โรงเรียนแพทย์ซาแลร์โน อิตาลี
ซาแลร์โนได้กลายมาเป็นมหาวิทยาลัยแพทย์แห่งแรกสุดของโลกคริสเตียนหลังจากที่คอนสแตนติน ดิอาฟริกัน ได้เดินทางมาที่นี่ ในปี 1065 เขาได้ขนตำราแพทย์อิสลามจำนวนมหาศาลลงเรือจากอาฟริกามาที่อิตาลี และด้วยการสนับสนุนจากอาร์คบิชอบอัลฟานัสแห่งซาแลร์โน คอนสแตนตินได้เริ่มแปลตำราภาษาอารบิกเหล่านี้เป็นภาษาละติน (แต่ที่แปลๆ ไป คอนสแตนตินมักไม่ได้ระบุแหล่งข้อมูลไว้ ราวกับเป็นผู้แต่งตำราซะเอง แต่ท้ายที่สุดเมื่อมาดูเนื้อหาแล้วก็รู้ว่าแปลมาจากตำราอาหรับเล่มใด ผู้แปล) ก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ที่ซาแลร์โน โดยเลียนแบบโรงเรียนแพทย์ของโลกมุสลิมทั้งที่ตะวันออกและที่สเปน การศึกษาด้านแพทย์มีทั้งในห้องสมุดและในโรงพยาบาล และนักเรียนจะทำงานตามคำชี้แนะของคณะครู จากนั้นโรงเรียนซาแลร์โนก็มีชื่อเสียงขึ้นเพราะการจัดองค์กรใหม่และการแพทย์แบบใหม่ ซึ่งมีบทบาทนำไปสู่การฟื้นฟูวิทยาการในอิตาลี และยังทำให้มหาวิทยาลัยซาแลร์โนเป็นโรงเรียนแพทย์ที่โด่งดังที่สุดในโลกคริสเตียนตะวันตกในยุคนั้น
ตำราเด่นๆ ที่คอนสแตนตินแปลมาได้แก่
· Liber pantegni แปลมาจากตำราแพทย์ Kitab Kamil as-sin'a at-tibbiya (the complete or perfect' book on medical art) หรือรู้จักกันในชื่อ กิตาบ อัล-มาลิกี (Kitab al-Maliki) ของอาลี อิบนุ อับบาส อัล-มาจูซี หนังสือเล่มนี้เขียนเสร็จในปี 980 เป็นตำราวิชาการอาหรับที่สำคัญที่สุดก่อนยุคของอวิเซนนา และตำราแปลชุดนี้กลายเป็นตำราพื้นฐานของวิชาแพทย์ศาสตร์ที่ซาแลร์โนไปในเวลาไม่นาน และเป็นแนวทางของรูปแบบการศึกษาของโลกสมัยกลางในเวลาต่อมา อัล-มาจูซีเป็นชาวเปอร์เซีย บรรพบุรุษนับถือศาสนาโซโรเอสเตอร์ แต่ตัวเขาเองเป็นมุสลิม ความศรัทธาในอัลลอฮของเขาปรากฎอยู่ทั่วไปในหนังสือที่เขาแต่ง
· Viaticum แปลมาจากตำรา Kitab Zad al-Musafir wa qut al-Hadir (Provision for the traveler and nutrition for the sedentary) ของ อิบนุฮาลิด อัล-กัซซาร์ (Ibn Halid al-Gazzar เสียชีวิตค.ศ.1004) เป็นหนังสืออาหรับที่โด่งดังมากมีเนื้อหาเด่นด้านทันตกรรม อัล-กัซซาร์เป็นชาวอาฟริกาเหนือ
· Liber de gradibus แปลมาจาก Kitab al-adwiya al-mufrada (Treatise on Simple Drugs) ของอิบนุ อัล-จัซซาร์ แห่งคอยราวัน ตูนีเซีย
· Liber de isagogis ของโยฮันนิชัส (Johanitius) นั้นทำให้โลกตะวันตกได้รู้จักวิธีการใหม่ๆ ด้านแพทย์ศาสตร์ ตำราโลกตะวันตกพร่ำบอกเราแค่ชื่อละตินแบบนี้ โดยละเลยที่จะบอกว่าโยฮันนิชัสแท้จริงก็คือ ฮูนาอีน อิบนุ อิสฮัค (Hunayn Ibn Ishaq ค.ศ.809-873) และตำรา Liber de isagogis ของเขาความจริงก็คือหนังสือ มัสซาอิล ฟีอิลติบ (maasail fil tib) หรือ medical questions (ปริศนาด้านการแพทย์)
, ภาวะซึมเศร้า, อาการหลงลืม ซึ่งโดยมากเขียนโดยแพทย์มุสลิมในคอยราวัน เมืองหลวงของตูนีเซียที่บ้านเกิดของเขา หนังสือเหล่านี้เมื่อแปลแล้วคอนสแตนตินตั้งชื่อใหม่เป็นภาษาละติน
บางทีหนังสือแปลของคอนสแตนตินที่มีบทบาทต่อการแพทย์ยุโรปในระยะยาวก็คือ ตำราด้านโภชนาการ, อาการไข้, และด้านปัสสาวะ Liber febribus, Liber de dietis universalibus et particularibus และ Liber de urines ที่เขียนโดย ไอแซค อิสราเอลลี เบน โซโลมอน (Isaac Israeli Ben Solomon ค.ศ.832-932) ชาวยิวในอียิปต์ เป็นแพทย์ในราชสำนักฟาตีมียาของอียิปต์ คอนสแตนตินแปลตำรามาโดยบอกว่าตัวเองเขียนเองอีกตามเคย จนปี 1515 โรงพิมพ์ที่ลียง ฝรั่งเศส พิมพ์หนังสือ Opera Omnia Isaci ของไอแซค อิสราเอลลี ออกมา ถึงจับได้ว่าคอนสแตนตินลอกมาจากหนังสือของไอแซค
ในช่วง 20 ปีถัดจากนั้น คอนสแตนตินก็ยังแปลตำราอาหรับต่อไปควบคู่กับสอนลูกศิษย์ที่โรงเรียนแพทย์ซาแลร์โน และเสียชีวิตในปี 1087 ที่สำนักสงฆ์มอนเตคัสสิโน อิตาลี