เพิ่มเติม ข้อมูล
พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ ๒๐
สุตตันต. เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐
[๕๑๐]...อริยสาวโก อิติ ปฏิสฺจิกฺขติ
ยาวชีว อรหนฺโต ปาณาติปาต ปหาย ปาณาติปาตา ปฏิวิรตา นิหิตทณฺฑา นิหิตสตฺถา ลชฺชี ทยาปนฺนา สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี
วิหรนฺติ อหมฺปชฺช อิมฺจ รตฺตึ อิมฺจ ทิวส ปาณาติปาต
ปหาย ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต นิหิตทณฺโฑ นิหิตสตฺโถ ลชฺชี
ทยาปนฺโน สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี วิหรามิ อิมินาปิ องฺเคน อรหต
อนุกโรมิ อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ ยาวชีว อรหนฺโต
อทินฺนาทาน ปหาย อทินฺนาทานา ปฏิวิรตา ทินฺนาทายี ทินฺนปาฏิกงฺขี
อเถเนน สุจิภูเตน อตฺตนา วิหรนฺติ อหมฺปชฺช อิมฺจ รตฺตึ
อิมฺจ ทิวส อทินฺนาทาน ปหาย อทินฺนาทานา ปฏิวิรโต ทินฺนาทายี
ทินฺนปาฏิกงฺขี อเถเนน สุจิภูเตน อตฺตนา วิหรามิ อิมินาปิ องฺเคน
อรหต อนุกโรมิ อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ ยาชีว อรหนฺโต
อพฺรหฺมจริย ปหาย พฺรหฺมจารี อาราจารี ๑- วิรตา เมถุนา คามธมฺมา
เชิงอรรถ๑ ยุ. อนาจารี ฯ
อหมฺปชฺช อิมฺจ รตฺตึ อิมฺจ ทิวส อพฺรหฺมจริย ปหาย พฺรหฺมจารี
อาราจารี วิรโต เมถุนา คามธมฺมา อิมินาปิ องฺเคน อรหต อนุกโรมิ
อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ ยาวชีว อรหนฺโต มุสาวาท
ปหาย มุสาวาทา ปฏิวิรตา สจฺจวาที สจฺจสนฺธา เถตา ปจฺจยิกา
อวิสวาทกา โลกสฺส อหมฺปชฺช อิมฺจ รตฺตึ อิมฺจ ทิวส มุสาวาท
ปหาย มุสาวาทา ปฏิวิรโต สจฺจวาที สจฺจสนฺโธ เถโต ปจฺจยิโก
อวิสวาทโก โลกสฺส อิมินาปิ องฺเคน อรหต อนุกโรมิ อุโปสโถ
จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ ยาวชีว อรหนฺโต สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺาน ปหาย สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺานา ปฏิวิรตา อหมฺปชฺช อิมฺจ รตฺตึ อิมฺจ ทิวส สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺาน ปหาย สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺานา ปฏิวิรโต อิมินาปิ องฺเคน อรหต อนุกโรมิ อุโปสโถ จ เม
อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ ยาวชีว อรหนฺโต เอกภตฺติกา รตฺตูปรตา วิรตา
วิกาลโภชนา อหมฺปชฺช อิมฺจ รตฺตึ อิมฺจ ทิวส เอกภตฺติโก
รตฺตูปรโต วิรโต วิกาลโภชนา อิมินาปิ องฺเคน อรหต อนุกโรมิ
อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ ยาวชีว อรหนฺโต
นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺานา ปฏิวิรตา อหมฺปชฺช อิมฺจ รตฺตึ อิมฺจ ทิวส นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺานา ปฏิวิรโต อิมินาปิ องฺเคน อรหต อนุกโรมิ อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ ฯ ยาวชีว
อรหนฺโต อุจฺจาสยนมหาสยน ปหาย อุจฺจาสยนมหาสยนา ปฏิวิรตา นีจเสยฺย กปฺเปนฺติ มฺจเก วา ติณสนฺถารเก วา อหมฺปชฺช
อิมฺจ รตฺตึ อิมฺจ ทิวส อุจฺจาสยนมหาสยน ปหาย อุจฺจาสยนมหาสยนา
ปฏิวิรโต นีจเสยฺย กปฺเปมิ มฺจเก วา ติณสนฺถารเก วา
อิมินาปิ องฺเคน อรหต อนุกโรมิ อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ
ภวิสฺสตีติ ฯ เอว โข วิสาเข อริยูโปสโถ โหติ เอว อุปวุตฺโถ
โข วิสาเข อริยูโปสโถ มหปฺผโล โหติ มหานิสโส มหาชุติโก
มหาวิปฺผาโร กีวมหปฺผโล โหติ กีวมหานิสโส กีวมหาชุติโก
กีวมหาวิปฺผาโร เสยฺยถาปิ วิสาเข โย อิเมส โสฬสนฺน มหาชนปทาน
ปหูตสตฺตรตนาน ๑- อิสฺสริยาธิปจฺจ ๒- รชฺช กาเรยฺย เสยฺยถีท องฺคาน
มคธาน กาสีน โกสลาน วชฺชีน มลฺลาน เจตีน วสาน กุรูน ปฺจาลาน
มจฺฉาน สุรเสนาน อสฺสกาน อวนฺตีน คนฺธาราน กมฺโพชาน
อฏฺงฺคสมนฺนาคตสฺส อุโปสถสฺส เอต ๓- กล นาคฺฆติ โสฬสึ ต กิสฺส
เหตุ กปณ วิสาเข มานุสก รชฺช ทิพฺพ สุข อุปนิธาย ยานิ
วิสาเข มานุสกานิ ปฺาส วสฺสานิ จาตุมฺมหาราชิกาน เทวาน
เอโส เอโก รตฺตินฺทิโว ตาย รตฺติยา ตึสรตฺติโย มาโส เตน
มาเสน ทฺวาทสมาสิโย สวจฺฉโร เตน สวจฺฉเรน ทิพฺพานิ ปฺจ
วสฺสสตานิ จาตุมฺมหาราชิกาน เทวาน อายุปฺปมาณ าน โข ปเนต
วิสาเข วิชฺชติ ย อิเธกจฺโจ อิตฺถี วา ปุริโส วา อฏฺงฺคสมนฺนาคต
อุโปสถ อุปวสิตฺวา กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา จาตุมฺมหาราชิกาน
เชิงอรรถ๑ ยุ. ปหูตมหาสตฺตรตนาน ฯ ๒ ยุ. อิสฺสราธิปจฺจ ฯ ๓ ยุ. เอก กล ฯ
เทวาน สหพฺยต อุปปชฺเชยฺย อิท โข ปเนต วิสาเข สนฺธาย
ภาสิต กปณ มานุสก รชฺช ทิพฺพ สุข อุปนิธาย ฯ ย วิสาเข
มานุสก วสฺสสต ตาวตึสาน เทวาน เอโส เอโก รตฺตินฺทิโว ตาย
รตฺติยา ตึสรตฺติโย มาโส เตน มาเสน ทฺวาทสมาสิโย สวจฺฉโร
เตน สวจฺฉเรน ทิพฺพ วสฺสสหสฺส ตาวตึสาน เทวาน อายุปฺปมาณ
าน โข ปเนต วิสาเข วิชฺชติ ย อิเธกจฺโจ อิตฺถี วา ปุริโส
วา อฏฺงฺคสมนฺนาคต อุโปสถ อุปวสิตฺวา กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา
ตาวตึสาน เทวาน สหพฺยต อุปปชฺเชยฺย...
[๕๑๐]...พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการ ฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่จนตลอดชีวิต แม้ เราก็ได้ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มี
ความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระ
อรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย
ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของ ที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นคนขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่จนตลอดชีวิต แม้เราก็ละ การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขา ให้ ไม่ประพฤติตนเป็นคนขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ใน
วันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็
จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน จนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ตลอดคืนหนึ่งกับวัน หนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้ง อุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการพูดเท็จ เว้นขาด จากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลกจนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ตลอด คืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แม้จนตลอดชีวิต แม้เราก็ละ การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เว้นขาดจากการดื่ม น้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถ ก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันหนเดียว เว้นการบริโภคใน ราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาลจนตลอดชีวิต แม้เราก็บริโภคหนเดียว เว้นการ บริโภคในราตรี งดจากการบริโภคในเวลาวิกาล ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ใน วันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถจัก เป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย เว้นขาดจากฟ้อนรำขับร้อง การ ประโคมดนตรี และการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล จากการทัดทรงประดับ และตกแต่งกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่ง การแต่งตัวจนตลอดชีวิต แม้เราก็เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องการประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล จากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วย ดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว ตลอดคืน หนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการ นั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จการนอนบนที่นอนอันต่ำ คือ บนเตียงหรือบนเครื่องปูลาดที่ทำด้วย หญ้าจนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาด จากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จการนอนบนที่นอนอันต่ำ คือ บนเตียงหรือบนเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้า ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอัน เราเข้าจำแล้ว ดูกรนางวิสาขา อริยอุโบสถเป็นเช่นนี้แล อริยอุโบสถอันบุคคล เข้าจำแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความ แผ่ไพศาลมาก อริยอุโบสถมีผลมากเพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความ รุ่งเรืองมากเพียงไร มีความแผ่ไพศาลมากเพียงไร ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือน ผู้ใดพึงครองราชย์เป็นอิศราธิบดีแห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นเหล่านี้ อันสมบูรณ์ ด้วยรัตนะ ๗ ประการ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของผู้นั้นยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติที่เป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขที่เป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ๕๐ ปีซึ่งเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็น หนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๕๐๐ ปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ดูกรนางวิสาขา ข้อนี้เป็นฐานะที่ จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติที่เป็นของ มนุษย์ เมื่อจะนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ดูกร นางวิสาขา ๑๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาชั้น
ดาวดึงส์ โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็น
หนึ่งปี โดยปีนั้น พันปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์
ดูกรนางวิสาขา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้
เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความ
เป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์...