ที่น่าสนใจคือ
การที่ ขณะแห่งปฐมฌาน (หรือในฌานอื่นๆ)ตามที่พระองค์กล่าวนั้น
มีการ ...พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมี
อยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น...
...ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ...เป็นอนัตตา...
...ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุ...
...เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย...
...เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย...
แปลว่าสูตรนี้เป็นเครื่องยืนยันที่สำคัญที่
พระองค์กล่าวไว้ชัดเจนว่า ขณะอยู่ในณาน
มีการพิจารณาขันธ์ทั้งหลาย เป็นไตรลักณ์ได้เลย
ไม่ได้ต้องถอยมาอยู่นอกณานก่อน
ถึงจะพิจารณาไตรลักษณ์ของขันธ์ได้ ดังท่ีเคยเข้าใจกันมา
( แต่ไม่ได้หมายความว่าการพิจารณานอกณานจะไม่ได้หรือผิดไป)
และสิ่งนี้เป็นเครื่องชี้ว่า
ณานในพุทธศาสนาต่างกับณานนอกศาสนา
ต่างกันอย่างไร
และจะต้องนิยามลักษณะของณานของพระองค์
โดยเฉพาะคำว่าเอกัคตากันใหม่
ว่าจะต้องกินความให้ครอบคลุมความในพระสูตรนี้ด้วย
( ที่มักอธิบายว่าในณานโดยเฉพาะณานที่4
จะพิจารณาอะไรไม่ได้
ต้องถอยออกจากณานมาก่อน จึงจะพิจารณาอะไรได้)
และพระองค์อธิบายไว้อย่างชัดเจนในตัวเสร็จสมบูรณ์
เขัาใจได้เลย ไม่ต้องพึงการอธิบายใดๆ อีกนอกพระสูตร