Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
สิ่งใดไม่เที่ยง ต้องทนอยู่ สิ่งนั้นไม่ใช่เรา ติดต่อทีมงาน

คำว่า อัตตา แปลว่า ตน,ตัวตน,ตนเอง หรือสิ่งที่เป็นตัวตนของมันเอง โดยอัตตานี้จะมีลักษณะเที่ยงแท้หรือถาวร หรือเป็นอมตะ(นิจจัง) และไม่ต้องทน(สุขัง)

อัตตานี้เป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่เชื่อว่า สิ่งที่รู้สึกว่าเป็น "เรา" หรือ "ตัวเรา"นี้ เป็นอัตตา (สิ่งที่รู้สึกว่าเป็นเรานี้ บางคนก็เรียกว่า "จิต"บ้าง "วิญญาณ"บ้าง  หรือ "เจตภูติ"บ้าง เป็นต้น)ที่จะสามารถตั้งอยู่หรือมีอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยเหตุและปัจจัยใดๆมาปรุงแต่งมันขึ้นมา ดังนั้นจิตหรือวิญญาณที่เป็นอัตตานี้ จึงสามารถที่จะออกจากร่างกายที่ตายไปแล้วได้ ซึ่งจากความเชื่อนี้เองที่เป็นเหตุให้เกิดความเชื่อเรื่องนรก สวรรค์ เทวดา นางฟ้า (อย่างเป็นสถานที่หรือบุคคล) และเรื่องกรรมชนิดข้ามภพข้ามชาติ เป็นต้นขึ้นมา  ซึ่งความเชื่อนี้เองที่ได้ปลอมปนเข้ามาอยู่คำสอนของพุทธศาสนาในปัจจุบัน จนชาวพุทธเกือบทั้งหมดหลงเข้าใจผิดคิดว่าเรื่องเหล่านี้เป็นคำสอนของพุทธศาสนาไปโดยไม่รู้ตัว

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ขึ้นมา ก็ได้ค้นพบว่า ไม่มีสิ่งใดในชีวิตของมนุษย์เรานี้จะเป็นอัตตาตามที่ศาสนาพราหมณ์สอนได้ (ที่เรียกว่า อนัตตา ที่แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน หรือไม่ใช่ตัวเรา) ซึ่งจากเหตุนี้เองก็ทำให้ความเชื่อเรื่องนรก สวรรค์ เทวดา นางฟ้า (อย่างเป็นสถานที่หรือบุคคล) และเรื่องกรรมชนิดข้ามภพข้ามชาติ เป็นต้น นี้ไม่ใช่สิ่งที่จะเป็นไปได้เลย เพราะเมื่อไม่มีจิตหรือวิญญาณที่เป็นอัตตาที่จะออกจากร่างกายที่ตายไปแล้วได้ จึงทำให้เรื่องนรก สวรรค์ และเรื่องกรรมชนิดข้ามภพข้ามชาติ เป็นต้น  ที่จะมารองรับจิตหรือวิญญาณที่จะออกจากร่างไปนี้พลอยไม่มีตามไปด้วย

หลักที่จะใช้มาทำให้เราเกิดความเห็นแจ้งว่าไม่มีสิ่งใดในชีวิตของเรานี้เป็นอัตตานั้นก็คือ การพิจารณาดูว่า จิต (สิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้)ของเรานี้มันเที่ยงหรือไม่เที่ยง? คือถ้ามันเที่ยง มันก็จะต้องตั้งอยู่หรือมีอยู่ตลอดเวลา(คือจะมีความรู้สึกนึกคิดอยู่ตลอดเวลาโดยไม่ดับหายไปเลยแม้สักวินาทีเดียว) แต่ถ้ามันไม่เที่ยง มันก็ต้องมีการดับหายไปอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว (คือเมื่อใดที่จิตไม่มีความรู้สึกนึกคิด อย่างเช่นเวลาที่เราหลับสนิทและไม่ฝัน ก็เรียกว่าจิตดับหายไปหรือไม่มีในขณะนั้น)

ซึ่งเมื่อเราดูจากจิตของเราเองจริงๆแล้วเราก็จะพบว่า จิตก็มีการเกิด(คือเวลาตื่น)และดับ(คือเวลาหลับสนิทและไม่ฝัน)อยู่เสมอๆในแต่ละวัน ดังนั้นจึงทำให้เราสรุปได้ทันทีว่า จิตของเรานี้มันไม่เที่ยง และขณะที่จิตของเรายังไม่ดับหรือเกิดขึ้นมาแล้วยังตั้งอยู่นั้น มันก็ยังมีลักษณะที่ต้องทนอยู่ตลอเวลาไม่มากก็น้อย (ถ้ามีมากก็เรียกว่าความทุกข์ แต่ถ้ามีน้อยก็เรียกว่า ความไม่มีทุกข์)

พระพุทธเจ้าได้วางหลักในการพิจารณาว่าสิ่งใดจะเป็นอนัตตาเอาไว้ว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นต้องทนอยู่  สิ่งใดไม่เที่ยงและต้องทนอยู่  สิ่งนั้นไม่ใช่เรา(หรือตัวเรา)"

คือเมื่อสิ่งใดที่ไม่เที่ยง (คือต้องดับหายไปอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว)สิ่งนั้นก็ต้องมีการทนต่อการเสื่อมสลาย(หรือเปลี่ยนแปลง)อยู่ตลอดเวลา  และเมื่อสิ่งใดไม่เที่ยงและต้องทนอยู่ สิ่งนั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเป็นอัตตาหรือตัวเราได้ (คือถ้าจะมีสิ่งที่เป็นอัตตาหรือตัวเราแล้ว มันก็จะต้องเที่ยงและไม่ต้องทนอยู่อีกด้วย)

เมื่อเราเพ่งดูจากจิตของเราเองจริงๆเราก็จะพบว่า จิตก็มีการเกิด(คือขณะที่มีความรู้สึกนึกคิด)และดับ(คือขณะที่ไม่มีความรู้สึกนึกคิดเลยเช่นเวลาหลับสนิทและไม่ฝัน)อยู่เสมอๆในแต่ละวัน ซึ่งนั่นก็แสดงถึงลักษณะของความไม่เที่ยงของจิต  ส่วนความรู้สึกที่จิตหนักหรือเหนื่อยหรือทรมานนั้นก็คือความรู้สึกต้องทนอยู่  และเมื่อเราเห็นแจ้งถึงความไม่เที่ยงและต้องทนอยู่ของจิตเช่นนี้แล้ว เราก็สรุปได้ทันทีโดยไม่ลังเลว่า "จิตนี้ไม่ใช่เรา (ไม่ใช่ตัวเรา)"

(ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.whatami.net/)

จากคุณ : What am I?
เขียนเมื่อ : 17 พ.ค. 55 19:57:37




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com