สำหรับวิธีการอ่านภาษาบาลี มีเกณฑ์ดังนี้
๑. ตัฺว ( ํ ) เรียกว่า นิคคหิต เป็นวงกลมอยู่ข้างบนตัวอักษร เมื่อตัวนิคคหิต อยู่บนตัวอักษรใด ให้อ่านตัวอักษรนั้น เหมือนมี _ัง (ไม้หันอากาศ และ ง ) สะกด
เช่น มํ = มัง , จํ = จัง
หากมีสระอื่นอยู่ที่ตัวอักษรนั้นด้วย ให้อ่านออกเสียงสระนั้น แล้วตามด้วย ง สะกด เช่น
ธึ = ธิง มึ = มิง (ภาษาบาลีไม่มีออกเสียง สระ อึ ( ึ ) ที่เห็นนั้นเป็นสระอิ ( ิ ) แล้วใส่นิคคหิตไว้ด้านบน ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนสระ อึ )
๒. ตัว ( ฺ ) เรียกว่าพินทุ เป็นจุดดำ อยู่ใต้ตัวอักษร เมื่อจุดดำนี้อยู่ใต้ตัวอักษรใด ให้ตัวอักษรตัวนั้น ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ของตัวหน้า โดยในกรณีที่ตัวอักษรตัวหน้า ไม่มีสระอื่น ให้ออกเสียงโดยใส่ไม้หันอากาศเข้าไป แล้วตัวที่มี ฺ อยู่ข้างใต้ ก็ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด เช่น
ตสฺ อ่านว่า ตัส
สมฺ อ่านว่า สัม
หากตัวอักษรตัวหน้ามีสระอื่น ก็อ่านออกเสียงตามสระนั้น แล้วตัวอักษรหลัง ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด เช่น สิฺทฺธิ อ่านว่า สิด-ทิ โสตฺถี อ่านว่า โสด-ถี (เหมือนอ่านแบบไทยตามปกติ)
๓. กรณีที่ตัวอักษรใด เป็นตัวอักษรเดี่ยว ๆ ไม่มีทั้งพินทุ และนิคคหิต และไม่มีสระให้อ่านออกเสียงควบสระ ให้ออกเสียงเหมือนมี สระ อะ ( ะ ) เช่น
ตสฺส = ตัสสะ
ปชฺช = ปัชชะ
มีอะไรจะถามเพิ่มเติมไหมครับ?
แก้ไขเมื่อ 29 เม.ย. 55 12:08:24
แก้ไขเมื่อ 29 เม.ย. 55 12:06:55
แก้ไขเมื่อ 29 เม.ย. 55 12:06:32
แก้ไขเมื่อ 29 เม.ย. 55 12:05:07