 |
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/
ค้นพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ จากคำ / ข้อความ
สัทธา ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ ๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต; -------------------------------------------- เรื่องการให้ผลของกรรม ในชาติต่าง ๆ ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ได้อธิบายไว้ดังนี้
หมวดที่ ๓ กัมมจตุกะ ค. ปากกาล
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p5/052.htm
---------------------------------------------------------
อำนาจกรรม http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=8827&page=1
อำนาจกรรม ๒ http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=8831&page=1
วิถีจิต การที่จะเข้าใจในเรื่องลำดับกาลเวลาที่ให้ผลของกรรมนั้น จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องการทำงานของจิต ในขณะได้รับอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ (วิถีจิต) เสียก่อน เพราะจิตเกิดขึ้นแต่ละขณะนั้นมีเหตุปัจจัย และหน้าที่ต่างๆ กันไปตามกิจของเขา โดยทั่วไปเรามักตั้งข้อสงสัยว่า การกระทำของกรรมแต่ละครั้ง ใครเป็นผู้จดจำหรือบันทึกเหตุการณ์ตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งใช้เวลาอันยาวนานยิ่งนัก
ในหลักของพระพุทธศาสนาจึงได้นำเรื่องของวิถีจิตมากล่าวอธิบายไว้ เพื่อกันความเข้าใจผิด ตราบใดที่มนุษย์เรายังมีลมหายใจอยู่นั้น จิตของมนุษย์ย่อมมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ในช่วงลัดนิ้วมือเดียว จิตเกิดดับถึงแสนล้านของล้านครั้ง ซึ่งนับว่าจิตเกิดดับรวดเร็วมาก.
ลักษณะการเกิดดับนี้มีชื่อเรียกต่างกันคือ.
อุปปาทขณะ คือ ขณะที่จิตเกิดอยู่
ฐิติขณะ คือ ขณะที่จิตตั้งอยู่
ภังคขณะ คือ ขณะที่จิตดับไป
เมื่อรูปกระทบตาหรือกระทบหู การทำงานของจิตจะเกิดขึ้น เพื่อรับรู้อารมณ์ที่ตาและหู และจะทำงานทางใจ ( ที่มโนทวาร ) รูปกระทบจักขุปสาท ๑ ขณะ จิตจะเกิดดับติดต่อกันไป ๑๗ ขณะใหญ่ ในวิถีเดียวกันทำให้ภวังคจิตเกิดดับ ๓ ขณะ เหลืออีก ๑๔ ขณะสิ้นสุดวิถี จะทำงานที่จักขุวัตถุเสีย ๑ ขณะ จะเป็นวิถีของรูปที่กำลังปรากฏขณะนั้น นอกจากนั้นที่เหลืออีก ๑๓ ขณะ จะเป็นวิถีของรูปและนามอีก ๔ ขณะ เพื่อใก้สัญญาเดิมมาตัดสินว่า.. รูปที่เห็นนั้นเคยเห็นมาก่อนหรือเปล่า เมื่อรู้และตัดสินแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของจิตต่อมา รับเสพอารมณ์ทันทีว่า มีความพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆ จิตที่ทำหน้าที่เสพเสวยอารมณ์นี้ เรียกว่า ชวนจิต บุญหรือบาป จึงเกิดขึ้นในชวนจิต ๗ ขณะนี้เอง แล้วก็ส่งต่อให้จิตอีก ๒ ขณะรับช่วงประทับอารมณ์ไว้ต่อไป.
ต่อจากนี้ จิตก็จะอยู่ในสภาพภวังค์ รักษาสัญชาตญาณภพชาติ ของความเป็นมนุษย์ไว้
ดังนั้น ตัวการที่บันทึกบาปบุญไว้ ก็คือ ชวนจิต ดวงที่ ๑ ถึง ๗ นั่นเอง จะเป็นตัวส่งผลให้ผู้เป็นเจ้าของกรรมได้รับผล ในโอกาสอันสมควร
หน้าที่ของชวนจิต ๗ ดวง ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ (ชวนจิต ๗)
ดวงที่ ๑ มีกำลังน้อย ให้ผลในปัจจุบันชาติ เรียกว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็นกรรมที่ส่งผลในชาติปัจจุบัน
ดวงที่ ๗ เป็นตัวส่งผลในชาติหน้าต่อไป ซึ่งมีความสำคัญมาก เรียกว่า อุปปัชชเวทนียกรรม
ดวงที่ ๒ ถึง ดวงที่ ๖ ( ๕ ขณะ ) จะส่งผลในชาตต่อๆไป เรียกว่า อปราปรเวทนียกรรม
--------------------------------------------------- http://www.abhidhamonline.org/thesis/thesis2.files/thesis2.htm
จิตเป็นปรมัตถธรรมประเภทหนึ่ง มีสามัญลักษณะของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นสภาวะรู้อารมณ์อย่างเดียว เช่น การนึกคิดถึงบ้านเรือน ต้นไม้ ก็รู้เฉพาะบ้านเรือนอย่างเดียวแล้วดับไป จึงมารู้ต้นไม้ใหม่ เป็นต้น จิตนี้แม้จะเป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างตัวตน เพียงแต่แสดงความรู้สึกอยู่ภายในเท่านั้นก็จริง แต่มีอำนาจพิเศษ หรือเรียกว่า ความวิจิตร ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไป 6 อย่าง (พระครูสังวรสมาธิวัตร 2521 : 12-15) คือ ! ! ! 3. สั่งสมกรรมและกิเลส หมายความว่า กรรมหรือการกระทำอันเกิดขึ้นด้วยเจตนาและกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เมื่อทำแล้วสั่งสมไว้ที่จิตนี้เองหาได้สั่งสมไว้ที่อื่นไม่เรียกว่า ขันธสันดาน
4. รักษาไว้ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสสั่งสมไว้ หมายความว่า จิตนี้ย่อมรักษาผลของการกระทำและผลของกิเลส ซึ่งได้สั่งสมอำนาจไว้มิได้สูญหายไปไหน เกิดขึ้นกับจิตที่เป็นวิบาก เพื่อรับผลของกรรมนั้น ๆ เมื่อมีโอกาส
=============================
วิบากกรรมที่ส่งผลภายหลังการได้มาเกิดเป็นมนุษย์ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279 ==============================
คนเป็นเจ้ามือหวยทำไมรวยจัง ทำอาชีพนี้บาปไหม http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11171
ตอบ การเลี้ยงชีพชอบ คือ ประกอบอาชีพที่สุจริต โดยการเว้นจากกายทุจริต ๓ ( คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ) และเว้นจากวจีทุจริต ๔ (คือ เว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ)
คนที่มีฐานะ มีทรัพย์สินเงินทอง มีความร่ำรวย ก็เพราะผลของทาน ที่เขาได้เคยกระทำไว้ เพราะอานิสงส์ของทานนั้น ทำให้เป็นที่มาของทรัพย์สมบัติทั้งหลาย เป็นที่ตั้งของโภคทรัพย์ทั้งปวง เป็นต้น
ส่วนคนที่ติดคุกตาราง ก็เพราะเคยสร้างเหตุไม่ดีไว้ เช่นการกักขังสัตว์ หรือกักขังผู้อื่นให้เสียอิสรภาพ เป็นต้น
ผลของกรรมที่กระทำไม่ว่าจะทำดีหรือชั่ว จะต้องอาศัยระยะเวลาให้ผล เปรียบเช่น การปลูกต้นมะม่วง ยังต้องอาศัยระยะเวลาหลายปีกว่าจะเก็บเกี่ยวผลมะม่วงมาทานได้
และเหตุกับผลจะต้องตรงกันด้วย สร้างเหตุดีย่อมได้รับผลดี สร้างเหตุชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
----------------------------------------
วิบากกรรม เมื่อจะส่งผลในทันที หรือส่งผลในชาติต่อไป ก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย
จากคุณ |
:
เฉลิมศักดิ์1
|
เขียนเมื่อ |
:
28 พ.ค. 55 06:36:34
|
|
|
|
 |