 |
ข้อที่ห้าเป็นข้อสำคัญ คือ สัมมาอาชีวะ เมื่อพยายามทุก ๆ ข้อมาจนถึงข้อนี้แล้ว ถามตัวเองว่า ในความเป็นอยู่ทุกวันนี้ของตัวเอง เ็ป็นอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีหรือเปล่า ?
ไม่พูดโกหก ไม่ด่าว่าใคร รักษาศีลห้าแล้ว แต่ถึงเวลาที่จวนตัว หาเงินไม่ทัน ได้ืำทำสิ่งที่ผิดหรือเปล่า
ไม่เคยชอบคนคนนี้ แต่ถึงเวลาต้องขอยืมเงิน ก็เข้าประจบเค้าหรือไม่ ? ไม่เคยคุยกับเค้า แต่พอออกมาทำธุรกิจ , หางานทำไม่ได้ , ไม่อยากทำงานเลยจะหลอกกินผู้ชายคนนี้ ผู้หญิงคนนี้ , เลยสองหน้าทำตัวตีสนิทเขาหรือไม่
พูดจาทีเล่นทีจริง หยอกบ้าง จริงบ้าง ทำหน้ายู่้ยี่แกล้งเครียดบ้าง เพื่อหวังอะไรจากใครหรือไม่ ?
เอาเรื่องคนนี้มาเล่าให้คนนั้นฟัง เอาเรื่องคนนั้นมาเล่าให้คนนี้ฟัง เพื่อเอาใจ เพราะเราจะได้รับผลประโยชน์หรือไม่ ?
ชวนเค้าคุยสนุก ๆ เพราะหวังจะให้เค้าพอใจ และหา่ช่องทางโน้มน้าว เพื่อหวังผลประโยชน์หรือไม่ ?
คบเขา บอกรักเขา เพื่อหวังให้เขาเลี้ยงหรือไม่ ?
ทำตัวสกปรก เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดหรือไม่ ?
การหลอกลวง การตีสนิท เพื่อหวังเอาอะไรจากใคร ทุกอย่้าง ขวางมรรคผลและทำให้ลงนรกทั้งสิ้น
เรียกว่า ถ้านั่งสมาธิให้ใจสงบ แต่ชีวิตยังเป็นอยู่ด้วยการหลอกลวงใครแม้แต่คนเดียว ก็เข้าสู่นิพพาน อันเป็นภาวะที่บริสุทธิ์ เกิดจากจิตที่ไม่มีการหลอกลวงไม่ได้
ในส่วนของข้อที่หกคือ การไม่ทำสิ่งที่ไ่ม่ดีที่เคยทำ การทำสิ่งที่ ๆ ให้มากขึ้นไป และข้อที่เจ็ดการตั้งสติในกาย เวทนา จิต และธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง ในส่วนนี้อาจจะเป็นการปฏิบัติปรกติของผู้ปฏิบัติธรรม แต่สิ่งที่สำคัญคือการทำให้ครบทุกข้อ เพื่อให้มรรคจิต ๑ ดวง เท่านั้นเกิดขึ้นเพียง ๑ ขณะจิต ทำลายภพชาติทั้งหมดให้่เหลีออย่างมากเพียง ๗ ชาติด้วยโสดาปัตตัมรรค
สร้างเหตุที่บริสุทธิ์ที่สุดอันปราศจากมลทิน เพื่อผลคือ ความบริสุทธิ์ คือ มรรคผล ที่ำพาไปถึงพระนิพพาน
อ้างอิงบทความนี้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สมาธิสูตร ว่าด้วยสัมมาสมาธิอันประเสริฐ
[๘๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงสัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งเครื่องประกอบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งเครื่องประกอบเป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ(ชอบหมายถึงถูกต้อง) ความดำริ(ความคิด)ชอบ การพูดชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ การตั้งสติชอบ การตั้งสมาธิชอบ
[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ความที่จิตมีเครื่องประกอบด้วยองค์ ๗ ประการเหล่านี้นั้น เรียกว่าสัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุบ้าง พร้อมทั้งเครื่องประกอบบ้าง.
จบ สูตรที่ ๘
**************
สมาธิสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=456&Z=465&pagebreak=0 ฟังพระสูตรนี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/listen/?b=19&item=81 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=81
จากคุณ |
:
Serene_Angelic
|
เขียนเมื่อ |
:
13 พ.ค. 55 04:38:05
|
|
|
|
 |