มาดูว่า..ฌาน..ตามที่ผมเข้าใจเป็นอย่างไร
ฌาน...สำคัญมากในพุทธศาสนา..หากเข้าใจผิด(มิจฉาทิฐิ)..จะไม่มีทางที่จะนิพพาน(กิเลสหมดจากจิต..ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก)...โดยคำแปลและความหมาย..จะหมายถึง..เผา..แต่ในกรณีของการที่จะให้เกิด..สัมมาสมาธิ(ฌาน ๑ ,๒ ,๓ ,๔) จะต้องเข้าใจ..สัทธรรม(สภาธรรมที่ถูกต้องเป็นจริง..ที่เกิดขึ้นในจิตก่อน..โดยการได้รับฟังจาก..สัตบุรุษ(ผู้ที่มีปัญญา..ได้เข้าใจสัทธรรมของ..ฌาน..แล้ว)ก่อน
โดยสภาวะธรรมแล้ว...ฌานหมายถึงสภาวะที่จิต..ปราศจาก..นิวรณ์ ๕ โดยจะต้องกำหนดรู้ผัสสะโดย..ปริญญา ๓ (๑.ญาตปริญญา ๒.ตีรณปริญญา ๓.ปหานปริญญา )...ซึ่งจะทำให้เราเพียรปหานกิเลสในทุกๆผัสสะ(ปหานปริญญา)...
ในเบื้องต้นที่กำลังปัญญายังไม่แข็งแรง จะต้องมีการควบคุมเฝ้าระวัง(วิตก..วิจาร) โดยให้จิตปราศจาก นิวรณ์ ๕ โดยอาศัยการกำหนดรู้ผัสสะ โดยปริญญา ๓ จะส่งผลทำให้เกิด ปิติ...สุข..เอกขตา..นั้นก็คือเมื่อผัสสะใดกระทบสัมผัสหากเราปฎิบัติธรรมอยู่(ฌานตามที่ได้อธิบายมา)...ก็จะมีฌานเกิดขึ้น
ณ ขณะใดๆ หากจิตปราศจากนิวรณ ๕ และจิตประกอบด้วย...วิตก..วิจาร ปิติ สุข เอกขตา ก็คือฌาน ๑
ณ ขณะใดๆ หากจิตปราศจากนิวรณ ๕ และจิตประกอบด้วย...ปิติ สุข เอกขตา ก็คือฌาน ๒
ณ ขณะใดๆ หากจิตปราศจากนิวรณ ๕ และจิตประกอบด้วย สุข เอกขตา ก็คือฌาน ๓
ณ ขณะใดๆ หากจิตปราศจากนิวรณ ๕ และจิตมีเพียง..อุเบกขา นั้นก็คือ ฌาน ๔ นั้นเอง....
ตรงนี้แหละคือ...การปฎิบัติสัมมาสมาธิ....ซึ่งจะต้องมีการกำหนดรู้ผัสสะ(ไม่ใช่ดับผัสสะ)...แยกแยะสภาวธรรม(ตีรณปริญา)หรือธรรมวิจัย....ตลอดจนละกิเลส(ปหานปริญญา)..
ฉนั้น..ฌานจะต้องกระทำในทุกผัสสะกระทบสัมผัส...ครับ