ตามที่ คห1 คุณVees ยกมานั่น ดีแล้วครับ
"อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดีให้รับก็ดี ซึ่ง เงิน-ทอง
หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์"
แล้วจะเอาเหตุผลมาอ้างว่า ยุคสมัยเปลี่ยนวินัยต้องเปลี่ยนอย่างนี้ไม่ได้ครับ
เพราะจะขัดกับคำพระพุทธเจ้าที่ว่า "อกาลิโก"
อนึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติวินัยสำหรับฆราวาส แต่บัญญัติสำหรับภิกษุ
ฉะนั้นไม่มีวินัยที่ห้ามฆราวาสให้เงินพระ แต่ทรงบัญญัติภิกษุห้ามรับเงินทอง
ที่นี่ก็อยู่ที่ไหวพริบปฏิภาณว่าภิกษุจะมีการปฏิเสธอย่างไร หรือพูดอย่างไรให้เชื่อมกับไวยาวัจกร
ตัวอย่างเช่นเรื่องการรับเงินเพื่อใช้จ่ายจีวร
อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี
ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า
เจ้าจงจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร,
ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะท่าน, ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร,
ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า
พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่, พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล;
ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมี หรือ?
ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงชนผู้ทำการในอารามหรืออุบาสก ให้เป็นไวยาวัจกร ด้วยคำว่า
คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย,
*ดูที่ "พระบัญญัติ"