 |
258 ผู้ไม่มีโชคได้พบพระพุทธศาสนา http://www.84000.org/true/258.html
ปัญหา มีคนประเภทไหนบ้าง ที่ไม่มีโชคได้พบพระพุทธศาสนา ได้ประพฤติพรหมจรรย์ และได้ลิ้มรสความสุขอันเกิดจากการปฏิบัติธรรม ?
พุทธดำรัสตอบ .....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้.... เป็นผู้จำแนกธรรม.... และธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดง นำความสงบมาให้.... แต่บุคคลผู้นี้เขาถึงนรกเสีย... อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้.... เป็นผู้จำแนกธรรมและธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมแสดง นำความสงบมาให้ .... แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย....
อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้.... เป็นผู้จำแนกธรรมและธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมแสดง นำความสงบมาให้ .... แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงปิตติวิสัยเสีย....
อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้.... เป็นผู้จำแนกธรรมและธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมแสดง นำความสงบมาให้ .... แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงเทพนิกายผู้มีอายุยืนชั้นใดชั้นหนึ่งเสีย....
อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้.... เป็นผู้จำแนกธรรม..... นำความสงบมาให้ .... แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท และอยู่ในพวกมิลักขะไม่รู้ดีรู้ชอบ.... อันเป็นสถานที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปมา....
อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้.... แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มีโลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่ผุดเกิดขึ้น (โอปปาติก) ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก
อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้.... บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขามีปัญญาทราม บ้าใบ้ ไม่สามารถรู้อรรถแห่งสุภาษิต และทุภาษิต
อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้.... เป็นผู้จำแนกธรรม.... แต่พระตถาคตมิได้แสดง ถึงบุคคลผู้นี้จะเกิดในมัชฌมิชนบท และมีปัญญาไม่บ้าใบ้ ทั้งสามารถจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุภาษิต....
อักขณสูตร อ. อํ. (๑๑๙) ตบ. ๒๓ : ๒๒๙-๒๓๐ ตท. ๒๓ : ๒๐๑-๒๐๒ G.S. IV : ๑๕๒-๑๕๓ -------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๕. จัณฑาลสูตร [๑๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ ทำการสนับสนุนในที่นอก ศาสนานั้น ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ ทำการสนับสนุนใน ศาสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็น อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ฯ จบสูตรที่ ๕ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๔๗๙๘ - ๔๘๑๑. หน้าที่ ๒๐๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4798&Z=4811&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=175
อรรถกถาจัณฑาลสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยในจัณฑาลสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :- บทว่า อุปาสกปฏิกิฏฺโฐ ได้แก่ เป็นอุบาสกชั้นต่ำ. บทว่า โกตุหลมงฺคลโก คือ เป็นผู้ประกอบด้วยอารมณ์ที่ได้เห็น ได้ฟัง ได้ลิ้ม เป็นมงคล ได้แก่ตื่นข่าว เพราะเป็นไปได้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้จักมีได้ด้วยเหตุนี้ดังนี้. บทว่า มงฺคลํ ปจฺเจติ โน กมฺมํ ได้แก่ มองดูแต่เรื่องมงคล ไม่มองดูเรื่องกรรม. บทว่า อิโต จ พหิทฺธา ได้แก่ ภายนอกจากศาสนานี้. บทว่า ปุพฺพการํ กโรติ ได้แก่ กระทำกุศลกิจมีทานเป็นต้นก่อน.
-------------------------------------------------------------
ในเรื่อง กรรม และ วิบาก นั้น ถ้าเชื่ออย่างมีเหตุผล ก็ถือว่า เป็นผู้มี ความเชื่ออันประกอบด้วยปัญญา คือ ศรัทธา นั่นเอง
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/
สัทธา ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ ๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต; เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา -----------------------------------------------------
บุญกิริยาวัตถุ http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10815
บุญกิริยาวัตถุ แปลว่า หลักแห่งการบำเพ็ญบุญ หรือ ที่ตั้งแห่งการทำบุญ
บุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ อย่าง คือ ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน สีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา
หมายความว่า วิธีหรือหลักแห่งการทำบุญในพระพุทธศาสนา เมื่อพูดโดยย่อแล้วก็มีเพียง ๓ อย่าง คือ ทาน ศีล และภาวนา แต่ถ้าขยายความให้กว้างออกไป บุญกิริยาวัตถุมี ๑๐ ประการ คือ
๑. ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน ๒. สีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล ๓. ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา ๔. อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ๕. เวยยาวัจจมัย บุญเกิดจากการขวนขวายในกิจที่ชอบ ๖. ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญเกิดจากการอนุโมทนาส่วนบุญ ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม ๙. ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง ---------------------------------------------------- วิบากของ อกุศลกรรมบถ และ บุญกิริยาวัตถุ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279
คุณ : wutthitham เรามาเร่ง ศึกษาปริยัติธรรม เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ให้เป็นชาวพุทธที่ดี มีภูมิธรรม กันดีกว่า
จะได้พ้นจากทุกข์ใน สังสารวัฏ โดยไวชาติ
จากคุณ |
:
เฉลิมศักดิ์1
|
เขียนเมื่อ |
:
26 พ.ค. 55 06:33:02
|
|
|
|
 |