ไม่พูดไม่จา)   จงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺที่มีความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องด้วยกันเถิด  มุสลิมเป็นพี่น้องกัน มุสลิมอย่าได้ดูถูกดูแคลนพี่น้องของเขา  เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับบุคคลหนึ่งที่จะมีคุณสมบัติของคนชั่ว  หากเขาดูถูกและสบประมาทพี่น้องของเขา มุสลิมถูกสั่งห้ามมิให้กระทำการใดๆ  ต่อพี่น้องมุสลิมด้วยกันไม่ว่าทางด้านชีวิต ทรัพย์สมบัติ และเกียรติยศ” (รายงานโดยมุสลิม)

 “ มุสลิมด้วยกันเปรียบเสมือนอาคารหลังหนึ่ง ที่ส่วนประกอบของอาคารต่างก็เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน” (รายงานโดยบุคอรี และมุสลิม)

“ ความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาศรัทธาชนในเรื่องความรัก ความเอ็นดูและความห่วงใยระหว่างกัน เปรียบเสมือนกับเรือนร่างอันเดียวกัน หากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับบาดเจ็บ ร่างกายส่วนอื่นก็จะเจ็บปวดและอดหลับนอนเช่นเดียวกัน ”  (รายงานโดยบุคอรี และมุสลิม)

      ศรัทธาชนจึงถูกกำชับให้มีความปรองดองและสร้างความสมานฉันท์ระหว่างกัน  ความเป็นเอกภาพของพวกเขาควรอยู่บนหลักพื้นฐานของการยึดมั่นในคำสอนของอัล ลอฮฺ ดังอัลกุรอาน กล่าวไว้ ความว่า :

“เจ้าทั้งหลายจงยึดมั่นในสายเชือกของอัลลอฮฺและอย่าได้แตกแยก   (จากการยึดมั่นในศาสนาของอัลลอฮฺ) ” (อาละอิมรอน :103)

“ และพวกเจ้าจงอย่าเป็นบรรดาผู้ที่แตกแยกกัน และขัดแย้งกัน  หลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งได้มายังพวกเขาแล้ว  และชนเหล่านี้แหละสำหรับพวกเขาคือ  การลงโทษอันใหญ่หลวง” (อาละอิมรอน:105)

      อิสลามไม่เพียงแต่ให้ศรัทธาชนยึดมั่นในสันติภาพด้านทฤษฏีเท่านั้น แต่ยังบังคับให้มีผลทางกฎหมายภาคปฎิบัติด้วย  ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงบังคับให้ศรัทธาชนดำรงไว้ซึ่งสันติภาพ  แม้นว่าด้วยกองกำลังก็ตาม อิสลามจึงสั่งใช้ให้ศรัทธาชนระงับข้อพิพาทและการสงครามระหว่างมุสลิมด้วยกัน

      ทั้งนี้เนื่องจากอิสลามต้องการให้สังคมมุสลิมใช้ชีวิตอย่างสันติสุข  มีความกลมเกลียวสมานฉันท์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ซึ่งขัดแย้งกับทฤษฏีของคาร์ลมาร์กซ์  ที่พยายามยั่วยุให้ผู้คนมีแนวคิดให้เกิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้น คนจนต้องทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับคนรวย กรรมกรผู้ที่ใช้แรงงานจะต้องลุกขึ้นปฏิวัติขับไล่ชนชั้นนายทุน  ลูกจ้างจะต้องต่อสู้กับนายจ้าง และความขัดแย้งเหล่านี้จะดำเนินไปเรื่อยๆในสังคม จนกระทั่งที่สุดแล้วชนชั้นกรรมกรได้รับชัยชนะ ระบบทุนนิยมล่มสลายและทุกคนก็มีชนชั้นอันเดียวกันซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จ อันสูงสุดของระบบสังคมนิยม

      แต่อิสลามเป็นศาสนาที่ใช้ความพยายามอย่างแรงกล้าเพื่อให้สมาชิกในสังคมมี ความสมานฉันท์และเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน สังคมจึงยืนหยัดบนหลักการความถูกต้องและยุติธรรม ทุกคนมีสิทธิครอบครองสิ่งที่ตนพึงได้ โดยมีข้อแม้ว่าจะไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ใคร หรือเป็นผู้กอบโกยเพียงแต่ผู้เดียวในลักษณะมือใครยาวสาวได้สาวเอา     และบนหลักการที่เต็มไปด้วยจริยธรรมอันสูงส่งเช่นนี้  ผู้ยากจนและผู้ร่ำรวยต่างก็แข่งขันกอบโกยในสิ่งที่ไม่ใช่ทรัพย์สมบัติหรือ วัตถุนอกกาย   แต่พวกเขาแข่งขันการกระทำความดีและประกอบคุณธรรมต่างหาก  ดังที่ปรากฏในหะดีษที่ผู้มีฐานะยากจนกลุ่มหนึ่งได้มาร้องเรียนต่อท่านนบีฯ (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) พร้อมกล่าวว่า พวกร่ำรวยสามารถสร้างกุศลอันมากมาย พวกเขาละหมาดเหมือนที่เราละหมาดและได้ถือศีลอดเหมือนที่เราถือศีลอด แต่พวกเขามีทรัพย์สมบัติอันเหลือเฟือที่สามารถบริจาคหรือไถ่ทาสได้ ในขณะที่พวกเรามีทรัพย์สินที่ไม่เพียงพอที่จะกระทำเช่นนั้น

      ท่านทั้งหลายลองสังเกตดูว่า สังคมมุสลิมที่ประกอบด้วยชนชั้นต่างๆในยุคท่านนบีฯ(ขอความสันติสุขจงมีแด่ ท่าน) ได้แข่งขันในเรื่องอะไร? คำตอบก็คือการประกอบคุณงามความดีและคุณธรรมต่างหาก อัลกุรอานกล่าวไว้  ความว่า :

“ และในการนี้บรรดาผู้แข่งขัน (ในความดีทั้งหลาย)  จงแข่งขันกันเถิด  (เพื่อจะได้รับผลบุญและการตอบแทนจากอัลลอฮฺ)”  (อัล-มุฏอฟฟิฟีน : 26)

http://www.iqraforum.com/forum/index.php?topic=1254.0

จากคุณ : ใจนิ่ง
เขียนเมื่อ : 17 มี.ค. 55 21:29:59




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com