ประวัติตระกูลสุลต่านสุลัยมาน
อาจเป็นด้วยสายเลือดของความเป็นสุลต่าน สุลัยมาน หรืออาจด้วยวิญญาณของบรรพบุรุษ ในหลายๆ รุ่นที่ต่อเนื่องกันมาที่ได้รับราชการในกองทัพเรือ ทำให้ลูกหลานสุลต่าน สุลัยมาน ในรุ่นปัจจุบัน มีความรักและผูกพันในกองทัพเรือและบุคคลในกองทัพเรือ ทั้งด้วยชีวิตและ จิตใจ
ด้วยความสำนึกว่าบรรพบุรุษของพวกเราในหลายๆรุ่นได้มีชื่อเสียง เกียรติยศ เป็นที่ รู้จักกันอย่างแพร่หลายในฐานะเป็นบุคคลสำคัญของชาติ ก็มาจากการรับใช้ชาติ ในสังกัด กองทัพเรือเป็นส่วนใหญ่อีกทั้งยังมีจิตสำนึกว่า กองทัพเรือยังเป็นเสมือนหนึ่งอู่ข้าวอู่น้ำที่บรรพบุรุษของพวกเราใช้เป็นปัจจัยในการเลี้ยงดูลูกหลานให้เติบใหญ่เป็นพลเมืองดี ของชาติสืบ เนื่องกันมาหลายชั่วอายุคน
โดยเหตุที่บรรพบุรุษของตระกูลสุลต่าน สุลัยมาน หลายท่าน อาทิ เช่น พระยาราชบังสัน (หะซัน หรือฮัสซัน) แม่ทัพเรือท่านแรกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช หรือพระยาราชวังสัน (หวัง)
ในบรรดาศักดิ์พระสมุทรบุรานุรักษ์ ในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
หรือแม้แต่ พลเรือเอก นิพนธ์ ศิริธร อดีตผู้บัญชาการทหาร เรือ ก็ถือเป็นบุคคลสำคัญของกองทัพเรือทั้งสิ้น
คณะกรรมการมูลนิธิสายสกุลสุลต่าน สุลัยมาน จึงมีมติเห็นพ้องต้องกันว่า ควรนำเรื่องราวของบรรดาบุคคลในตระกูลสุลต่าน สุลัยมานเผยแพร่ ให้แก่บรรดานายทหารในสังกัดกองทัพเรือได้ทราบเพื่อศึกษาและค้นคว้า
โดยได้ติดต่อสำนัก งานราชนาวิกสภา เพื่อมอบเอกสารเรื่องราวดังกล่าว จำนวน ๔๕ ชุด เพื่อดำเนินการเผยแพร่ต่อไป
ประวัติตระกูลสุลต่าน สุลัยมานผู้ที่สืบสกุลได้ดำรงตำแหน่งต่างๆในกองเรือ กรมกลาโหม มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์
อันตระกูล สุลต่าน สุลัยมานนั้นนับได้ว่า เป็นตระกูลเก่าแก่ตระกูลหนึ่ง ที่เป็นนักเดินเรือทะเลค้าขายกับต่างประเทศจุดกำเนิด ณ อ่าว เปอร์เซีย เป็นชาวอาหรับเดิเรอืค้าขายกับต่างประเทศ
แต่มาปักหลกอยู่ในชวาภาคกลางที่ เมืองสาเลห์ (Saleh) ประเทศอินโดนีเซีย ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปรากา ซึ่งได้รับสิทธิ์ให้ ปกครองเมืองนี้ เป็นแหล่งทำมาค้าขาย มี ครอบครัวคือท่านดาโต๊ะ โมกอล มีบุตรธิดา ๓ ท่าน คือ
- ท่านสุลต่าน สุลัยมาน
- ท่านฟารีซี หรือเพรีซี
- ท่านฟาติมะห์(หญิง)
เมื่อค.ศ.๑๔๙๘ (พ.ศ.๒๐๔๑) มีฝรั่งนักเดินเรือเชื้อชาติโปรตุเกส ชื่อวาสโค ดา กามา ได้ ค้นพบเส้นทางเดินเรือผ่านแหลมโชคดี (Cape of Good Hope) เข้าสู่อินเดีย ทวีปเอเชีย และหมู่เกาะต่างๆ ย่านทะเลใต้ได้เป็นผลสำเร็จ
จึงเป็นทางสู่การล่าเมืองขึ้นของชนชาติฝรั่ง ต่างๆ ราว พ.ศ.๒๑๔๘ เมืองสาเลห์ได้ถูกฝรั่งนักล่าเมืองขึ้นเข้าโจมตีทางทะเลด้วยกำลังคน และอาวุธที่เหนือกว่า ท่านดาโต๊ะ โมกอล
จึงต้องอพยพครอบครัวและบริวารลงเรือสำเภาฝ่า คลื่นลมเป็นเวลาหลายวัน เข้าสู่อ่าวไทยแล่นเรือเรียบชายฝั่งเห็นปากน้ำทะเลสาบที่เมืองพัทลุง
(สมัยนั้นยังเป็นเมืองพัทลุงอยู่เป็นทะเลสาบน้ำจืด มีภูเขาบังคลื่มลมได้ดีจึงแวะจิดพักขึ้นไป สำรวจ เห็นว่าเป็นทำเลที่ดีจึงได้ยกพลขึ้นบก ณที่หัวเขาแดง เมือง สิงขรานคร หรือ สงขลา ใน รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ.๒๑๔๘-๒๑๕๓)
ตระกูลของท่านสุลต่าน สุลัยมาน เป็น ตระกูล เจ้าผู้ครองนครจากเมืองสาเลห์ในชวามาแล้ว จึงไม่เป็นการยากในการสร้างบ้าน แปลงเมืองขึ้นที่บริเวณชายหาดและลึกเข้าไป เพื่อพัฒนาเป็นเมืองท่า และสร้างความมั่นคง ด้วยการสร้างป้อมบนเขาและรอบตัวเมืองขึ้นอย่างแข็งแรง
ทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่า ปลอดภัย จึงเข้ามาค้าขาย ยังความเจริญมาสู่สิงขรานคร ค.ศ.๑๖๒๒ (ตรงกับ พ.ศ.๒๑๖๕ ) ในรัชสมัย พระเจ้าทรงธรรม ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านดาโต๊ะ โมกอล ดำรงตำแหน่งเป็น ข้าหลวงใหญ่ของกรุงสยามนับแต่นั้นมา
เมื่อท่านข้าหลวง ดาโต๊ะ โมกอล สิ้นชีวิตลง ท่านสุลต่าน สุลัยมาน ซึ่งเป็นบุตรคนโตได้ ปกครองเมืองสงขลาแทนบิดาของท่านนับแต่นั้นมา
บรรดาลูกหลานของท่านสุลต่าน สุลัยมาน ได้มามีบทบาทเข้ารับราชการอยู่ในยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ อย่างต่อ เนื่องตลอดมา
บุตรหลานของท่านสุลต่าน สุลัยมานแต่ละท่าน จะมีความชำนิชำนาญในการ สร้างเรือ เดินเรือ และการยุทธ์ทางน้ำเป็นอย่างดี ดังนั้นแต่ละท่านจึงดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพ เรือ และเป็นเจ้าเมืองเสียเป็นส่วนใหญ่ อาทิ
๑. พระยาราชบังสัน (หะซัน,ฮัสซัน) เป็นบุตรท่านที่ ๓ ของสุลต่าน สุลัยมาน กล่าวกันว่าเป็น ผู้สืบสกุลท่านแรกของตระกูลที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ พระยาบังสัน เป็นท่านแรกจาก สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในตำแหน่งแม่ทัพเรือ (พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๒๕)
๒. พระยาราชบังสัน (ตะตา) บุตรชายคนเล็กของพระยาพัทลุง (ฮูเซน) เป็นหลานปู่ของ ท่านสุลต่าน สุลัยมาน ได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก อยู่ในกองเรือกรมกลาโหม ในรัชสมัย พระเจ้าท้ายสระ (พ.ศ.๒๒๕๑-๒๒๗๕)
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงราช บังสันมหันตสุริยา ครั้นในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๐๑) ก็ได้รับเลื่อน ยศเป็นพระยาราชบังสันมหันตสุริยา ตำแหน่งแม่ทัพเรือของกรุงศรีอยุทธยา
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๒๙๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาเป็นเจ้าเมืองพัทลุงมีราชทินนามว่า พระยาแก้ว โกรพพิชัยภักดี บดินทรเดโชชัยอภัยพิริยาพาหนะ ศักดินา ๕,๐๐๐ ไร่ โดยทั่วไปเรียกว่าพระยา พัทลุง (ตะตา)
๓. พระยาราชบังสัน ท่านที่ ๓ ได้แก่น้องของพระยาราชบังสัน (ตะตา) มีชื่อว่าอะไรไม่ ปรากฏในตอนปลายกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (พ.ศ.๒๓๐๑-๒๓๑๐)
๔. พระยาราชบังสัน (หมัดดหรือจุ้ย) ได้แก่บุตรของเจ้าพระยาจักรี ศรีองครักษ์ (หมุดหรือ แขก) ผู้ซึ่งเป็นหลานปู่ของท่านพระยาราชบังสัน (หะซัน) พระยาราชบังสัน (หมัด)
เป็นพระยาราชบังสันท่านแรกในสมัยของสมเด็จพระยายมราช(หมัด) และมีน้องชายอีกท่านหนึ่งชื่อท่านหวังได้เป็นพระยาราชวังสัน (หวัง)
ด้วย พระยาราชวังสัน (หวัง) เดิมรับราชการเป็น พระชลบุรี เจ้าเมืองชลบุรี มีความถนัดทางน้ำ ทางทะเล ทางเรือ เช่นเดียวกับบรรพบุรุษ แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดให้ดำรงตำแหน่งเป็นนักปกครองในบรรดาศักดิ์ พระสมุทร บุรานุรักษ์ แต่ก็ยังเกี่ยวข้องกับทะเลอยู่ดี
ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ได้รับพระมหากรุณาธคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกองเรือพาณิชย์นาวีในบรรดาศักดิ์ พระยาราชวังสัน เนื่องจากไว้วางพระราชหฤทัยในด้านการเดินเรือ
๕. พรายาราชบังสัน (แม้น) เป็นบุตรพระยาราชบังสัน (หมัด)
๖. พระยาราชบังสัน (ฉิม) เป็นบุตรพระยาราชบังสัน (แม้น)
๗. พระยาราชบังสัน (นก) เป็นบุตรพระยาราชบังสัน (ฉิม)
๘. พระยาราชบังสัน (บัว) เป็นบุตรพระยาราชบังสัน (ฉิม)
แสดงให้เห็นว่า อันบรรดาศักดิ์ "พระยาราชบังสัน" ล้วนสืบต่อกันในหมู่สายสกุลของท่าน สุลต่าน สุลัยมาน ทั้งสิ้น. ในบรรดาลูกหลาน เหลน ของท่านสุลต่าน สุลัยมานอีกหลานท่าน ที่ได้ เข้ารับราชาการ อยู่ในกองเรือ กรมกลาโหม แต่มิใช่ตำแหน่งพระยาราชบังสันก็มี อาทิเช่น
-ขุนลักษมนา (บุญยัง) เป็นบิดาของเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ (หมุดหรือแขก) ซึ่งรับ ราชการอยู่ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (พ.ศ.๒๒๕๑-๒๒๗๕) คำว่าลักษมนาเป็น ศัพย์ภาษายะวี แปลว่า นายพลเรือเอก
-ขุนโยธาสมุทร (ขุนด่ำ หรือขุนอาดำ) ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนโยธาสมุทร ในรัชกาลที่ ๕ ตอนปลายถึงต้นรัชกาลที่ ๖ รับราชการทหารเรือในกรมพระแสงปืน (กรมสรรพาวุธ) ตำแหน่ง ปลัดกรมอาสาจามซ้าย ฝ่ายพระราชวังวร มียศเทียบเท่านายนาวาตรี เมื่อ ๑๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)
เมื่อรับราชการสนองพระเดชพระคุณจนพอสมควรแก่เวลาแล้ว ท่านจึงได้ ลาออก จากราชการมาประกอบอาชีพส่วนตัว โดยตั้งบริษัทใช้ชื่อว่า "บริษัทเรือเขียว มูฮำหมัด อาดำ จำกัด" ดำเนินกิจการเดินเรือกลไฟลากจูง และเรือโดยสารรับสินค้าและผู้คนจาก กรุง เทพฯ ไปต่างจังหวัดและจากต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในสัญลักษณ์ "เรือ เขียว" บริษัทมีเรือลากจูง และเรือโดยสารรวมทั้งสิ้น ๑๒๐ ลำ นับว่าใหญ่โตที่สุดในสมัยนั้น
๙. พลเรือเอก นิพนธ์ ศิริธร ท่านเป็นผู้สืบสกุลจากสุลต่าน สุลัยมาน ในรุ่นที่ ๖ (นับจากท่าน ฮูเซนผู้เป็นบุตรท่านสุลต่าน สุลัยมาน เป็นรุ่นที่ ๑ ) พลเรือเอก นิพนธ์ ศิริธร สำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนนายเรือ เป็นว่าที่เรือตรี หรือแม่ทัพเรือตรีเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘เป็นผู้บัญชาการทหาร เรือ หรือแม่ทัพเรือ พ.ศ.๒๕๒๗ นับได้ว่าท่านเป็นผู้สืบสกุลสุลต่านรุ่นปัจจุบัน ที่ได้รับตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้ที่ได้สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
ถ้าอ่านช้าๆและประกอบกับประวัติศาสตร์ไทย เรื่องมุสลิมกับราชวงศ์ไทย จะทำให้ทราบได้ว่า มุสลิม เกี่ยวพันธ์เกี่ยวข้องกับประเทศไทยจนแยกกันไม่ออก
ผมถึงมีคำพูดประจำตัวที่บรรพบุรุษบอกมาว่า
" พุทธพี่ อิสลามน้อง" ด้วยประการดังนี้แล