กระทู้มีไว้ถาม เจ้าของกระทู้จะถามอะไร
พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ 9
สุตตันต. เล่ม ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ข้อ ๑
[๑] เอวมฺเม สุต ฯ เอก สมย ภควา อนฺตรา จ ราชคห
อนฺตรา จ นาฬนฺท อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ มหตา ภิกฺขุสเฆน
สทฺธึ ปฺจมตฺเตหิ ภิกฺขุสเตหิ ฯ สุปฺปิโยปิ โข ปริพฺพาชโก อนฺตรา
จ ราชคห อนฺตรา จ นาฬนฺท อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ สทฺธึ
อนฺเตวาสินา พฺรหฺมทตฺเตน มาณเวน ฯ ตตฺร สุท สุปฺปิโย
ปริพฺพาชโก อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส อวณฺณ ภาสติ ธมฺมสฺส
อวณฺณ ภาสติ สฆสฺส อวณฺณ ภาสติ ฯ สุปฺปิยสฺส ปน
ปริพฺพาชกสฺส อนฺเตวาสี พฺรหฺมทตฺโต มาณโว อเนกปริยาเยน
พุทฺธสฺส วณฺณ ภาสติ ธมฺมสฺส วณฺณ ภาสติ สฆสฺส วณฺณ
ภาสติ ฯ อิติห เต อุโภ อาจริยนฺเตวาสี อฺมฺสฺส อุชุวิปจฺจนิกวาทา ๑-
ภควนฺต ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต อนุพนฺธา ๒- โหนฺติ ภิกฺขุสฆฺจ ฯ
อถโข ภควา อมฺพลฏฺิกาย ราชาคารเก เอกรตฺติวาส อุปคฺฉิ
เชิงอรรถ๑ สี. อุชุวิปจฺจนีกวาทา ฯ ๒ อนุพทฺธาติปิ ปาโ ฯ
สทฺธึ ภิกฺขุสเฆน ฯ สุปฺปิโยปิ โข ปริพฺพาชโก อมฺพลฏฺิกาย
ราชาคารเก เอกรตฺติวาส อุปคฺฉิ ๑- สทฺธึ อนฺเตวาสินา พฺรหฺมทตฺเตน
มาณเวน ฯ ตตฺรปิ สุท สุปฺปิโย ปริพฺพาชโก อเนกปริยาเยน
พุทฺธสฺส อวณฺณ ภาสติ ธมฺมสฺส อวณฺณ ภาสติ สฆสฺส อวณฺณ
ภาสติ ฯ สุปฺปิยสฺส ปน ปริพฺพาชกสฺส อนฺเตวาสี พฺรหฺมทตฺโต
มาณโว อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส วณฺณ ภาสติ ธมฺมสฺส วณฺณ
ภาสติ สฆสฺส วณฺณ ภาสติ ฯ อิติห เต อุโภ อาจริยนฺเตวาสี
อฺมฺสฺส อุชุวิปจฺจนิกวาทา ภควนฺต ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต อนุพนฺธา
โหนฺติ ภิกฺขุสฆฺจ ฯ อถโข สมฺพหุลาน ภิกฺขูน รตฺติยา ปจฺจูสสมย
ปจฺจุฏฺิตาน มณฺฑลมาเฬ สนฺนิสินฺนาน สนฺนิปติตาน อย สขิยธมฺโม ๒-
อุทปาทิ อจฺฉริย อาวุโส อพฺภูต ๓- อาวุโส ยาวฺจิท เตน
ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน สตฺตาน นานาธิมุตฺติกตา
สุปฏิวิทิตา ๔- อย หิ สุปฺปิโย ปริพฺพาชโก อเนกปริยาเยน
พุทฺธสฺส อวณฺณ ภาสติ ธมฺมสฺส อวณฺณ ภาสติ สฆสฺส อวณฺณ
ภาสติ สุปฺปิยสฺส ปน ปริพฺพาชกสฺส อนฺเตวาสี พฺรหฺมทตฺโต
มาณโว อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส วณฺณ ภาสติ ธมฺมสฺส วณฺณ
ภาสติ สฆสฺส วณฺณ ภาสติ อิติห อิเม อุโภ ๕- อาจริยนฺเตวาสี
อฺมฺสฺส อุชุวิปจฺจนิกวาทา ภควนฺต ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต
เชิงอรรถ๑ อุปคจฺฉีติปิ ปาโ ฯ ๒ สขิยาธมฺโมติปิ ปาโ ฯ ๓ ยุ. อพฺภุต ฯ
๔ สุปฺปฏิวิทิตาติปิ ปาโ ฯ ๕ อิติห เต อิเม อุโภติปิ ปาโ ฯ
อนุพนฺธา โหนฺติ ภิกฺขุสฆฺจาติ ฯ อถโข ภควา เตส ภิกฺขูน อิม
สขิยธมฺม วิทิตฺวา เยน มณฺฑลมาโฬ เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา
ปฺตฺเต อาสเน นิสีทิ ฯ นิสชฺช โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ
กาย นุตฺถ ภิกฺขเว เอตรหิ กถาย สนฺนิสินฺนา สนฺนิปติตา กา
จ ปน โว อนฺตรา กถา วิปฺปกตาติ ฯ เอว วุตฺเต เต ภิกฺขู
ภควนฺต เอตทโวจุ อิธ ภนฺเต อมฺหาก รตฺติยา ปจฺจูสสมย
ปจฺจุฏฺิตาน มณฺฑลมาเฬ สนฺนิสินฺนาน สนฺนิปติตาน อย สขิยธมฺโม
อุทปาทิ อจฺฉริย อาวุโส อพฺภูต อาวุโส ยาวฺจิท เตน
ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน สตฺตาน
นานาธิมุตฺติกตา สุปฏิวิทิตา อย หิ สุปฺปิโย ปริพฺพาชโก อเนกปริยาเยน
พุทฺธสฺส อวณฺณ ภาสติ ธมฺมสฺส อวณฺณ ภาสติ
สฆสฺส อวณฺณ ภาสติ สุปฺปิยสฺส ปน ปริพฺพาชกสฺส อนฺเตวาสี
พฺรหฺมทตฺโต มาณโว อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส วณฺณ ภาสติ
ธมฺมสฺส วณฺณ ภาสติ สฆสฺส วณฺณ ภาสติ อิติห อิเม
อุโภ อาจริยนฺเตวาสี อฺมฺสฺส อุชุวิปจฺจนิกวาทา ภควนฺต
ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต อนุพนฺธา โหนฺติ ภิกฺขุสฆฺจาติ อย โข โน
ภนฺเต อนฺตรา กถา วิปฺปกตา อถ ภควา อนุปฺปตฺโตติ ฯ
มม วา ภิกฺขเว ปเร อวณฺณ ภาเสยฺยุ ธมฺมสฺส วา อวณฺณ
ภาเสยฺยุ สฆสฺส วา อวณฺณ ภาเสยฺยุ ตตฺร ตุเมฺหหิ น
อาฆาโต น อปจฺจโย น เจตโส อนภิรทฺธิ กรณียา ฯ มม วา
ภิกฺขเว ปเร อวณฺณ ภาเสยฺยุ ธมฺมสฺส วา อวณฺณ ภาเสยฺยุ
สฆสฺส วา อวณฺณ ภาเสยฺยุ ตตฺร เจ ตุเมฺห อสฺสถ กุปิตา
วา อนตฺตมนา วา ตุมฺหฺเวสฺส เตน อนฺตราโย ฯ มม วา ภิกฺขเว
ปเร อวณฺณ ภาเสยฺยุ ธมฺมสฺส วา อวณฺณ ภาเสยฺยุ สฆสฺส วา
อวณฺณ ภาเสยฺยุ ตตฺร เจ ตุเมฺห อสฺสถ กุปิตา วา อนตฺตมนา
วา อปินุ ตุเมฺห ปเรส สุภาสิต วา ทุพฺภาสิต วา อาชาเนยฺยาถาติ ฯ
โนเหต ภนฺเต ฯ มม วา ภิกฺขเว ปเร อวณฺณ ภาเสยฺยุ
ธมฺมสฺส วา อวณฺณ ภาเสยฺยุ สฆสฺส วา อวณฺณ ภาเสยฺยุ
ตตฺร ตุเมฺหหิ อภูต อภูตโต นิพฺเพเตพฺพ อิติเปต อภูต
อิติเปต อตจฺฉ นตฺถิเปต อเมฺหสุ น จ ปเนต อเมฺหสุ สวิชฺชตีติ ฯ
มม วา ภิกฺขเว ปเร วณฺณ ภาเสยฺยุ ธมฺมสฺส วา วณฺณ
ภาเสยฺยุ สฆสฺส วา วณฺณ ภาเสยฺยุ ตตฺร ตุเมฺหหิ น อานนฺโท น
โสมนสฺส น เจตโส อุพฺพิลาวิตตฺต กรณีย ฯ มม วา ภิกฺขเว ปเร
วณฺณ ภาเสยฺยุ ธมฺมสฺส วา วณฺณ ภาเสยฺยุ สฆสฺส วา วณฺณ
ภาเสยฺยุ ตตฺร เจ ตุเมฺห ภิกฺขเว อสฺสถ อานนฺทิโน สุมนา
อุพฺพิลาวิตตฺตา ตุมฺหฺเวสฺส เตน อนฺตราโย ฯ มม วา ภิกฺขเว
ปเร วณฺณ ภาเสยฺยุ ธมฺมสฺส วา วณฺณ ภาเสยฺยุ สฆสฺส วา
วณฺณ ภาเสยฺยุ ตตฺร ตุเมฺหหิ ภูต ภูตโต ปฏิชานิตพฺพ อิติเปต
ภูต อิติเปต ตจฺฉ อตฺถิเปต อเมฺหสุ สวิชฺชติ จ ปเนต อเมฺหสูติ ฯ
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จดำเนินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางไกลระหว่างกรุง ราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา พร้อมด้วยพรหมทัตตมาณพผู้อันเตวาสิก. ได้ยินว่าในระหว่างทางนั้น.
สุปปิยปริพาชก กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วน พรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนั้น มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรง ฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จ เข้าไปประทับแรมราตรีหนึ่ง ณ พระตำหนักหลวง ในพระราชอุทยาน อัมพลัฏฐิกาพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ แม้สุปปิยปริพาชก ก็ได้เข้าพักแรมราตรีหนึ่ง ใกล้พระตำหนักหลวงในพระราชอุทยาน อัมพลัฏฐิกา กับพรหมทัตตมาณพผู้อันเตวาสิก ได้ยินว่าแม้ ณ ที่นั้น สุปปิยปริพาชก ก็กล่าว
ติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตมาณพ อันเตวาสิก ของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองคนนั้น มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรงฉะนี้ (เดินตาม พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ) ๑- ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง นั่ง ประชุมกันอยู่ ณ ศาลานั่งเล่น เกิดสนทนากันว่า ท่านทั้งหลาย เท่าที่พระผู้มีพระภาคผู้รู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบความที่หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่างๆ กันได้
เป็นอย่างดีนี้ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริงสุปปิยปริพาชกผู้นี้ กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตนาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิก ทั้งสองนี้ มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรงฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไป ข้างหลังๆ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำสนทนาของภิกษุเหล่านั้นแล้วเสด็จไปยัง ศาลานั่งเล่น ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนาอะไรกัน และเรื่องอะไรที่พวกเธอพูดค้างไว้ เมื่อตรัสอย่างนี้ แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ณ ที่นี้ เมื่อพวกข้า พระพุทธเจ้าลุกขึ้น ณ เวลาใกล้รุ่ง นั่งประชุมกันอยู่ที่ศาลานั่งเล่น เกิดสนทนากันขึ้นว่า ท่าน ทั้งหลาย เท่าที่พระผู้มีพระภาคผู้รู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบ
ความที่หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่างๆ กันได้เป็นอย่างดีนี้ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริง สุปปิยปริพาชกนี้ กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วน พรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนี้ มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรง ฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ พระพุทธเจ้าข้า เรื่องนี้แลที่พวกข้าพระพุทธเจ้า พูดค้างไว้ พอดีพระองค์เสด็จมาถึง.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม
ติพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาต ไม่ควรโทมนัสน้อยใจ ไม่ควรแค้นใจในคนเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคืองเชิงอรรถ๑. คำในวงเล็บนี้บาลีเดิมน่าจะเป็นคำติดปาก หรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง หรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เขาพูดถูก หรือคำที่เขาพูดผิดได้ ละหรือ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้ทีเดียว พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่า นั่นไม่จริง แม้เพราะเหตุนี้ นั่นไม่แท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้นั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย และคำนั้น จะหาไม่ได้ในเราทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ ไม่ควรดีใจ ไม่ควรกระเหิมใจในคำชมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายจักเบิกบานใจ จักดีใจ จักกระเหิมใจในคำชมนั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นเป็นแน่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือ ชมพระสงฆ์ ในคำชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริง แม้เพราะเหตุนี้ นั่นแท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้คำนั้นก็มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาได้ใน เราทั้งหลาย.